รัฐมนตรีเกษตรฯ นำทีมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการป้องกัน/ช่วยเหลือน้ำหลากในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา/อ่างทอง ณ เขื่อนพระราม 6 พร้อมวางแผนการระบายน้ำ โดยยึดหลักประชาชนเป็นสำคัญ

จันทร์ ๐๓ ตุลาคม ๒๐๑๖ ๐๑:๔๖
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการป้องกัน/ช่วยเหลือน้ำหลากในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา/อ่างทอง ณ เขื่อนพระราม 6 อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งปี 2558/59 ทำให้เกษตรกรเริ่มการเพาะปลูกช้ากว่าปีปกติ คือ เริ่มประมาณ มิ.ย. - ก.ค. ทำให้ขณะนี้ยังมีข้าวที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งจากการที่ Gistda ได้ใช้ดาวเทียมถ่ายภาพสำรวจ พบว่า มีปริมาณน้ำอยู่ในลำน้ำมาก แต่ไม่มากเท่าปี 2554 ปัจจุบันยังมีพื้นที่เพาะปลูกทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะเก็บเกี่ยวได้ในอีก 1 เดือน รัฐบาลจึงมีความห่วงใยเกษตรกร จึงได้สั่งการให้กรมชลประทานพิจารณาการผันน้ำ ซึ่งหากพื้นที่ใดยังไม่ได้ทำการเก็บเกี่ยว จะไม่มีการผันน้ำเข้าพื้นที่เกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มองพื้นที่ในภาพรวม ได้มีการหารือกับทุกฝ่ายและตัดสินใจดำเนินการโดยยึดประชาชนเป็นหลัก โดยการผันน้ำออกฝั่งซ้าย/ขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้ ยังมีโอกาสเกิดฝนตกใต้เขื่อน ทำให้มีน้ำหลากเกิดขึ้นอีก จึงต้องเร่งระบายน้ำ โดยทางที่เร็วที่สุดคือการระบายทางตรงผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับน้ำท่วมขังในแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ลุ่มต่ำนั้น เป็นการท่วมระหว่างคันกั้นน้ำกับแม่น้ำ ยังไม่ล้นคันกั้นน้ำ จึงยังไม่มีการปล่อยน้ำส่วนนี้เข้าพื้นที่เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เพราะน้ำยังไม่มากเกินไป แม่น้ำเจ้าพระยายังสามารถรับได้

"ในกรณีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ซึ่งน้ำใกล้จะเต็มเขื่อนนั้น ถือเป็นลักษณะปกติ เพราะมีพื้นที่รับน้ำมาก สามารถระบายน้ำลงมาแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณใต้เขื่อนพระราม 6 ได้ ขณะนี้ น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีประมาณ 1,600 ลบ.ม./วินาที ซึ่งหากจะทำให้ท่วม กทม. ต้องมีน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามากกว่า 3,800 ลบ.ม./วินาที แต่ได้สั่งการให้กรมชลประทานพยายามรักษาระดับน้ำไว้แค่เพียง 2,000 ลบ.ม./วินาที และให้ลดการระบายน้ำลงอีก ถ้ามีปริมาณฝนน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้" พลเอก ฉัตรชัย กล่าว

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยต่อสถานการณ์น้ำ จึงอยากสร้างความเข้าใจกับประชาชน โดยในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจะต้องรีบดำเนินการช่วยเหลือพร้อมจ่ายค่าชดเชย ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วม/น้ำหลาก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 59) มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 42,659 ครัวเรือน เป็นพื้นที่เกษตร 121,619 ไร่ รวมทั้งสิ้น 13 จังหวัด จำนวน 38 อำเภอ 198 ตำบล 1,011 หมู่บ้าน โดยรัฐบาลจะมีการจ่ายค่าชดเชย และช่วยเหลือปัจจัยการผลิตในด้านต่าง ๆ เป็นต้น จึงขอให้มีความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล ซึ่งได้มีการบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะยึดหลักประชาชนเป็นสำคัญ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา