มาตรการรองรับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบจากวิกฤตอุทกภัย

อังคาร ๐๖ ธันวาคม ๒๐๑๑ ๑๗:๒๓
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง เปิดเผยว่าสืบเนื่องจากวิกฤตอุทกภัยในปี 2554 ได้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจไทยด้าน ภาคการผลิต ซึ่งประกอบด้วย ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม บริการและการท่องเที่ยว สำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง (สศค.) ได้ประเมินมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นอยู่ที่ 127,162 - 254,324 ล้านบาท และส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงาน ซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รายงานวิกฤตอุทกภัยทำให้อัตราการว่างงาน ในไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.8 - 2.3 หรืออยู่ที่ประมาณ 730,000 - 920,000 คน และส่งผลให้ประชาชนมีรายได้ลดลงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ โดยคาดว่าอาจมีประชาชนบางส่วนที่หันไปพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบเพิ่มมากขึ้น

สศค.ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และได้เตรียมการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องตามแผนแม่บทการเงินระดับฐานรากที่มีเป้าหมายสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจโดยผ่านกระบวนการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรการเงินภาคประชาชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และพัฒนาบทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อเติมเต็มช่องว่างในระบบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนและลดการพึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบ ทั้งนี้ สศค. ได้มีมาตรการรองรับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยได้ร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 5 แห่ง เปิดจุดบริการสำหรับรับปรึกษาปัญหาหนี้นอกระบบของประชาชนและพิจารณาให้สินเชื่อแก่ประชาชนในทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมในการปล่อยสินเชื่อให้ลูกหนี้นอกระบบในพื้นที่โดยตรงได้ทันที ตามหลักเกณฑ์ และกลไกของแต่ละสถาบันการเงินที่มีเครื่องมือสำหรับการปล่อยสินเชื่ออยู่ในระบบปัจจุบัน ซึ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะมีรูปแบบและหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือที่หลากหลาย ซึ่งประชาชนที่มีความสนใจสามารถติดต่อขอสินเชื่อแต่ละแห่งผ่านสายด่วนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ดังนี้

- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02 280 0180 ต่อ 2352

- ธนาคารออมสิน โทร. 1115

- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 1302

- ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร. 1357

- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 02 645 9000

สำหรับมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ออกมาตรการที่สำคัญ เช่นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เดิมเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2554 - 2556 หากลูกค้าเสียชีวิตจากอุทกภัยให้จำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ ธนาคารออมสิน พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย หรือพักชำระหนี้เงินต้นไม่เกิน 6 เดือน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยให้ผ่อนปรนการชำระหนี้ ทั้งส่วนเงินต้นและกำไรเป็นระยะเวลา 3 เดือน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยให้วงเงินกู้เพื่อปรับปรุง ซ่อมแซม ฟื้นฟูกิจการ และ/หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียน รายละไม่เกิน 1,000,000 บาท ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและเปิดโอกาสให้กู้เพิ่มเติม เป็นต้น นอกจากนี้ สถาบันการเงินของรัฐ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้มีโครงการให้สินเชื่อ ที่อยู่อาศัยกรุงไทยสู้อุทกภัย โดยปลอดชำระเงินต้นไม่เกิน 6 เดือน สำหรับผู้ได้รับความเสียหาย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา