SPU : วิศวไฟฟ้าฯม.ศรีปทุมจัดประลอง“เจ้าความเร็ว” เด็กสาธิตจุฬาฯสุดเจ๋ง..! คว้าแชมป์"รถวิ่งตามเส้นเจ้าความเร็ว : Engineering Challenge 2016"

พุธ ๒๔ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๗:๑๕
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดกิจกรรมโครงการแข่งขัน "รถวิ่งตามเส้นเจ้าความเร็ว : Engineering Challenge 2016" ซึ่งเป็นกิจกรรมการแข่งขันรถเจ้าความเร็วอัจฉริยะสมองกลวิ่งตามเส้นทางที่กำหนด โดยมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาระดับอาชีวะศึกษาเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันได้ฝึกฝนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีเยาวชนจากหลายสถาบันการศึกษา ให้ความสนใจและตื่นตัว ส่งทีมเข้าร่วมทำการแข่งขันเป็นจำนวนมากถึง 145 โรงเรียนทั่วประเทศ

โดยภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดและมอบรางวัลแก่เยาวชนที่ชนะเลิศในการแข่งขันฯ ซึ่งในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2559 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป จะทำการแข่งขันใน "รอบชิงชนะเลิศ" ณ ห้องบัวหลวงแกรนด์รูม อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์ ชั้น 5 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า....คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดงานนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนและนักศึกษา ได้ออกแบบสร้างรถแข่งวิ่งตามเส้นในรูปแบบการตรวจจับความแตกต่างและสัญลักษณ์ บนพื้นผิวได้อย่างถูกต้อง เพื่อค้นหาสถาบันการศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางด้านสิ่งประดิษฐ์ สำหรับรถวิ่งตามเส้นความเร็วสูง เพื่อฝึกฝนการออกแบบและพัฒนาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการทำงานของรถวิ่งตามเส้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้าน นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาของประเทศไทย โดยสามารถนำไปใช้งานได้จริงเพื่อเพิ่มศักยภาพองค์ความรู้ และกิจกรรมการศึกษานอกห้องเรียนให้เป็นประโยชน์อย่างสูงสุด

คุณสมบัติผู้สมัคร

- ผู้สมัครกำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ไม่เกินระดับ ม.6

- ผู้สมัครกำลังศึกษาในระดับอาชีวะศึกษา

เงื่อนไขการสมัคร

- ทีมละไม่เกิน 3 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา

กฎกติกาและเงื่อนไข

- ใช้รถแข่งวิ่งตามเส้นคันเดียวกันตลอดการแข่งขัน ห้ามมีการสับเปลี่ยนรถแข่งในขณะแข่งขัน

- ไม่จำกัดเทคโนโลยีที่ใช้งาน

- ไม่จำกัดน้ำหนัก

- ขนาดของตัวรถกว้าง× ยาวไม่เกิน 210 × 297 มิลลิเมตร (ขนาดไม่เกินกระดาษ A4)

- การแข่งขันจำนวน 2 รอบ เอารอบเวลาที่ดีที่สุด

- หากหลุดออกจากแข่งขันให้สามารถนำมาวางในจุดที่กำหนดหลังเส้นจับเวลา แต่จะไม่หยุดจับเวลา

ข้อบังคับ

- ห้ามใช้เครื่องยนต์ทุกชนิด หรือใช้วิธีการจุดระเบิด หรือวิธีการใดๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้จัดและผู้เข้าร่วม

- ห้ามมีการบังคับด้วยมือ หรือส่งสัญญาณช่วยในการควบคุมรถแข่ง

- หากมีการร้องเรียน การทำผิดกฎกติกา หรือข้อกำหนด ถือว่าละเมิดข้อบังคับต่างๆ จะถูกตัดสิทธิ์ในการแข่งขัน และตัดสิทธิ์ในรางวัลต่างๆ

รางวัลการแข่งขัน

- รางวัล Winner รางวัลละ 15,000 บาท(พร้อมถ้วยรางวัล)

- รางวัล Best Technique Award รางวัลละ 5,000 บาท

- รางวัล Special Award รางวัลละ 5,000 บาท

- ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจนจบรายการ ได้ใบประกาศนียบัตร และเหรียญรางวัลความสำเร็จ (Engineering Achievement Award)

- ทุกทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินสนับสนุนทีม ทีมละ 1,500 บาท

เกณฑ์การตัดสิน (คำตัดสินของกรรมการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด)

- หาความเร็วสูงสุดในการแข่งขัน จากทีมทั้งหมดที่เข้าร่วม

- เทคโนโลยี/ระบบควบคุม

- ความคิดสร้างสรรค์

รูปแถบสีของพื้นสนามที่ใช้ในการแข่งขัน

- วัสดุพื้นไม้ทาสีดำ กว้าง 30 เซนติเมตร

- เส้นสีขาว (ตรงกลาง) ความกว้าง 3 เซนติเมตร

- เส้นสีขาว (ด้านข้างทั้งสองข้าง) ความกว้าง 3 เซนติเมตร

สนามที่ใช้ในการแข่งขัน สนามมีขนาดความกว้าง 300 เซนติเมตร ความยาว 900 เซนติเมตร

สรุปผลการแข่งขัน

- รางวัลชนะเลิศ winner ด้วยเวลาการแข่งขัน 21.6 วินาที

ได้แก่ ด.ช.สรสิช สิรวัฒนากุล มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายมัธยม

รับทุนการศึกษาจำนวน 16,500 บาท พร้อมถ้วยรางวัลเกียรติยศจาก ผศ.ดร.ชลธิศ เอียมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

- รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม Best technique

ได้แก่ น.ส.พริมา โตกลม และ น.ส.กัณฐิกา อภิญโญวิเชียรมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 จากโรงเรียนราชินีบน

รับทุนการศึกษาจำนวน 6,500 บาท

- รางวัลขวัญใจกรรมการ Special award

ได้แก่ นายณเมธี น้อยแก้ว มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 จากโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม

รับทุนการศึกษาจำนวน 6,500 บาท

- ราวัล Boo-Bee Award

ได้แก่ นายณัฐวัฒ แก้ว มะลัง และ นายวุฒินันท์ ก้อนทองดีปวส. ชั้นปีที่ 1 จากวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

รับทุนการศึกษาจำนวน 3,500 บาท

- โรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบ 30 ทีมสุดท้าย ได้รับรางวัลเป็นทุนการศึกษาโรงเรียนละ 1,500 บาท ได้แก่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายมัธยม, ศูนย์การเรียนรู้ด้านหุ่นยนต์,โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา, โรงเรียนทานตะวันไตรภาษา, โรงเรียนบ้านนา"นายกพิทยากร", โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม, โรงเรียนจิตรลดา(สายวิชาชีพ), วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี, โรงเรียนราชินีบน, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม, วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี, วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี, โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา, โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา, วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี, โรเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๘ จันทบุรี, วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา, วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์, โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม, วิทยาลัยเทคนิคชุมแพ, วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา, โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม, วิทยาลัยการอาชีพอัมพวา, โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา