มาร์แชล คาเวนดิช เอ็ดดูเคชั่น จัดสัมมนาทางการศึกษาเพื่อเผยเคล็ดลับสู่ความสำเร็จแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

อังคาร ๑๓ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๐๙:๕๘
ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่างๆ เข้าร่วมงานสัมมนาที่ประเทศสิงคโปร์เพื่อหารือเกี่ยวกับระบบการศึกษาที่จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นอย่างครบถ้วน

• เด็กต้องยึดมั่นในค่านิยมแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

• การคิดเชิงวิพากษ์และการรู้กระบวนการทางการคิดถือเป็นทักษะความสามารถที่สำคัญ

• การสอนควรเปลี่ยนจากเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นการเน้นที่วิธีการสอนเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์

ความก้าวหน้าทางดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและโลกาภิวัตน์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระบบการศึกษาในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนในการรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดนิ่ง ด้วยคำถามที่ว่าการศึกษาจะมีบทบาทอย่างไรในศตวรรษที่ 21?

"การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 จะนำมาซึ่งสิ่งใด?" นี้เป็นหัวข้ออภิปรายในการสัมมนาด้านการศึกษาโดย Marshall Cavendish Education ครั้งที่ 5 ประจำปี 2559 ซึ่งถูกจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ประเทศสิงคโปร์ ภายใต้หัวข้อหลัก "การเปลี่ยนแปลงบริบท -- การเดินทางสู่การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21" ('Putting Change into Context -- A Journey into 21st Century Learning') โดยการสัมมนานี้จะจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยมีผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงอิทธิพลในวงการการศึกษาทั้งในและต่างประเทศมาร่วมแบ่งปันความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีและการพัฒนาวิชาชีพ เพื่อช่วยส่งเสริมผลักดันครูผู้สอนและกระตุ้นผู้เรียน

การเรียนรู้แบบองค์รวมถือเป็นวิธีการที่ทรงพลัง ซึ่งถ้าหากนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ก็จะเป็นการเปลี่ยนผ่านจากการเรียนสู่การทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ทักษะต่างๆ ที่สอนอยู่ในโรงเรียนในปัจจุบันเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 แล้วหรือไม่? ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมนี้ ความสามารถในการอ่านเขียนและการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ยังไม่เพียงพอที่จะดึงดูดให้บริษัทรับเข้าทำงานอีกต่อไป สังคมทุกวันนี้ต้องการประชากรที่มีความรู้นอกเหนือจากในตำรา ไม่ว่าจะเป็นการคิดแบบสร้างสรรค์ ความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนการยึดถือค่านิยมหลักต่างๆ เช่น ความอดทน ความยุติธรรมทางสังคม การเปิดใจให้กว้าง ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และการเคารพในความเท่าเทียมกัน

เพื่อช่วยให้การเปลี่ยนผ่านนี้เป็นไปได้อย่างสะดวก โรงเรียนต่างๆ จะต้องปรับให้เป็นสถานที่ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ มีความมั่นใจในการตั้งคำถาม และสร้างความเชื่อมั่นให้ตนเอง อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการเรียนรู้ในปัจจุบันยังคงมีครูเป็นศูนย์กลางของห้องเรียน ซึ่งคอยจัดเตรียมบททดสอบที่กลายเป็นตัวชี้วัดทางการศึกษา โดยเน้นไปที่ผลการสอบหรือเกรดมากจนเกินไป ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับศตวรรษที่ 21 เราจะต้องเปลี่ยนไปเน้นที่วิธีการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดที่เรียกว่า "metacognition" อันได้แก่ การวิเคราะห์กระบวนการคิดของตน การพัฒนาการใช้เหตุผล และการอธิบายแนวคิดของตน

เทคโนโลยีเกี่ยวกับข้อมูลจะเป็นปัจจัยหลักในการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ ในประเทศไทย ผลการสำรวจครั้งใหม่ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้งานด้านดิจิทัลนั้นมีอัตราร้อยละ 37 ในปัจจุบัน จากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยทั้งหมด 23.9 ล้านคน ผู้ใช้งานแต่ละคนใช้เวลาโดยเฉลี่ยราว 5 ชั่วโมงครึ่งในแต่ละวันในการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือแท็บเล็ต และใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมงต่อวันในการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ การนำเทคโนโลยีมารวมกันกระบวนการการเรียนรู้ทำให้ผู้สอนสามารถนำเสนอวิธีการในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนตามอัตราความเร็วในการเรียนรู้ของแต่ละคนได้ อีกทั้งยังนำเสนอโอกาสในการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และยังเป็นการมอบโอกาสที่เปรียบเสมือนหน้าต่างสู่โลกแห่งการเรียนรู้ที่มากกว่าการเรียนรู้ในห้องเรียนอีกด้วย

นอกจากนี้ ผู้สอนยังสามารถใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาบทเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของนักเรียนแต่ละคนและปรับวิธีการสอนให้เข้ากับรูปแบบการเรียนรู้ต่างๆ ของนักเรียนได้ ซึ่งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นขึ้น เมื่อนักเรียนได้ใช้เวลาในการทำงานที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์และแนวทางการเรียนของพวกเขา

ผู้สอนที่มีคุณภาพสูงถือเป็นกุญแจสำคัญต่อความสำเร็จของข้อเสนอแนะนี้ และการพัฒนาวิชาชีพควรมีเป้าหมายสูงสุด นั่นคือ การยกระดับความสามารถของครู เพื่อปรับปรุงผลการเรียนรู้และพัฒนาการของนักเรียน

ศาสตราจารย์ S. Gopinathan ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ มูลนิธิ The HEAD Foundation และศาสตราจารย์คุณวุฒิ จากสถาบันนโยบาย สาธารณะ ลี กวน ยู (LKY School of Public Policy) แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าวว่า "หลักสูตรพัฒนาวิชาชีพจะต้องสร้างบริบทให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับความเป็นจริงและความท้าทายที่เกิดจากการเรียนการสอน ในการที่จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพนั้น หลักสูตรจะต้องนำเสนอรูปแบบ กิจกรรม และระบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการต่อยอดการเรียนรู้ของครูไปสู่การปฏิบัติในห้องเรียนได้ดียิ่งขึ้น โดยครูจะต้องหมั่นศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ไปตลอดชีวิต และต้องไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่"

Lee Fei Chen หัวหน้าฝ่ายธุรกิจการพิมพ์ ของ Marshall Cavendish Publishing Group กล่าวเสริมว่า "การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่การเปลี่ยนแปลงในทุกวันนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าในอดีตมาก ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตเครื่องมือด้านการศึกษา เราต้องการที่จะสร้างความเชื่อมั่นว่า เนื้อหาสาระของเรานั้นมีประสิทธิภาพต่อทั้งครูและนักเรียน และจะสามารถเป็นสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างการสอนและการเรียนรู้ได้"

ที่มา: มาร์แชล คาเวนดิช เอ็ดดูเคชั่นhttp://www.mceducation.sg/events/mceconference2016

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา