กสอ. ชูโมเดลญี่ปุ่น “อุตสาหกรรมที่ 6” เร่งพัฒนาผู้ประกอบการภาคเกษตร

จันทร์ ๒๕ มกราคม ๒๐๑๖ ๑๒:๒๑
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เผยแนวทางการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรให้สามารถจำหน่ายได้ด้วยตนเอง ด้วยโมเดลสูตรผสม "อุตสาหกรรมที่ 6" ('sixth' industrialization) ซึ่งเป็นการนำผู้ประกอบการภาคการเกษตร ภาคการผลิตและแปรรูป และภาคการตลาดนำมารวมเป็นแนวคิด "1x2x3=6"โดยนำร่องฝึกอบรมภายใต้หลักสูตร "การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากข้าว" ให้กับกลุ่มเกษตรกรข้าวในพื้นที่ภาคกลาง จำนวนกว่า 100 ราย ทั้งนี้ คาดว่าจะเกิดการคิดค้นและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่หลากหลาย สามารถพลิกจากการเป็นแค่เกษตรกรให้กลายเป็นผู้ประกอบการได้อย่างแข็งแกร่งต่อไป

ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากความสำเร็จในการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรของประเทศญี่ปุ่น ให้มีความสามารถเป็นผู้ประกอบการได้ด้วยตนเองโดยนำแนวคิดการศึกษาเรียนรู้อุตสาหกรรมที่6 ('sixth' industrialization) ซึ่งเป็นนิยามของศาสตราจาร­ย์ นาราโอมิ อิมามุระ มหาวิทยาลัยโตเกียว ที่เป็นการนำกิจการประเภทที่ 1 คือ ผู้ประกอบการภาคการเกษตร ประเภทที่2 คือภาคการผลิตและแปรรูป และประเภทที่ 3 คือภาคการตลาดมารวมเข้าด้วยกันเป็นสูตรผสม"1x2x3=6" เริ่มตั้งแต่การที่ผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรมผลิตผลิตผลทางการเกษตร ต่อด้วยการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับตลาด และสุดท้ายสามารถเป็นผู้จำหน่ายผลผลิตได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้ปฏิบัติขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งจะกลายเป็น 0 ทั้งหมดก็จะกลายเป็น 0 ด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ในด้านการประกอบธุรกิจครบทุกด้านจึงจะสามารถประกอบการได้อย่างยั่งยืน

ด้วยแนวคิดดังกล่าว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จึงวางกลยุทธ์ผลักดันให้ผู้ประกอบการภาคเกษตรของไทยมุ่งสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสามารถแข่งขันได้ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นำร่องจัดฝึกอบรมหลักสูตร "การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากข้าว" ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้นน้ำ (เกษตรกร) ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี จำนวนกว่า 100 คน เพื่อให้การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการภาคเกษตรได้มีการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการในอนาคต โดยมุ่งเน้นการสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ การบริหารจัดการ การเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการแปรรูปอาหารจากข้าวและการวางกลยุทธ์การขายและจำหน่ายสินค้านอกจากนี้ยังได้สอดแทรกวิชาชีพเสริมจากการทำนาอื่นๆไว้ด้วย เช่น การใช้ประโยชน์จากพื้นที่คันนาในการปลูกผัก และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ตลอดจนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีความสามารถในการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจของตนเองได้ต่อไป ดร.สมชาย กล่าว สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจโครงการต่างๆ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระราม 6กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2202 4414-17 หรือเข้าไปที่www.dip.go.thหรือwww.facebook.com/dip.pr

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๖ กทม. ประเมินผล Lane Block จัดระเบียบจราจรหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ พบรถแท็กซี่-สามล้อเครื่องจอดแช่ลดลง
๑๗:๐๓ สมาคมประกันวินาศภัยไทย Kickoff การใช้ข้อมูล Non-Life IBS พร้อมส่งมอบรายงานข้อมูลสถิติในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยของประเทศ
๑๗:๓๖ 3 โบรกฯ ประสานเสียงเชียร์ ซื้อ SAV เคาะราคาเป้า 24-25 บาท/หุ้น คาดกำไร Q1/67 ทุบสถิติออลไทม์ไฮ รับปริมาณเที่ยวบินเพิ่ม เก็งผลงานทั้งปีโตเด่น
๑๗:๐๓ Minto Thailand คว้ารางวัล Best Official Account จาก LINE Thailand Award 2023
๑๗:๒๔ กทม. ตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ เตรียมพร้อมหน่วยเบสท์รองรับพายุฤดูร้อน
๑๗:๓๒ ไขข้อสงสัย.เมื่อซื้อแผงโซล่าเซลล์แล้วจะขนย้ายกลับอย่างไรให้ปลอดภัย โดย เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)
๑๖:๔๕ ไทเชฟ ออกบูธงาน FHA Food Beverage 2024 ที่สิงคโปร์
๑๖:๕๓ เนื่องในวันธาลัสซีเมียโลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย
๑๖:๓๕ EGCO Group จัดพิธีเปิดโรงไฟฟ้า EGCO Cogeneration (ส่วนขยาย) อย่างเป็นทางการ
๑๖:๒๖ เพลิดเพลินไปกับเมนูพิเศษประจำฤดูกาล: อาหารจากแคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี ที่ โวลติ ทัสคาน กริลล์ แอนด์ บาร์ โรงแรมแชงกรี-ลา