แจงชาวนาสุพรรณงดปลูกนาปรัง)

จันทร์ ๐๖ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๑:๒๒
รัฐมนตรีเกษตรฯลงพื้นที่แจงชาวนาสุพรรณฯงดปลูกนาปรัง เหตุน้ำแล้งหนักสุดในรอบ 15 ปี พร้อมรับข้อเรียกร้องจัดสรรน้ำให้พื้นที่ที่ปลูกข้าวก่อน 1 ตุลาคม ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด พร้อมยืนยันเงินช่วยเหลือข้าวนาปี 1 พันบาท/ไร่ ถึงมือเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไม่ใช่เจ้าของที่ดิน

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการลงพื้นที่พบปะเกษตรกร เพื่อชี้แจงสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูแล้ง 2557 พร้อมด้วยนายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และนายชาญพิทยา ฉิมพาลี อธิบดีกรมการข้าว ณ วัดบ้านกร่าง ต.บ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ ต้องชี้แจงข้อเท็จจริงถึงปริมาณน้ำที่มีอยู่จริงให้เกษตรกรได้รับทราบ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการลงทุนการเพาะปลูกของเกษตรกรในช่วงฤดูแล้งนี้ เนื่องจากปริมาณน้ำใช้การได้ใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ มีเพียง 6,500 ล้าน ลบ.ม.จากเกณฑ์ปกติปริมาณน้ำใช้การจะต้องมีอยู่ 11,000 ล้าน ลบ.ม ซึ่งป็นสถานการณ์ที่รุนแรงสุดในรอบ 15 ปี เพราะที่ผ่านมามีการปล่อยน้ำต้นทุนเพื่อให้เกษตรกรปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งเกินแผนมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากเกษตรกรทั้งลุ่มเจ้าพระยาและลุ่มแม่กลองจำนวน 27 จังหวัดให้ความร่วมมือกับภาครัฐงดการปลูกข้าวนาปรัง ก็จะเป็นการปรับสมดุลน้ำที่จะเก็บกักในเขื่อนให้เพียงพอต่อการผลิตข้าวนาปีในฤดูกาลผลิตหน้า คือ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2558

"กระทรวงเกษตรฯ พร้อมรับฟังข้อเสนอและความเดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่าในบางพื้นที่เกษตรกรเพิ่งจะลงปลูกข้าวนาปี ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1.7 แสนไร่ จึงได้มอบหมายให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอในพื้นที่ดังกล่าว จนกว่าจะเก็บเกี่ยวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวของเกษตรกร รวมถึงชนิดพืชฤดูแล้งที่เกษตรกรต้องการ" นายปีติพงศ์ กล่าว

สำหรับแผนการช่วยเหลือเพื่อเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่สามารถทำนาปรัง ได้นั้น นอกจาก กระทรวงเกษตรจะจัดทำแผนการส่งเสริมการปลูกพืชในฤดูแล้งให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่แล้ว กรมชลประทานยังมีแผนในการซ่อมแซมคูคลอง และระบบส่งน้ำของกรมชลประทานที่มีการใช้งานติดต่อมาเป็นระยะเวลานาน โดยการจ้างงานเกษตรกรที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้เลย รวมถึงแผนการส่งเสริมอาชีพที่แต่ละกระทรวงจะนำเสนอร่วมกัน ทั้งนี้ คาดว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องแผนงาน มาตรการ และงบประมาณเพื่อเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์

ด้านนายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ชี้แจงประเด็นการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ ว่า การจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวทางรัฐจะจ่ายให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 31 ตุลาคม 2557 ซึ่งจะมีกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติก่อนออกใบรับรองเพื่อรับเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ดังนั้น เงินช่วยเหลือดังกล่าวจะถึงมือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่เกษตรกรเช่าทำนาแต่อย่างใด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๒๖ เม.ย. เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา