ตามติด 1ต. 1ล. ภาคเหนือ สศท.1 ชู โครงการใช้ประโยชน์ได้จริง สนองความต้องการชุมชน

พฤหัส ๒๗ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๔:๓๒
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 ลงพื้นที่ติดตามผลโครงการ 1 ตำบล 1 ล้านบาท ในพื้นที่รับผิดชอบ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ระบุ โครงการของชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ทันทีหลังโครงการแล้วเสร็จ และชุมชนมีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี เนื่องจากเป็นความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

นายอนุสรณ์ พรชัย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ (สศท.1) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง หรือ 1 ตำบล 1 ล้าน เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชนเกษตรในช่วงฤดูแล้ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของชุมชน ซึ่งสนับสนุนให้ชุมชนเป็นผู้เสนอกิจกรรมการเกษตรที่สอดคล้องกับความต้องการและเป็นผู้บริหารจัดการโครงการ และให้ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) ทำหน้าที่เป็นองค์กรตัวแทนขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม ภายใต้กรอบระยะเวลาดำเนินการในช่วงเดือนกุมภาพันธ์- มิถุนายน 2558

ในการนี้ สศท.1 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ได้ดำเนินการประเมินผลโครงการฯ ระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม - 18 สิงหาคม 2558 พบว่า โครงการของชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ทันทีหลังโครงการแล้วเสร็จ เช่น โครงการขุดลอกและดาดลำเหมืองคอนกรีต น้ำจะไหลเข้าสู่แปลงนาในปริมาณมากและรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม และสามารถป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านกรณีลำเหมืองผ่านบ้านเรือนเกษตรกร

สำหรับโครงการสร้างฝายชะลอน้ำ ฝายจะกักเก็บน้ำได้ปริมาณมากขึ้นและสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ผืนป่าต้นน้ำ การขุดลอกฝายต้นน้ำและการสร้างกล่องหิน เกิดช่องทางการผันน้ำเข้าสู่ไร่นาของเกษตรกรได้มากขึ้น ทำให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการทำนาปีได้ นอกจากนี้ โครงการลักษณะอื่นๆ เช่น การผลิตทางการเกษตรและการแปรรูปฯ ได้เกิดรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้แหล่งใหม่ของชุมชน เช่น โครงการศูนย์ผลิตพันธุ์ผักพื้นบ้านและสมุนไพร เป็นต้น รวมทั้งโครงการจัดการศัตรูพืชชุมชน เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการลดการใช้สารเคมีในการกำจัดโรคและศัตรูพืช เกิดการขยายผลในการปฏิบัติ สำหรับโครงการที่จะใช้ประโยชน์หลังจากโครงการเสร็จแล้วในอีก 6 เดือน ได้แก่ โครงการก่อสร้างลานตาก เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปี ซึ่งจะมีพื้นที่ตากข้าวเปลือกเพื่อลดความชื้น ทำให้เกษตรกรได้รับราคาที่สูงขึ้น ประกอบกับเป็นจุดรับซื้อข้าวของโรงสี ช่วยให้เกษตรกรลดค่าขนส่งในการขนข้าวไปขายจุดรับซื้อที่อยู่ห่างไกลบ้าน

ทั้งนี้ พบว่า ความพึงพอใจของเกษตรกรที่เป็นแรงงานรับจ้างในโครงการและครัวเรือนเกษตรที่อยู่ในพื้นที่โครงการ มีความพึงพอใจระดับมาก และมีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีเนื่องจากเป็นความต้องการของชุมชน ชาวบ้านได้ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบโครงการ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งบางโครงการชาวบ้านยินดีที่จะเพิ่มเงินในการดำเนินงาน ทำให้ได้ปริมาณงานมากกว่าที่กำหนดไว้ อีกทั้งเกิดความสามัคคีในชุมชน และการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนโครงการ ประการสำคัญ คือ การสร้างความยั่งยืนของโครงการ โดยมีแนวทางการบริหารจัดการใช้ประโยชน์ของโครงการและการบำรุงรักษาให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่องในระยะยาว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา