ไฟเขียวฟื้นฟูการลงทุนหลังน้ำท่วมอีก 27 โครงการ พร้อมอนุมัติส่งเสริมโครงการใหม่อีก 8 โครงการใหม่ในนิคมฯ ที่เคยท่วม

พุธ ๓๑ ตุลาคม ๒๐๑๒ ๑๐:๑๔
คณะอนุกรรมการฯ ฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤติอุทกภัย อนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุน 27 โครงการ ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา และให้ส่งเสริมการลงทุนแก่โครงการใหม่และโครงการ ที่จะขยายการลงทุนอีก 8 โครงการ ในนิคมอุตสาหกรรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี รวมให้ส่งเสริมทั้งสิ้น 35 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท

ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูการลงทุน จากวิกฤตอุทกภัย ครั้งที่ 6 ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติการขอรับส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย ครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 35 โครงการ เงินลงทุนรวม 28,355.85 ล้านบาท แบ่งเป็นการอนุมัติภายใต้มาตรการเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย รวม 27 โครงการ เงินลงทุนรวม 23,298.75 ล้านบาท และการอนุมัติภายใต้มาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่หรือขยายการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี รวมจำนวน 8 โครงการ เงินลงทุนรวม 5,057.1 ล้านบาท

โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมภายใต้มาตรการเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย จำนวน 27 โครงการ เกือบทั้งหมด หรือ 23 โครงการ ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม มีเพียง 2 โครงการที่ย้ายที่ตั้งใหม่ และอีก 2 โครงการได้เพิ่มที่ตั้งใหม่และยังดำเนินกิจการในที่ตั้งเดิม ประกอบด้วย

1.บริษัท นิฮง เซกิ ไทย จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะกลึงแต่ง ที่มีความเที่ยงตรงสูง เช่น ชิ้นส่วนพรินท์เตอร์ ชิ้นส่วนกล้องดิจิตอล ชิ้นส่วนนาฬิกา และชิ้นส่วนเครื่องจักร เป็นต้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 592.7 ล้านบาท กำลังการผลิต 105,000,000 ชิ้นต่อปี โดยจะตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2.บริษัท เอ็ม เอ็ม ซี ทูลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิตอุปกรณ์สำหรับงานตัด กัด กลึง เซาะ ไส ทำเกลียว และการซ่อมแซม เงินลงทุนทั้งสิ้น 27.6 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 120,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

3.บริษัท เอ็ม เอ็ม ซี ทูลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิตอุปกรณ์จับยึดใบมีดสำหรับงานเครื่องจักรกล เงินลงทุนทั้งสิ้น 258.6 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 360,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

4.บริษัท เอ็ม เอ็ม ซี ทูลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิตCEMENTED CARBIDE INSERT หรือ อุปกรณ์การตัดสำหรับเครื่องจักร เงินลงทุนทั้งสิ้น 567 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 64,776,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

5.บริษัท เอ็ม เอ็ม ซี ทูลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิตอุปกรณ์การตัดสำหรับเครื่องจักร เงินลงทุนทั้งสิ้น 284.8 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 2,340,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

6.บริษัท เอ็ม เอ็ม ซี ทูลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิตเม็ดมีดกลึง (INSERTS) เงินลงทุนทั้งสิ้น 213.1 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 1,267,200 ชิ้น ตั้งกิจการ ในที่เดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

7.บริษัท เอ็ม เอ็ม ซี ทูลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิตอุปกรณ์สำหรับงานตัด กัด กลึง เซาะ ไส และทำเกลียว เงินลงทุนทั้งสิ้น 927.3 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 960,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่เดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

8.บริษัท ฮิตาชิ เมทัล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิต SENSOR และ MAGNETIC SHEET ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำหรับใช้ในกล้องดิจิตอล และหุ่นยนต์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 18.8 ล้านบาท กำลังการผลิตรวมปีละกว่า 4,700,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

9.บริษัท ฮิตาชิ เมทัล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิต VOICE COIL MOTOR และ ASSEMBLY MAGNET HOLDER ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขับเคลื่อนหัวอ่าน และหยุดหัวอ่านของฮาร์ด ดิสก์ ไดรฟ์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 396.7 ล้านบาท กำลังการผลิตรวมปีละประมาณ 130,000,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

10.บริษัท ฮิตาชิ เมทัล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิต REFLECTING POWER PROJECTOR ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตัดสัญญาณรบกวนในอุปกรณือิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เงินลงทุนทั้งสิ้น 36.8 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 36,000,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเพิ่มที่ตั้งที่ จังหวัด ร้อยเอ็ด

11.บริษัท เอ็มเอ็มไอ พรีซีชั่น ฟอร์มิ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิต ชิ้นส่วนฮาร์ด ดิสก์ ไดรฟ์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 421 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 150,000,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

12.บริษัท โตชิบา ไลท์ติ้ง คอมโพเน้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิต HALOGEN HEATER ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในเครื่องพิมพ์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 352.7 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 7,174,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี

13.บริษัท ไทย นิชชิน โมลด์ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 99.65 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 300 ตัน ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

14.บริษัท นางาโน่ พรีซีชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 39.5 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 97,200,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

15.บริษัท ไอดีพี โปรดักส์ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับยานยนต์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 380 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 1,500,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

16.บริษัท ซีแวกซ์ แอนด์ อาร์ค (เอเชีย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการผลิตอุปกรณ์จับยึด (JIG & FIXTURE) และการซ่อมแซมอุปกรณ์จับยึดที่ผลิตเอง สำหรับนำไปใช้จับยึดและตรวจเช็คโครงบุภายในหลังคารถยนต์ พื้นรถยนต์ โครงด้านในประตูรถยนต์ กันชนรถยนต์ เป็นต้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 206.4 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 100 ชุด โดยจะตั้งกิจการในที่ตั้งใหม่ คือ เขตอุตสาหกรรม นวนคร จังหวัดปทุมธานี

17.บริษัท โคโตบูกิ เท็คเร็กซ์ (ไทยแลนด์ ) จำกัด มูลค่าเงินลงทุน 2 ล้านบาท เพื่อผลิตถังความดันและโครงสร้างโลหะ กำลังการผลิตปีละประมาณ 200 ชุด ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรม สหรัตนนคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

18.บริษัท อยุธยากล๊าส อินดัสทรี จำกัด มูลค่าเงินลงทุน 334 ล้านบาท เพื่อผลิตขวดแก้ว กำลังการผลิตปีละประมาณ 259,200 ตัน ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

19.บริษัท สตาร์ ไมโครนิคส์ พรีซีชั่น ( ประเทศไทย ) จำกัด มูลค่าเงินลงทุน 710.5 ล้านบาท เพื่อผลิตชิ้นส่วนโลหะ กำลังการผลิตปีละประมาณ 196 ตัน การชุบเคลือบผิว 279 ตัน ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

20.บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล ( ประเทศไทย ) จำกัด มูลค่าเงินลงทุน 1,663.2 ล้านบาท เพื่อผลิตชิ้นส่วนโลหะปั๊มขึ้นรูปสำหรับยานพาหนะ กำลังการผลิตปีละประมาณ 4,000,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

21.บริษัท เอชเอ็มพี ( ประเทศไทย ) จำกัด มูลค่าเงินลงทุน 120.3 ล้านบาท เพื่อผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อ ปีละประมาณ 5,000,000 ชิ้น ผลิตภัณฑ์โลหะ ปีละประมาณ 800,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

22.บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล ( ประเทศไทย ) จำกัด ผลิตเพลาข้อเหวี่ยง เพลาลูกเบี้ยว ก้านสูบ มูลค่าเงินลงทุน 2,280.4 ล้านบาท กำลังการผลิตประเภทละ 300,000 ชุดต่อปี ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

23.บริษัท คราวน์ เบ็บแคน แอนด์ โคลสเซอร์ ( ประเทศไทย ) จำกัด ผลิตตัวกระป๋องชิ้น 2 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,257.8 ล้านบาท กำลังการผลิต ปีละประมาณ 600,000,000 ชิ้น ที่ตั้งเดิมคือ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี แต่ได้ย้ายสถานที่ตั้งใหม่เป็นนิคมอุตสาหกรรมหนองแค จังหวัดสระบุรี

24.บริษัท อินทิเกรเทด พรีซิชั่น เอ็นจิเนียริ่ง ( ประเทศไทย ) จำกัด ผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับ HARD DISK DRIVE เงินลงทุนทั้งสิ้น 36 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 131 ,550,180 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

25.บริษัท ฟูจิคูระอิเล็กทรอนิกส์ ( ประเทศไทย ) จำกัด ผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ มูลค่าเงินลงทุน 12,018.4 ล้านบาท ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเพิ่มที่ตั้งอีก 3 แห่งเพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี เขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดปราจีนบุรี

26.บริษัท คริสตัล ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิต ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูปเงินลงทุนทั้งสิ้น 16.5 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 6,800,000 ชิ้น ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (บ้านหว้า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

27.บริษัท ฮอน ชวน (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตขวดพลาสติกกึ่งสำเร็จรูป เงินลงทุนทั้งสิ้น 37 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 22,260 ตัน ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี

สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติภายใต้มาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่หรือขยายการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี รวมจำนวน 8 โครงการ ประกอบด้วย

1. บริษัท สยาม เอ็น เค เอส จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนในกิจการนำวัสดุที่ไม่ต้องการใช้แล้วมาแปรรูปเพื่อใช้ใหม่ หรือ รีไซเคิ่ลคอปเปอร์ออกไซด์ กำลังการผลิตปีละประมาณ 2,400 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 321.1 ล้านบาท ตั้งกิจการในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2.บริษัท อูซ่า สยาม สตีล อินดัสเตรียส์ จำกัด (มหาชน) ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตลวดเหล็ก ลวดเหล็กเคลือบสังกะสี ลวดเหล็กตีเกลียว และเชือกลวดเหล็กกล้า เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ เงินลงทุนทั้งสิ้น 663 ล้านบาท กำลังการผลิตรวมปีละประมาณ 38,000 ตัน ตั้งกิจการที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี

3.บริษัท ซินเซอิ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการเคลือบผิวชิ้นงานโลหะ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 45 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 243,000,000 ชิ้น ตั้งกิจการที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

4.บริษัท ซินเซอิ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการเคลือบผิวชิ้นงานโลหะ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 39.5 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 50,820,000 ชิ้น ตั้งกิจการที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

5.บริษัท อยุธยากล๊าส อินดัสทรี จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตขวดแก้ว สำหรับบรรจุเครื่องดื่ม และซอสปรุงรส เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,740 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 460,000,000 ขวด ตั้งกิจการ ที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

6.บริษัท อยุธยากล๊าส อินดัสทรี จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตขวดแก้ว สำหรับบรรจุเครื่องดื่มหลายประเภท เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,760 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 460,000,000 ขวด ตั้งกิจการ ที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

7.บริษัท ไอดีพี โปรดักส์ จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เงินลงทุนทั้งสิ้น 100 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 2,000,000 ชิ้น ตั้งกิจการที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

8.บริษัท ฮอน ชวน (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตขวดพลาสติกกึ่งสำเร็จรูปสำหรับเครื่องดื่มประเภทต่างๆ เงินลงทุนทั้งสิ้น 388.5 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 12,870 ตัน ตั้งกิจการที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี

สำหรับโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมภายใต้มาตรการฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤติอุทกภัยก่อนหน้านี้ มีจำนวน 80 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 38,012.1ล้านบาท ขณะที่โครงการที่ได้รับส่งเสริมภายใต้มาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่หรือโครงการขยายการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี ก่อนหน้านี้ มีจำนวน 12 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 11,247.7ล้านบาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๕ TRP คว้ารางวัลเกียรติยศ Siamrath Awards 2024 ตอกย้ำ ผู้นำศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะบนใบหน้าของประเทศไทย
๑๑:๔๖ ผถห.PIMO-ไพโม่ อนุมัติปันผลงวดครึ่งหลังปี 66 หุ้นละ 0.03 บาทต่อหุ้น
๑๑:๑๘ การประชุมเตรียมงาน10 รอบ นักษัตรพระราชสมภพ
๑๑:๐๓ ผู้บริหารบางจากฯ แบ่งปันประสบการณ์เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เชิญชวนช่วยกัน ลด ละ เริ่ม เพื่อโลกยั่งยืน ในงานสัมมนา Go Green 2024 : The Ambition of
๑๐:๑๔ 1 พ.ค. นี้ เตรียมพบกับฟิตเนสแห่งใหม่ ใจกลางศรีนครินทร์ กับบริการครบครัน ใกล้บ้านคุณ BB FITNESS@พาราไดซ์
๑๐:๑๐ HUAWEI Band 9 จับมือ 3 แพลตฟอร์ม Amado Shopping ช่องทางออนไลน์ Lazada และ Shopee ให้คุณเข้าถึงฟีเจอร์สมาร์ทวอทช์ด้วยราคาสมาร์ทแบนด์
๑๐:๔๙ ห้องอาหาร นิมมาน บาร์ แอนด์ กริล พร้อมเสิร์ฟความอร่อยแบบจัดเต็มกับ เทศกาลบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น สุดพิเศษ และ บุฟเฟ่ต์ Carvery Night
๑๐:๓๔ TSPCA จัดประชุมสามัญประจำปี 2567 เตรียมความพร้อมสู่สามทศวรรษสวัสดิภาพสัตว์เพื่อก่อเกิด สวัสดิภาพคน
๑๐:๓๒ พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
๑๐:๐๔ ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ มอบของบริจาค พร้อมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ