ปภ. ประสาน 21 จังหวัด ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมพร้อมรับมืออุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม ในช่วงวันที่ 5 – 7 กันยายน 2558

จันทร์ ๐๗ กันยายน ๒๐๑๕ ๑๓:๕๘
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประสาน 21 จังหวัดภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมพร้อมรับมืออุทกภัย น้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มจากฝนตกหนัก ในช่วงวันที่5 – 7 กันยายน 2558 โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัย จัดชุดเคลื่อนที่เร็วและเครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมเผชิญเหตุตลอด 24 ชั่วโมง กรณีสถานการณ์รุนแรงให้ดำเนินการตามขั้นตอนในแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เพื่อประสานการอพยพและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ในช่วงวันที่ 5 -7 กันยายน 2558 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัยและดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ จึงได้ประสาน 21 จังหวัด แยกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร นครพนมมุกดาหาร บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย และหนองคาย ภาคเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา น่าน และแพร่ รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 7 สกลนคร เขต 9 พิษณุโลก เขต 10 ลำปาง เขต 14 อุดรธานี เขต 15 เชียงราย และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมืออุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม โดยจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง และจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย พร้อมตรวจสอบท่อ ทางระบายน้ำในเขตเมืองมิให้มีสิ่งของกีดขวางทางน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ รวมถึงตรวจสอบเขื่อน ฝาย อ่าง และคันกั้นน้ำ สถานที่ท่องเที่ยวให้มีสภาพมั่นคงแข็งแรง อีกทั้งตรวจสอบสิ่งก่อสร้างและป้ายโฆษณาให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง ตัดแต่งกิ่งไม้บริเวณริมถนนและพื้นที่ชุมชนเพื่อป้องกันการล้มทับ ก่อให้เกิดอันตรายได้ กรณีสถานการณ์รุนแรงได้เน้นย้ำให้ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เพื่อประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขาในพื้นที่ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา