เตรียมพบกับที่สุดของการแสดงภาพถ่ายครั้งประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเผยแพร่ในเมืองไทยกับงาน “ฉายาลักษณ์สยาม” ระลึกอดีต มองปัจจุบัน ภาพถ่ายโบราณ พ.ศ. 2403 – 2453 Unseen Siam Early Photography 1860 – 1910

จันทร์ ๒๒ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๒:๑๓
ครั้งแรกในเมืองไทยสำหรับงานนิทรรศการ"ฉายาลักษณ์สยาม"ที่รวมผลงานช่างภาพระดับตำนานของโลกยุคแรกเมื่อ150ปีก่อนไว้มากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดนิทรรศการประเภทนี้มา ภาพขนาดใหญ่ในงานนี้ คือ สำเนาภาพที่อัดขยายจากภาพ ต้นฉบับทุกภาพ เป็นนิทรรศการที่แสดงภาพถ่ายโบราณตั้งแต่เมื่อแรกมีการถ่ายภาพในเมืองไทย จนสิ้นรัชกาลที่ 5 (คัดเลือกภาพโดยหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ และ ไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์) โดยคัดเลือก ภาพที่ไม่เคยเผะแพร่มาก่อนในเมืองไทยมาจัดแสดงในงาน 150 ภาพ มีภาพน่าสนใจมากมาย

อาทิ ภาพพระชายามุสลิมคนแรกและคนเดียวของ ร.4, ภาพนายแพทย์ประจำพระองค์รัชกาลที่ 5, ภาพรัชกาลที่ 4 ฉายร่วมกับพระราชโอรสและพระราชธิดา, ภาพโรงละครโรงแรก, ต้นกำเนิดสตูดิโอ, ภาพศาลยุติธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ต้องมีผู้พิพากษาชาวต่างชาติตัดสินความด้วยรวมไปถึง ภาพนู๊ดยุคแรก อันเป็นมุมมองอันละเอียดอ่อนที่ช่างภาพต่างประเทศได้เก็บประวัติศาสตร์ชาติไทยไดสวยงามน่าทึ่งมาก ซึ่งงานนิทรรศการนี้เป็นการรวมผลงานของช่างภาพระดับตำนานโลกถึง 15 ท่าน

ในงานนิทรรศการภาพถ่ายโบราณสยามมีจำนวนภาพถ่ายกว่า 150 ภาพ ซึ่งต้นฉบับเก็บอยู่ในต่างประเทศ ภาพถ่ายโดยช่างภาพต่างชาติและคนไทยยุคบุกเบิกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นช่างภาพในราชสำนักสยามในเวลาต่อมา ภาพเก่าที่คนไทยไม่เคยเห็นเป็นการเปิดประวัติศาสตร์ในหลายแง่มุมให้กระจ่างไม่ว่าจะเป็นพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 พระฉายา พระรูปเจ้านาย ภาพขุนนางและราษฎร ภาพสถาปัตยกรรมและทิวทัศน์เมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว ภาพเหตุการณ์และพระราชพิธีสำคัญวิถีชีวิตคนไทยในกรุงและชนบทและนาฏศิลป์โขนละครลิเกจากภาพโบราณ ได้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อในมุมมองร่วมสมัย ด้วยผลงานของศิลปินที่ทำให้เห็นมิติและความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปของเมืองมหาชน เศรษฐกิจและสังคม วิถีชีวิตการสัญจรทางน้ำและบก ศิลปะการแสดง รวมไปถึงเทคโนโลยีการถ่ายภาพที่สำคัญสร้างวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ที่ต่อยอดการตีความ และเป็นการสืบต่ออายุภาพเหล่านี้

ซึ่งนิทรรศการนี้จะมีการแบ่งหมวดหรือ section ออกเป็นดังนี้

1.หมวดภาพบุคคล หรือ ภาพ portrait คือ ภาพที่ถ่ายในห้องภาพหรือสตูดิโอ ของช่างภาพนั้นๆ จะมีพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มากมายหลายภาพ พระฉายาลักษณ์หรือพระรูปของพระบรมวงศานุวงศ์ ภาพขุนนางหรือข้าราชการ ชาวต่างชาติที่เข้ามารับราชการ หรือ ทำงานในสยาม ตลอดถึงราษฏรทั่วไปในพระนครและหัวเมืองเกือบ 60 ภาพ รวมตลอดถึง ภาพนุ้ดยุคแรกด้วย

2.หมวดพระราชพิธีหรือเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งจะมีภาพพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น พระราชพิธีพระบรมศพหรือ พระศพเจ้านาย คือ เป็นภาพพระเมรุมาศกลางท้อง สนามหลวง พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีลงสรงสนานและเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์แรก ภาพเหตุการณ์การเสด็จเยือนสยามของ มกุฎราชกุมารรัสเซียและอื่นๆ อีกมาก

3.หมวดนาฎศิลป์และการแสดง โขนละครลิเกนับเป็นสิ่งที่ช่างภาพแต่ละท่าน ให้ความสนใจที่จะถ่ายภาพ เพราะฉะนั้น ช่างภาพเกือบทุกท่านต้องถ่ายภาพละครไทย ซึ่งในนิทรรศการนี้ จะมีภาพหลายภาพที่น่าชมยิ่ง

4.หมวดวิถีชีวิตชนชาวสยาม ส่วนใหญ่เป็นภาพหาชมยาก เนื่องจากช่างภาพหลายท่าน ไม่ได้พำนักอยู่ในเมืองไทยนานพอที่จะออกไปถ่ายภาพเหล่านี้ ภาพที่มาจัดแสดง จึงหาชมยาก โดยเฉพาะชาวบ้านร้านตลาดในหัวเมือง เช่น บรรยากาศตลาดทุเรียนที่ขายมังคุคด้วยเช่นสมัยนี้

5.หมวดสถาปัตยกรรม ทิวทัศน์และวัดวาอาราม ภาพที่มาจัดแสดงในงานนี้ที่น่าสนใจน่าจะเป็นภาพมุมกว้างของแม่น้ำเจ้าพระยาหลายภาพ ที่ถ่ายในหลายช่วง ของแม่น้ำ นับตั้งแต่บริเวณถนนตกมาจนถึงบริเวณพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเราจะได้เห็นพัฒนาการของการขยายเมืองหลวงตั้งแต่ยุคนั้น เปรียบเทียบ กับปัจจุบัน ได้เห็นชุมชนริมแม่น้ำที่เป็นเรือนแพและเรือนไทยมากมาย ได้เห็นการ สัญจรทางน้ำที่คับคั่ง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีภาพวัดวาอารามหลายแห่ง ที่ได้เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน อย่างพระปรางค์วัดอรุณ คือ สิ่งที่ช่างภาพทุกท่านต้องไปถ่ายในสมัยนั้น ทำให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของ วัดนี้ได้อย่างชัดเจน

รายชื่อช่างภาพ: บาทหลวงลาร์โนดี, เฟเดอร์ เจเกอร์, ปิแอร์ รอซิเอร์, คาร์ล บิสมาร์ค, ฟรานซิส จิตร, จอห์น ทอมสัน, เฮนรี่ ชูเรน, กุสตาฟ ริชาร์ด แลมเบิร์ต, แม็กซ์ มาร์ติน, วิลเลียม เคนเนท ลอฟตัส, ฟริทซ์ ชูมานน์, โจคิม แอนโทนิโอ, โรเบิร์ต เลนซ์, เอมิล กรูท และ ไคชิ อิโซนากะ

ศิลปินร่วมสมัย: เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช, ขวัญชัย ลิไชยกุล, เล็ก เกียรติศิริขจร, นักรบ มูลมานัส, ไพโรจน์ ธีระประภา, พิเชษฐ์ กลั่นชื่น, พินิตย์ พันธประวัติ, สืบสกุล ศรัณพฤฒิ และ อุกฤษณ์ สงวนให้ภัณฑารักษ์รับเชิญ: หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ และ ไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ภัณฑารักษ์ร่วม: พิชญา ศุภวานิช

ที่สำคัญหนังสือประกอบนิทรรศการนี้ จะเป็นแคตตาล็อกสำคัญของนิทรรศการนี้ที่มี วางจำหน่ายในงานด้วย มีความหนาเกือบ 400 หน้า พร้อมภาพถ่ายโบราณเกือบ 700 ภาพ มีทั้งเล่มภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ราคามนงาน 1800 บาท ราคาปกติ2000 บาท

นิทรรศการภาพถ่าย "ฉายาลักษณ์สยาม"

ระลึกอดีต มองปัจจุบัน ภาพถ่ายโบราณ พ.ศ. 2403 - 2453

วันที่ 9 กันยายน – 7 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9

พิธีเปิด: 8 กันยายน 2559 เวลา 18.00 น. ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9

เวลาทำการ 10:00 น. – 21:00 น. (ทุกวันยกเว้นวันจันทร์)

โทรศัพท์ 02 214 6630 โทรสาร 02 214 6639

www.bacc.or.th

www.facebook.com/baccpage

จัดโดย: ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ

บริษัท สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ จำกัด

ผู้สนับสนุนหลัก: บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

ผู้สนับสนุนโครงการ: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์,

สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา