สพธอ. เผย มาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ NPMS ภายหลังประกาศใช้ มีหน่วยงานนำร่องเข้าร่วม 18 ราย เชื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน เป็นทางเลือกใหม่ของผู้ประกอบการและธนาคาร

จันทร์ ๒๙ กรกฎาคม ๒๐๑๓ ๑๔:๐๔
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เผยผลสืบเนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ว่าจ้างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ศึกษาและจัดทำมาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระดับผู้ประกอบการ (National Payment Message Standard: NPMS) โดยการทำงานอยู่ภายใต้คำแนะนำของคณะทำงานส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในระดับผู้ประกอบการ (ทอป.) เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (ISO 20022) และ พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมาตรฐานกลางข้อความฯ NPMS เป็นมาตรฐานในการกำหนดรูปแบบโครงสร้างข้อความ เพื่อใช้ส่งรายการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ใช้บริการ คือ ผู้ประกอบการภาคเอกชนหรือหน่วยงานภาครัฐ และผู้ให้บริการ คือ ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นรูปแบบข้อความหรือข้อมูลที่ให้ประโยชน์ในการเชื่อมโยงภาคธุรกิจกับสถาบันการเงิน โดยเฉพาะช่วยลดการลงทุนซ้ำซ้อนจากการเชื่อมโยงและรับส่งข้อมูลระหว่างธนาคาร หน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการให้ดำเนินการได้ง่าย ในลักษณะของการทำธุรกรรมในรูปแบบเดียวที่เหมือนกันหมด ซึ่งในเบื้องต้นมีธนาคารพาณิชย์ และผู้ประกอบการจำนวน 18 หน่วยงาน เข้าร่วมในโครงการนำร่อง มีการทดสอบส่งข้อความตามมาตรฐานกลางฯ NPMS ระหว่างหน่วยงาน ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

รายงานข่าวจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ซึ่งเป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า มาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระดับผู้ประกอบการ (National Payment Message Standard: NPMS) (มธอ. 0001-2555) เป็นมาตรฐานที่อยู่ในรูปแบบโครงสร้างข้อความกลางที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ส่งรายการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ใช้บริการ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ หรือหน่วยงานภาครัฐ และผู้ให้บริการ คือ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งข้อความที่ส่งผ่านระบบ ได้แก่ ข้อความที่ผู้ประกอบการ หรือหน่วยงานภาครัฐส่งให้ธนาคารพาณิชย์เมื่อต้องการชำระเงิน หลังจากนั้นธนาคารพาณิชย์จะส่งข้อความตอบกลับไปยังผู้ประกอบการ หรือหน่วยงานภาครัฐเพื่อแจ้งข้อมูลสถานะของรายการและยอดเงินในบัญชี ให้ผู้ใช้บริการรับทราบ

ทั้งนี้ การใช้งานรูปแบบข้อความที่มีมาตรฐานดังกล่าวนับว่าได้ผลดี เพราะช่วยลดการลงทุนซ้ำซ้อน โดยการเชื่อมโยงและรับส่งข้อมูลระหว่างธนาคาร หน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการให้ดำเนินการได้ง่าย เพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรมโดยใช้เพียงรูปแบบข้อมูลเดียวสำหรับธนาคารทุกแห่ง สามารถบริการชำระเงินได้ในหลายประเทศ โดยในปัจจุบันมีหน่วยงานนำร่อง 18 หน่วยงาน เข้าร่วมทดสอบและใช้งานมาตรฐานกลางข้อความฯ NPMS ประกอบด้วย 1. ธ.กรุงเทพ 2. ธ.กสิกรไทย 3. ธ.กรุงไทย 4. ธ.ทหารไทย 5. ธ.ยูโอบี 6. ธ.กรุงศรีอยุธยา 7. ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) 8. ธ.ดอยซ์แบกซ์ เอจี สาขากรุงเทพฯ 9. ธ.มิซูโฮ คอร์ปอเรต 10. กรมศุลกากร 11. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 12. เอสซีจี 13. ทรูมันนี่ 14. ยูไนเต็ด แดรี่ฟูดส์ 15. เอสเอพี ซิสเต็มส์ 16. คริสตอลซอฟท์ 17. เน็ตเบย์ และ 18. เทรดสยาม

สำหรับมาตรฐานกลางข้อความฯ NPMS ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ครอบคลุมบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด 6 ประเภท ประกอบด้วย 1. บริการโอนเงินระหว่างบัญชีภายในธนาคาร (Direct Credit) 2. บริการออกเช็คเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ (Cheque Outsourcing) 3. บริการโอนเงินรายย่อยครั้งละหลายรายการ (ITMX Bulk Payment) 4. บริการโอนเงินระหว่างบัญชีต่างธนาคารผ่านระบบบาทเนต (BAHTNet) 5. บริการโอนเงินระหว่างประเทศ (International Payment) และ 6. บริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ (Direct Debit) โดยมาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินฯ NPMS ดังกล่าว ถูกเสนอต่อคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพิจารณาและประกาศใช้เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มธอ.001-2555) เป็นที่เรียบร้อย และปัจจุบันอยู่ระหว่างประสานงานกับกรมศุลกากรให้นำมาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินฯ NPMS ไปใช้ในการดำเนินงาน National Single Window (NSW) ต่อไป

สื่อมวลชนสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

คุณปาริชาติ สุวรรณ์(ปุ้ม)ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์

บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร.0-2439-4600ต่อ8203

อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น