เตือนภัยหนอนห่อใบข้าว

ศุกร์ ๑๓ กันยายน ๒๐๑๓ ๑๘:๒๑
สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม เตือนภัยการระบาดของหนอนห่อใบข้าว ที่เริ่มพบการระบาดแล้วในพื้นที่อำเภอแกดำ แต่การระบาดยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้

ว่าที่ ร.ต.จักรภัทร ผ่องโอภาส เกษตรจจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า จากข้อมูลการรายงานการระบาดของศัตรูพืชและการให้ความช่วยเหลือประจำสัปดาห์ พบว่าในพื้นที่อำเภอแกดำพบการระบาดของหนอนห่อใบข้าว แม้จะไม่รุนแรงและอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ แต่เพื่อความไม่ประมาทขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงข้าว เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดก่อนที่จะมีการระบาดรุนแรง โดยหนอนห่อใบข้าวเป็นผีเสื้อกลางคืน มีสีน้ำตาลเหลือง ขณะเกาะอยู่เห็นเป็นรูป สามเหลี่ยมด้านเท่า เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย มีปุยขนหนาสีดำบริเวณกึ่งกลางเส้นขอบปีก ทำการผสมพันธุ์ และวางไข่เวลากลางคืน วางไข่บริเวณเส้นกลางใบประมาณ 10-12 ฟอง เพศเมียวางไข่ได้ประมาณ 300 ฟอง หนอนจะอยู่เพียงตัวเดียวในใบที่ห่ออยู่และกัดแทะเนื้อเยื่อที่ผิวใบ หนอนตัวหนึ่งกัดกินใบข้าวได้ 3-4 ใบ หนอนมีสีเขียว แถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม แล้วหนอนจะเข้าดักแด้บริเวณใบและโคนต้นข้าว มักพบการระบาดมากในพื้นที่ที่ปลูกข้าว 2 ฤดู ทั้งฤดูนาปรัง และนาปี และมีการใช้ปุ๋ยเคมีมาก สามารถระบาดได้ทุกสภาพแวดล้อมแต่จะระบาดมากในช่วงฤดูฝน หนอนห่อใบข้าว จะกัดแทะเนื้อเยื่อผิวใบอยู่ในใบข้าวที่ห่ออยู่ ทำให้เห็นเป็นรอยสีขาวเป็นทางยาวบนใบข้าว ใบข้าวแต่ละใบอาจพบรอย กัดกินหลายรอย ต้นข้าวแต่ละต้นอาจพบใบห่อหลายใบ ใบที่ถูกทำลายรุนแรงจะแห้ง แปลงที่ถูกทำลายมาก ใบข้าวอาจ มีอาการแห้งไหม้คล้ายถูกแดเผา ผลผลิตอาจเสียหายหากใบธงถูกหนอนห่อใบทำลาย

เกษตรจังหวัดมหาสารคาม กล่าวต่อไปว่า การระบาดของหนอนห่อใบข้าวจะรุนแรงในแปลงที่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูง ๆ จึงควรแบ่งใส่ปุ๋ยหลายครั้ง และลดปริมาณลง หรือควรงดการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ๆ ในขณะที่เริ่มพบการระบาดของหนอนห่อใบข้าว นอกจากนี้เกษตรกรควรมีการกำจัดวัชพืชบริเวณรอบแปลง เพื่อป้องกันการขยายพันธุ์ของหนอนห่อใบข้าวในพืชอาศัย และที่สำคัญ หนอนห่อใบข้าวมีศัตรูธรรมชาติที่คอยควบคุมอยู่หลายชนิด หากพบหนอนห่อใบข้าวระบาดเพียงเล็กน้อย จึงไม่ควรใช้สารเคมีฉีดพ่น เพราะจะทำให้หนอนระบาดรุนแรงมากขึ้น ให้ใช้วิธีเกี่ยวใบข้าวที่ถูกหนอนทำลายไปเผาทำลาย แต่หากพบการระบาดรุนแรงการใช้สารเคมีชนิดเม็ดหว่านในนาข้าวไม่สามารถกำจัดหนอนห่อใบข้าวได้ ควรใช้สารเคมีฉีดพ่นจะได้ผลดีกว่า สารเคมีที่แนะนำ เช่น เบนซัลแทป (แบนคอล), ฟิโปรนิล (แอสเซนต์), คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์) โดยฉีดพ่นเมื่อพบว่าใบถูกทำลายมากกว่า 15%

เกษตรกรที่มีปัญหาด้านการเกษตร ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัด/สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน หรือขอคำปรึกษาและแก้ปัญหาการเกษตร โดยตรงกับเกษตรจังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์หมายเลข ๐๘๑-๗๙๐๕๒๕๖ และหมายเลข ๐๘๘-๕๔๙๗๙๔๔

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๕ TRP คว้ารางวัลเกียรติยศ Siamrath Awards 2024 ตอกย้ำ ผู้นำศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะบนใบหน้าของประเทศไทย
๑๑:๔๖ ผถห.PIMO-ไพโม่ อนุมัติปันผลงวดครึ่งหลังปี 66 หุ้นละ 0.03 บาทต่อหุ้น
๑๑:๑๘ การประชุมเตรียมงาน10 รอบ นักษัตรพระราชสมภพ
๑๑:๐๓ ผู้บริหารบางจากฯ แบ่งปันประสบการณ์เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เชิญชวนช่วยกัน ลด ละ เริ่ม เพื่อโลกยั่งยืน ในงานสัมมนา Go Green 2024 : The Ambition of
๑๐:๑๔ 1 พ.ค. นี้ เตรียมพบกับฟิตเนสแห่งใหม่ ใจกลางศรีนครินทร์ กับบริการครบครัน ใกล้บ้านคุณ BB FITNESS@พาราไดซ์
๑๐:๑๐ HUAWEI Band 9 จับมือ 3 แพลตฟอร์ม Amado Shopping ช่องทางออนไลน์ Lazada และ Shopee ให้คุณเข้าถึงฟีเจอร์สมาร์ทวอทช์ด้วยราคาสมาร์ทแบนด์
๑๐:๔๙ ห้องอาหาร นิมมาน บาร์ แอนด์ กริล พร้อมเสิร์ฟความอร่อยแบบจัดเต็มกับ เทศกาลบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น สุดพิเศษ และ บุฟเฟ่ต์ Carvery Night
๑๐:๓๔ TSPCA จัดประชุมสามัญประจำปี 2567 เตรียมความพร้อมสู่สามทศวรรษสวัสดิภาพสัตว์เพื่อก่อเกิด สวัสดิภาพคน
๑๐:๓๒ พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
๑๐:๐๔ ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ มอบของบริจาค พร้อมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ