กระทรวงเกษตรฯ ผนึกกำลัง กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นำ “เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจากดาวเทียม” สู่การติดตามพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศอย่างแม่นยำและเป็นหนึ่งเดียว

จันทร์ ๒๙ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๒๐
วันนี้ (29 ส.ค. 59) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) หรือ GISTDA ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ว่าด้วย การร่วมกันพัฒนาข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวของประเทศไทยจากภาพถ่ายดาวเทียม โดยมี นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

? ?นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญของไทย เนื่องจากเป็นอาหารหลักและเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ ซึ่งหลายหน่วยงานได้ดำเนินการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าว และนำไปใช้ในการประเมินผลผลิตข้าวเพื่อการบริโภคและส่งออก โดยใช้วิธีการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่แตกต่างกัน จึงทำให้ตัวเลขที่รายงานแก่รัฐบาลมีความคลาดเคลื่อน ไม่ตรงกัน

? "จากปัญหาดังกล่าว ทั้ง 5 หน่วยงาน ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจากดาวเทียม ทั้งจากดาวเทียมไทยโชตและดาวเทียมดวงอื่น ๆ ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ในการติดตามพื้นที่เพาะปลูกข้าวของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทุก 15 วัน ซึ่งเริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2556จนถึงปัจจุบัน นับว่าข้อมูลที่ได้มีความแม่นยำในระดับหนึ่ง ซึ่งหากผนวกความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการเก็บข้อมูลภาคพื้นดินเพื่อมายืนยันผล จะยิ่งทำให้ข้อมูลพื้นที่ปลูกข้าวที่ได้มีความแม่นยำมากขึ้น" นายเลิศวิโรจน์ กล่าว

นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) กล่าวว่า การจัดทำบันทึกความร่วมมือดังกล่าว นอกจากทำให้การจัดทำข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวมีความแม่นยำ และเป็นข้อมูลเพียงชุดเดียว ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการนำไปใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ปลูกข้าว และอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเดียวกันแล้ว ยังช่วยติดตามสถานการณ์การเพาะปลูกข้าว เพื่อนำมาวางแผนการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

? สำหรับการใช้ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าว ได้มีการรายงานต่อคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้ง ปี 2558/59 เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ภัยแล้ง และรายงานต่อคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ภายใต้คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ในทุก ๆ 15 วัน เพื่อเป็นข้อมูลหลักที่ใช้ในการวางแผนผลิต และการตลาดข้าวของประเทศ อันจะนำไปสู่เป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ด้าน นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าว เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ใช้ข้อมูลด้านข้าวจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และกรมชลประทาน รวมถึงหน่วยงานภายนอก ได้แก่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) หรือ GISTDA ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นมีความหลากหลายเฉพาะเรื่อง ประกอบกับปัจจุบันนี้รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเรื่องข้าวเป็นอย่างมาก โดยมีโครงการภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปี 2559/60 ซึ่งจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวของประเทศไทยอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

การลงนามความร่วมมือกันครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกๆฝ่ายเป็นองค์รวมของประเทศ เนื่องจากทั้ง 5 หน่วยงานจะได้ร่วมกันจัดทำข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่มีความแม่นยำสูงจากภาพถ่ายดาวเทียมที่ สทอภ. มี โดยการใช้ข้อมูลดังกล่าวนั้นสามารถใช้ได้ตามความเหมาะสมของภารกิจแต่ละหน่วยงานไม่มีข้อผูกพันใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวให้มีความแม่นยำสูงและมีกระบวนการจัดทำ วิเคราะห์ข้อมูลแบบเดียวกัน เป็นข้อมูลเพียงชุดเดียว ส่งผลดีในการนำไปใช้งานและการอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเดียวกัน สุดท้ายสิ่งที่สำคัญคือเป็นการสร้างความร่วมมือกันทำงานในระยะยาว เพื่อเกษตรกรและประเทศชาติ

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมการข้าวได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการติดตามสถานการณ์ข้าว กรมการข้าวขึ้น โดยศูนย์ปฏิบัติการฯนี้ จะเป็นหน่วยรวบรวมข้อมูลด้านข้าวที่มีความหลากหลายและกระจายอยู่ตามแหล่งต่างๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมนี้จะแบ่งเป็น สถานการณ์การผลิตข้าว สถานการณ์ราคาข้าว สถานการณ์ศัตรูข้าว และสถานการณ์น้ำและภัยพิบัติ ซึ่งจะเริ่มใช้ปฏิบัติงานได้ในเดือนกันยายนนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๗ เด็กดิจิทัลมีเดีย SPU แชมป์ประเทศไทย Thailand Design Creator 2024
๑๔:๑๓ ประสบการณ์อาหารไทยร่วมสมัยจากสองเชฟระดับประเทศ เชฟเอียน กิตติชัยและเชฟน้อย บุศริน ณ ร้านอาหารคำหอม วันที่ 15 และ 16 มี.ค.
๑๔:๓๕ iiG พ้นวิกฤต! โบรกฯ เฟิร์ม ปีนี้.พลิกกำไร 48 ลบ.
๑๔:๑๗ ปักหมุดเปิด 30 มี.ค. นี้ 'เซ็นทรัล นครปฐม' ปฐมบทใหม่ของความสุขทุกมิติ แลนด์มาร์ก ยิ่งใหญ่ที่สุดในนครปฐม
๑๔:๕๒ 'PANEL' เปิดบ้านต้อนรับกลุ่มนักลงทุน ผู้บริหารมั่นใจธุรกิจเติบโตสูง ตุนแบ็คล็อกคุณภาพสูงเต็มพอร์ท
๑๔:๔๔ APO ควง APM KFS ปิดท้ายโรดโชว์ กทม. นักลงทุนให้ความสนใจล้นหลาม
๑๓:๑๖ แอร์เอเชีย กัมพูชา พร้อมให้บริการ เปิดบิน 3 เส้นทางภายในประเทศ
๑๓:๑๕ เปิดเรื่องราวพิชิตทุนนอก จาก 2 รุ่นพี่นักเรียนทุน GREAT Scholarship สู่เส้นทางลัดฟ้าศึกษาต่อสหราชอาณาจักร
๑๓:๒๘ TPCH เฮ! เซ็นสัญญาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ SP2 กำลังผลิต 9.9 MW รุกขยายธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม-วินด์ฟาร์ม ในลาว-กัมพูชา ดันผลงานปี 67 โตเข้าเป้า
๑๓:๒๒ เชียร์บอลไทยให้สุดใจ ร่วมสนุกทายผลการแข่งขัน ลุ้นรับเสื้ออิเกร์ กาซิยาส พร้อมลายเซ็น ในนัด ไทย พบ เกาหลีใต้ วันที่ 21 มี.ค.นี้ เวลา 18.00