ปภ. รายงานมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง 17 จังหวัด

จันทร์ ๒๑ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๑๕
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จำนวน 17 จังหวัด พร้อมประสานจังหวัดสำรวจปริมาณน้ำต้นทุน ประเมินและจัดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อกำหนดโซนนิ่งการช่วยเหลือได้อย่างชัดเจน วางแผนจัดหาแหล่งน้ำสำรอง และมาตรการรองรับกรณีแหล่งน้ำดิบขาดแคลน รวมถึงใช้กลไก"ประชารัฐ" ในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความจำเป็นในการควบคุมกิจกรรมการใช้น้ำตลอดจนรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำให้เหมาะสม โดยวางแผนการใช้น้ำที่มีปริมาณจำกัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งหลายพื้นที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำมากขึ้น โดยปัจจุบันมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จำนวน 17 จังหวัด 67 อำเภอ 305 ตำบล 2,576 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 3.44ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ แยกเป็น ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ พะเยา สุโขทัย นครสวรรค์ และน่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา นครพนม มหาสารคาม บุรีรัมย์ และสุรินทร์ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี เพชรบุรี และชัยนาท ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว จันทบุรี และชลบุรี รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ห่วงใยประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยแล้ง จึงได้สั่งการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประสานจังหวัดและหน่วยงานทุกภาคส่วนเร่งแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยดำเนินการสำรวจปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ พร้อมประเมินและจัดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อกำหนดโซนนิ่งการช่วยเหลือได้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับสภาพปัญหา วางแผนจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พัฒนาแหล่งน้ำ ทั้งน้ำบาดาล สระน้ำชุมชน ฝายประชารัฐ พร้อมกำหนดมาตรการรองรับกรณีแหล่งน้ำดิบไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภคบริโภค จัดหาเครื่องสูบน้ำ และรถบรรทุกน้ำให้บริการเติมน้ำใส่ถังน้ำกลางประจำหมู่บ้านในพื้นที่ประสบภัยแล้ง นอกจากนี้ ให้จังหวัดใช้กลไก"ประชารัฐ" ในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ ความจำเป็นในการควบคุมกิจกรรมการใช้น้ำของภาครัฐ พร้อมบูรณาการฝ่ายพลเรือนและหน่วยทหารเฝ้าระวังบริเวณจุดเสี่ยงที่มักมีการลักลอบสูบน้ำและเกิดปัญหาแย่งน้ำ พร้อมจัดทำประชาคมกำหนดกติกาการใช้น้ำไว้ล่วงหน้า เพื่อจัดสรรการใช้น้ำอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม กรณีมีการลักลอบสูบน้ำ กั้นน้ำ และปัญหาแย่งน้ำของประชาชนในพื้นที่ ให้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปด้วยความรวดเร็ว รวมถึงรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำ โดยวางแผนการใช้น้ำที่มีปริมาณจำกัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะเกษตรกรให้ปรับวิถีทำการเกษตรให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำ ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้น้ำเป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่ภาครัฐกำหนด ซึ่งจะทำให้มีน้ำอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง

0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา