การเลี้ยงดูเยาวชนของโลก (Global Children) คือความท้าทายระดับโลก ที่กำหนดอนาคตของภูมิภาคเอเชีย

พุธ ๐๒ เมษายน ๒๐๑๔ ๐๙:๕๒
นิเคอิ เอเชี่ยน รีวิว นิตยสารรายสัปดาห์ฉบับภาษาอังกฤษที่ถ่ายทอดทุกเรื่องราวจากทั่วทั้งเอเชียสู่สายตาคนทั้งโลก

เมื่อไม่นานมานี้ได้รายงานถึงแนวโน้มโลกที่นำความท้าทายมาสู่เอเชีย โดยเป็นบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมอเมริกันและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการเลี้ยงดูเยาวชนของโลก (Global Children) ซึ่งบทความแสดงให้เห็นว่าภูมิภาคเอเชียจำเป็นต้องตระหนักถึงปัญหานี้อย่างจริงจังเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงานโดย

นายเคอร์ติส เอส ชิน http://asia.nikkei.com/Viewpoints/Perspectives/Raising-global-children-is-naturally-a-global-challenge

แม้ว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเองนั้นประสบความสำเร็จและมีความหลากหลายในระดับสากล แต่ยังได้รับการขนานนามว่าเป็นประเทศที่มีทัศนคติที่คับแคบที่สุดในโลก เมื่อต้องเผชิญโลกภายนอกหรือเรียนรู้ภาษาที่สอง

ในวันที่สหรัฐอเมริกานั้นมีพร้อมทั้งสถานภาพและอำนาจระดับแนวหน้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระดับโลกเป็นอย่างมาก และยังนำมาซึ่งความท้าทายใหม่ๆ แก่ผู้กำหนดนโยบายทางการศึกษา ครูอาจารย์ และผู้ปกครองในสหรัฐอเมริกา โดยสามารถกล่าวได้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้น่าจะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียเช่นเดียวกัน

ในหนังสือเล่มใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยเนื้อหาอันเป็นประโยชน์และถ่ายทอดข้อมูลเชิงลึกที่มีชื่อว่า "Raising Global Children" หรือการเลี้ยงดูเยาวชนของโลก โดยนักเขียนนามว่า สตาซี่ เนวาดอมสกี้ เบอร์แดน ซึ่งเป็นอดีตผู้บริหารบริษัทเอกชน และสามี มาร์แชล เอส เบอร์แดน ได้เขียนอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าการเลี้ยงดูและเอาใจใส่ความสามารถในการเรียนรู้และเจริญเติบโตของเยาวชนในโลกที่เชื่อมต่อกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้เยาวชนสามารถแข่งขันและประสบความสำเร็จได้ สิ่งเหล่านี้ควรเริ่มต้นจากพ่อแม่ก่อน ถึงแม้ว่าครู อาจารย์และชุมชนจะมีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ก็ตาม

ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า “การบ่มเพาะและปลูกฝังทัศนคติที่เปิดกว้าง (global mindset) ให้แก่เยาวชนในปัจจุบันนั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จทางเศรษฐกิจในระยะยาวของสหรัฐอเมริกา อย่างที่เคยเกิดขึ้นเมื่อหลายปีมาแล้วในประเทศที่เล็กกว่า และประเทศเหล่านี้ก็ได้ตระหนักมานานแล้วด้วยว่าพวกเขาไม่สามารถดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตนเองได้” ซึ่งนี่คือเรื่องจริงของเยาวชนในภูมิภาคเอเชียและที่อื่นๆ ทั่วโลก”

พลเมืองรุ่นใหม่ ต้องก้าวไปข้างหน้า

สูตรความสำเร็จของสองสามีภรรยาตระกูลเบอร์แดนประกอบไปด้วยการศึกษาภาษาต่างประเทศให้ได้หลากหลายภาษามากขึ้น ซึ่งในหลายประเทศต่างนำสูตรความสำเร็จนี้ไปใช้พร้อมด้วยคุณสมบัติอื่นๆ ที่มาผสมผสานกันเพื่อความสำเร็จ แม้กระทั่งในหลายๆ ประเทศที่มีความเป็นสากลอย่างเช่นญี่ปุ่น กลับพบว่าเยาวชนในประเทศเลี่ยงที่จะแสวงหาความรู้ทางวิชาการในต่างประเทศเนื่องมาจากเรื่องของค่าใช้จ่ายและอุปสรรคทางด้านภาษา ส่วนในประเทศฮ่องกง พบว่าทักษะทางภาษาอังกฤษของเยาวชนตกต่ำลง เนื่องจากเยาวชนหันมาสนใจเรียนต่อด้านภาษาจีนกวางตุ้งและภาษาจีนกลางที่ใช้พูดในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่

การปลูกฝังทัศนคติที่เปิดกว้าง (global mindset) กลายเป็นเรื่องจำเป็นและจะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง กล่าวได้ว่านี่คือภารกิจสำคัญที่สมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ (กลุ่มประเทศอาเซียน) เผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ ซึ่งประเทศเหล่านี้จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้แก่ประชากรเพื่อรับการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจตามแผนที่วางไว้ใน พ.ศ.2558 ที่จะถึงนี้

ทว่า ทั้งคู่ยังได้อธิบายเพิ่มอีกว่าการบรรลุทัศนคติที่เปิดกว้าง (global mindset) นั้นให้อะไรที่มากกว่าแค่เรียนรู้ภาษาอื่นๆ หรือกระทั่งภาษาพื้นเมืองซึ่งไม่ใช่ภาษาแม่ที่ใช้มาแต่กำเนิด

ในหนังสือที่ทั้งคู่ได้เขียนไว้ ยังกล่าวอีกว่า “การประเมินผลงานวิจัยของเราจากคุณสมบัติทั้งหมดพบว่า ความอยากรู้อยากเห็นและการรู้จักถามในเรื่องที่สงสัย คือสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวนี้จำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาทัศนคติที่เปิดกว้าง (global mindset)” คำแนะนำในหนังสือสำหรับพ่อแม่เล่มนี้ควรสะท้อนไปถึงภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ ที่ยังมีหลักสูตรการเรียนการสอนแบบท่องจำ

ท้ายที่สุดแล้ว การเลี้ยงดูเยาวชนของโลก (Global Children) นั้นล้วนเป็นการสอนให้พวกเขารู้จักเคารพผู้อื่น

ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเป็นใครมาจากไหนก็ตาม อย่างที่ผู้เขียนทั้งคู่ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักต่อโลกที่ไม่จำกัดอาณาเขตแค่เพียงประเทศของตนเท่านั้น รวมไปถึงสอนให้ลดความหวาดกลัวต่อสิ่งที่ไม่รู้จัก และส่งเสริมให้คิดอย่างมีวิจารณญาณต่อกระแสโลก นี่เป็นการให้ความรู้และอบรมเยาวชนในเรื่องความหลากหลายของผู้คนรวมทั้งความคิด ซึ่งล้วนเป็นจุดแข็งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้องกลัว

การเลี้ยงดูเยาวชนของโลก (Global Children) ไม่ใช่ภาระหน้าที่ของประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงฝ่ายเดียว แต่คือความท้าทายสำหรับภูมิภาคเอเชียรวมทั้งภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตามทัศนคติที่เปิดกว้าง (global mindset) ในเยาวชนนั้นก้าวไกลไปมาก ประเทศไทยพร้อมแล้วหรือยังสำหรับการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นนี้

เรียบเรียงบทความโดย นายเคอร์ติส เอส ชิน อดีตเอกอัครราชทูตแห่งสหรัฐอเมริกาประจำธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (พ.ศ.2550-2553) ในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และบารัค โอบามา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทที่ปรึกษา ริเวอร์พีค กรุ๊ป

สื่อมวลชนสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด

วรวรรณ ครุฑวณิชนนท์ | กรรณิกา บุตรพรม

ที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์

โทร. (66) 2260 5820 ต่อ 125 | 114 แฟกซ์ (66) 2260 5847-8

อีเมล์ [email protected], [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๕ TRP คว้ารางวัลเกียรติยศ Siamrath Awards 2024 ตอกย้ำ ผู้นำศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะบนใบหน้าของประเทศไทย
๑๑:๔๖ ผถห.PIMO-ไพโม่ อนุมัติปันผลงวดครึ่งหลังปี 66 หุ้นละ 0.03 บาทต่อหุ้น
๑๑:๑๘ การประชุมเตรียมงาน10 รอบ นักษัตรพระราชสมภพ
๑๑:๐๓ ผู้บริหารบางจากฯ แบ่งปันประสบการณ์เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เชิญชวนช่วยกัน ลด ละ เริ่ม เพื่อโลกยั่งยืน ในงานสัมมนา Go Green 2024 : The Ambition of
๑๐:๑๔ 1 พ.ค. นี้ เตรียมพบกับฟิตเนสแห่งใหม่ ใจกลางศรีนครินทร์ กับบริการครบครัน ใกล้บ้านคุณ BB FITNESS@พาราไดซ์
๑๐:๑๐ HUAWEI Band 9 จับมือ 3 แพลตฟอร์ม Amado Shopping ช่องทางออนไลน์ Lazada และ Shopee ให้คุณเข้าถึงฟีเจอร์สมาร์ทวอทช์ด้วยราคาสมาร์ทแบนด์
๑๐:๔๙ ห้องอาหาร นิมมาน บาร์ แอนด์ กริล พร้อมเสิร์ฟความอร่อยแบบจัดเต็มกับ เทศกาลบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น สุดพิเศษ และ บุฟเฟ่ต์ Carvery Night
๑๐:๓๔ TSPCA จัดประชุมสามัญประจำปี 2567 เตรียมความพร้อมสู่สามทศวรรษสวัสดิภาพสัตว์เพื่อก่อเกิด สวัสดิภาพคน
๑๐:๓๒ พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
๑๐:๐๔ ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ มอบของบริจาค พร้อมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ