เดินหน้าขับเคลื่อน Carbon - Water Footprint ส่งผลลดก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 2 หมื่นตัน

เสาร์ ๒๔ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๒๘
สศอ.เร่งผลักดันพันธกิจอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม เริ่มจากCarbon Footprint ล่าสุดเปิดโอกาสให้โรงงานเข้าร่วม 31 ลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 23,400 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วน Water Footprint มีผู้เข้าร่วมโครงการในปีนี้เพิ่มอีก 25 โรงงาน สามารถลดการใช้น้ำได้ 318,981.43 ลูกบาศก์เมตร

นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ) เปิดเผยว่า ในจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปซึ่งมีกว่า 8,000 โรง เป็นโรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่ผ่านการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวจากกระทรวงอุตสาหกรรมมากกว่า2,000 โรงงาน แต่เป็นโรงงานที่สามารถผลิตเพื่อส่งออกเพียงประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงเห็นเป็นความจำเป็นที่จะต้องเร่งรีบดำเนินการยกระดับผู้ประกอบการในประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่เหลือที่มีความสนใจ โดยโครงการนี้จะให้คำปรึกษาแนะนำเชิงเทคนิค รวมถึงการยกระดับองค์ความรู้ของบุคลากรในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทย สามารถลดปริมาณของเสียจากการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนลดปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

โดยเฉพาะในด้านการลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเพิ่มผลิตภาพด้านการผลิต พัฒนาและยกระดับมาตรฐานการผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศ และลดข้อกีดกันทางการค้าแล้ว ยังจะทำให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยสามารถเตรียมพร้อม รับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เศรษฐกิจและข้อกีดกันทางการค้าจากตลาดโลก เพื่อแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของประเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม และลดภาวะโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม

สศอ. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมอาหารกับการประกอบการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงได้ผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายภายใต้กรอบแผนแม่บทอุตสาหกรรมอาหารให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอย่างครบวงจรไปพร้อมกับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการอาหาร โดยการสนับสนุนงบประมาณให้สถาบันอาหาร ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม เข้ามาเป็นที่ปรึกษาดำเนินการ

ผลจากการดำเนินโครงการ ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่เข้าร่วมโครงการในปี 2558 จำนวน 31 โรงงาน มีแนวทางลดต้นทุนการผลิต และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต ซึ่งหากได้ดำเนินการตามแนวทางที่แนะนำไว้ จะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 23,400ตันคาร์บอนไดออกไซด์ และตลอดระยะเวลา 3 ปี สำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ โดยนำข้อมูลการคำนวณค่า Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์ไปยื่นขึ้นทะเบียนเพื่อรับรอง Carbon Label กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 85 โรงงาน ซึ่งจะเป็นการเสริมภาพลักษณ์ให้กับอุตสาหกรรมอาหารของไทยได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ยังเป็นการยกระดับองค์ความรู้ในการประเมิน Carbon Footprint ให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรมอาหารกว่า 550 คน รวมทั้งมีการเผยแพร่ความรู้การประเมิน Carbon Footprint สำหรับอุตสาหกรรมอาหารไปสู่ผู้ประกอบการในวงกว้างผ่านคู่มือและผ่านทางเว็บไซต์ของโครงการที่http://www.nfi,or.th/carbonfootprint/

อีกหนึ่งภารกิจ ที่ สศอ. ผลักดันและส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารในด้านสิ่งแวดล้อม คือการยกระดับผู้ประกอบการตามแนวทางการประเมิน Water footprint ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้จัดการน้ำของผู้บริโภค หรือผู้ผลิต ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดย สศอ. ได้จัดทำโครงการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการส่งออก โดยการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงเทคนิคแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารที่เข้าร่วมโครงการในปี 2558 จำนวน 25 โรงงาน นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ความรู้เรื่องดังกล่าวสู่วงกว้างผ่านเอกสารเผยแพร่ความรู้และคู่มือ ซึ่งสามารถ Download ข้อมูลดังกล่าวได้ทางhttp://fic.nfi.or.th/waterfootprint/ รวมทั้งมีการจัดทำโปรแกรมประเมินค่า Water footprint ในรูปแบบ Web application ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่สนใจจะประเมินค่า Water footprint ด้วยตนเอง ซึ่งสามารถเข้าใช้งานได้ที่ http://gittthai.com/WFP ตลอดจนจัดทำค่าอ้างอิง Water footprint ในผลิตภัณฑ์ปลาแมคเคอเรลในซอสมะเขือเทศ สัปปะรดกระป๋องในน้ำเชื่อม และเบียร์ด้วย ซึ่งหากผู้ประกอบการดำเนินการตามการให้คำปรึกษาจะสามารถลดการใช้น้ำในภาพรวมได้318,981.43 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

ผู้อำนวยการ สศอ. กล่าวย้ำว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม มีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารในประเทศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรน้ำในการผลิต ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มผลิตภาพการผลิตให้กับผู้ประกอบการแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ ในการสนับสนุนให้กระบวนการ ด้าน Carbon footprint และ Water footprint ได้มีการนำไปใช้ในวงการอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างแท้จริง เพื่อรองรับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ที่อาจถูกกำหนดเป็นมาตรการบังคับในอนาคต ตลอดจนเป็นการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้สูงกว่าประเทศคู่แข่ง รวมถึงสร้างการยอมรับให้กับอาหารของไทย ซึ่งมีส่วนในการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็น Kitchen of the World ในช่วงต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง