ปูพรมพื้นที่บุณฑริก สศท.11 ศึกษาข้อมูล เนื้อที่-ต้นทุน-รายได้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว

อังคาร ๒๙ ธันวาคม ๒๐๑๕ ๐๙:๔๐
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 แจงผลศึกษาข้อมูลบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ระบุพื้นที่เหมาะสม-ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว เผยต้นทุนการผลิตและรายได้ของเกษตรกร แนะบริหารจัดการปรับปรุงบำรุงดิน และพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสู่การลดต้นทุน

นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 จังหวัดอุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการศึกษาข้อมูล "การศึกษาการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี" โดยวิเคราะห์ศักยภาพทางกายภาพและเศรษฐกิจ ความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกข้าว ปี 2558 เพื่อเป็นฐานข้อมูลแนวทางในการวางนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจการเกษตรในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน

ผลการศึกษา พบว่า อำเภอบุณฑริก มีเนื้อที่ความเหมาะสมของดินสำหรับปลูกข้าว รวมทั้งสิ้น 283,285 ไร่ โดยแยกเป็นดินสำหรับการปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมมาก (S1) จำนวน 1,588 ไร่ เหมาะสมปานกลาง (S2) จำนวน 30,209 ไร่ เหมาะสมน้อย (S3) จำนวน 195,716 ไร่ ไม่เหมาะสม (N) จำนวน 55,772 ไร่

เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่เหมาะสมมากและปานกลาง รวม 3,200 บาท/ไร่ จำแนกเป็นต้นทุนผันแปร 2,196 บาท/ไร่ ต้นทุนคงที่ 1,004 บาท/ไร่ ปริมาณผลผลิตที่เกษตรกรผลิตได้เฉลี่ย 332 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนราคาที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ย 12.2 บาท/กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมีรายได้หรือผลตอบแทนจากการผลิต 4,053 บาท/ไร่ ซึ่งเมื่อหักต้นทุนการผลิตแล้วจะได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 852 บาท/ไร่

สำหรับพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตข้าวนาปี รวม 2,631 บาท/ไร่ จำแนกเป็นต้นทุนผันแปร 1,627 บาท/ไร่ และเป็นต้นทุนคงที่ 1,004 บาท/ไร่ มีปริมาณผลผลิตที่เกษตรกรผลิตได้เฉลี่ย 289 กิโลกรัม/ไร่ ด้านราคาที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ย 11.78 บาท/กิโลกรัม เกษตรกรมีรายได้หรือผลตอบแทนจากการผลิต 3,409 บาท/ไร่ และเมื่อหักต้นทุนการผลิตแล้วได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 778 บาท/ไร่

ทั้งนี้ เขตอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูง ที่ดอน การบริหารจัดการน้ำยังมีประสิทธิภาพไม่ทั่วถึง และพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ส่งผลให้ทำนาได้ 1 ครั้ง/ปี ซึ่งแนวทางพัฒนา คือ บริหารจัดการปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มสารอินทรีย์วัตถุใส่ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดิน วิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุน โดยวางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับพื้นที่การปลูกพืช เช่น ยางพารา และมันสำปะหลัง อีกทั้งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยชีวภาพ เนื่องจากเป็นอินทรีย์วัตถุที่ช่วยปรับโครงสร้างดิน ตลอดจนจัดถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการผลิตที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ ลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ซึ่งท่านที่สนใจผลการศึกษาเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ สศท.11 โทร. 045 344 654 หรืออีเมล [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๘ Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง