ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 10 จังหวัด พร้อมประสานจังหวัดภาคใต้รับมือฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องถึง 8 ม.ค.60

จันทร์ ๐๙ มกราคม ๒๐๑๗ ๐๙:๓๐
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานยังคงสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 10 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง นราธิวาส ยะลา สงขลา ปัตตานี ตรัง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร และระนอง เร่งบูรณาการจังหวัด หน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระดมสรรพกำลังและทรัพยากรปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง พร้อมประสาน 8 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง และพังงา เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งอย่างต่อเนื่องถึงวันที่ 8 มกราคม 2560 โดยจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว และวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำจุดเสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันใน 10 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง นราธิวาส ยะลา สงขลา ปัตตานี ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร และระนอง รวม 85 อำเภอ 490 ตำบล 3,376 หมู่บ้าน 93 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 252,518 ครัวเรือน 744,422 คน โดยพัทลุง น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอกงหรา อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอควนขนุน อำเภอปากพะยูน อำเภอศรีบรรพต อำเภอเขาชัยสน อำเภอป่าบอน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม และอำเภอตะโหมด รวม 52 ตำบล 507 หมู่บ้าน นราธิวาส น้ำไหลหลาก เข้าท่วมพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอระแงะ อำเภอรือเสาะ อำเภอศรีสาคร อำเภอแว้ง อำเภอสุคิริน อำเภอสุไหงโก – ลก อำเภอสุไหงปาดี อำเภอจะแนะ อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอยี่งอ อำเภอตากใบ และอำเภอบาเจาะ รวม 75 ตำบล 496 หมู่บ้าน 3 เทศบาล 35 ชุมชน ยะลา น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยะลา อำเภอรามัน อำเภอยะหา และอำเภอบันนังสตา รวม 35 ตำบล 161 หมู่บ้าน 1 ชุมชน สงขลา น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอนาหม่อม อำเภอสะเดา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอควนเนียง อำเภอรัตภูมิ อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ และอำเภอระโนด รวม 51 ตำบล 316 หมู่บ้าน ปัตตานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอยะรัง อำเภอกะพ้อ อำเภอหนองจิก อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอสายบุรี อำเภอ แม่ลาน และอำเภอไม้แก่น รวม 45 ตำบล 179 หมู่บ้าน ตรัง น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาโยง อำเภอรัษฎา อำเภอเมืองตรัง อำเภอห้วยยอด และอำเภอวังวิเศษ รวม 29 ตำบล 6 เทศบาล 235 หมู่บ้าน 15 ชุมชน สุราษฎร์ธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอดอนสัก อำเภอท่าชนะ อำเภอเกาะสมุย อำเภอไชยา อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และอำเภอบ้านนาเดิม รวม 57 ตำบล 427 หมู่บ้าน 25 ชุมชน นครศรีธรรมราช น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 17 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอวด อำเภอสิชล อำเภอทุ่งสง อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอท่าศาลา อำเภอนาบอน อำเภอพิปูน อำเภอช้างกลาง อำเภอฉวาง อำเภอนบพิตำ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอพระพรหม อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอขนอม อำเภอพรหมคีรี และอำเภอสานสกา รวม 98 ตำบล 626 หมู่บ้าน ชุมพร มีน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอทุ่งตะโก อำเภอพะโต๊ะ อำเอหลังสวน อำเภอละแม อำเภอสวี และอำเภอเมืองชุมพร รวม 38 ตำบล 382 หมู่บ้าน 1 เทศบาล 17 ชุมชน และระนอง มีน้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอละอุ่น และอำเภอกะเปอร์ รวม 7 ตำบล 26 หมู่บ้าน โดยในภาพรวมสถานการณ์ในปัจจุบันยังมีฝนตกในพื้นที่ ระดับน้ำลดลง ยกเว้นจังหวัดพัทลุง ตรัง และชุมพร ระดับน้ำเพิ่มขึ้น และนราธิวาส ระดับน้ำทรงตัว ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว รวมถึงแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น อีกทั้งจัดเจ้าหน้าที่ พร้อมรถบรรทุกขนาดใหญ่ เรือท้องแบนอำนวยความสะดวกในการสัญจรแก่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัย ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจและจัดทำบัญชีผู้ประสบภัย และทรัพย์สินที่เสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยด่วนต่อไป อย่างไรก็ตาม จากการติดตามสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงยังคงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณเกาะสุมาตราและทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งอย่างต่อเนื่องถึงวันที่ 8 มกราคม 2560 โดยเฉพาะพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรีประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง และพังงา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้ประสานจังหวัดดังกล่าวและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมรับมืออุทกภัยและดินถล่ม โดยจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำจุดเสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที สำหรับผู้ประกอบการทางน้ำและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 8 มกราคม 2560 ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา