ม.แม่โจ้ จับมือ สกว. MOU ต่อ ระยะ 2 มุ่งเป้าช่วยเหลือเกษตรกรจริงจัง

อังคาร ๒๐ สิงหาคม ๒๐๑๓ ๑๔:๔๙
ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาลำไย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระยะที่ 2 ร่วมส่งเสริม ช่วยเหลือเกษตรต่อเนื่อง จริงจัง พร้อมเสวนา “อนาคตลำไยไทยใน ASEAN” ในวันที่ 28 สิงหาคม 2556 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “สืบเนื่องจากทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)โดยฝ่ายเกษตร ได้เห็นว่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินงานวิจัย ส่งเสริมด้านลำไยต่อเนื่องจริงจังเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคเหนือ จึงผลักดันให้เกิดการจัดตั้ง ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้-สกว. เพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยและบริการวิชาการเรื่องลำไย โดยได้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) เมื่อปี 2552 มีกรอบดำเนินงานเบื้องต้น 3 ปี (2553-2556) โดยดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ผ่านศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้ ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ เป็นผู้อำนวยการ และได้ดำเนินงานในระยะเวลา 3 ปีแรก สิ้นสุดแล้ว ซึ่งมีผลงานเด่นชัดทั้งด้านการวิจัย การบริการวิชาการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทางสกว.และมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วจึงได้เห็นชอบให้มีการบันทึกข้อตกลงระยะ 2 (2556-2558) เพื่อสานต่อการทำงานและมุ่งส่งเสริม สนับสนุนเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง”

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้ ให้สัมภาษณ์ว่า “จากการดำเนินงานระยะแรกที่ผ่านมา นอกจากงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว.โดยตรง 5 โครงการแล้ว ยังมีการประสานงานวิจัยของศูนย์เครือข่ายฯ ให้นักวิจัยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับลำไยไม่ต่ำกว่า 40 ราย ส่วนด้านการบริการวิชาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีการจัดสร้างและดูแลแปลงสาธิตในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ 15 แปลง มีกลุ่มเครือข่ายด้านการผลิต วิจัย และให้บริการวิชาการ ครอบคลุมทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ด้านการบริหารจัดการสื่อ สารสนเทศเพื่อให้บริการวิชาการ มีแปลงสาธิตการผลิตลำไย มีห้องนิทรรศการถาวรพร้อมให้บริการตลอดปี”

“การลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระยะที่ 2 (2556-2558) นี้ ยังคงวางแผนดำเนินงานตามโครงสร้างงานเดิม คือ กิจกรรม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวิจัย การพัฒนาเครือข่าย และการจัดการด้านสารสนเทศ โดยทุกด้านเน้นเป้าหมายเดียวกันคือเรื่องการบริหารจัดการสวน ภายใต้สภาพเสี่ยงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน เป็นการเตรียมพร้อมให้เกษตรกรในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่อาจมีผลกระทบต่อเกษตรกรทั้งด้านแรงงาน ผลผลิตและการตลาด” ผศ.ดร.ธีรนุช กล่าวเพิ่มเติม

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง MOU ระยะที่ 2 มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการกองทุนสนับสนุนการวิจัย เป็นผู้แทนของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้มีการจัดเสวนาทางวิชาการ “อนาคตลำไยไทยใน ASEAN’ โดยวิทยากรที่มากความสามารถจากหลายสำนัก ทั้งทางด้านสื่อ เศรษฐกิจ วิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และรวมกลเม็ดเคล็ดลับเทคนิคการผลิตลำไย

สำหรับท่านที่สนใจจะเข้าร่วมรับฟังการเสวนา ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้ 053-873390 / 053-499218

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา