วิทยาศาสตร์ฯ มธ. ชี้ ผู้ประกอบการปี 2017 ต้องรู้ วิทย์-เทคโนโลยี พร้อมเผย 3 ความสำเร็จผู้ประกอบการ ต่อยอดวิทยาศาสตร์สู่วิชาชีพ

พุธ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๒:๓๒
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ชี้ "ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของผู้ประกอบการ ปี 2017 เพื่อการพัฒนานวัตกรรรมที่ใช้ในภาคธุรกิจ ทั้งในด้านการคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และในด้านทักษะการคิดแบบเหตุผลและเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ได้เผยตัวอย่าง 3 ผู้ประกอบการที่นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ไปต่อยอดในการทำงานอย่างประสบความสำเร็จ อาทิ "ศิษย์เก่าจากภาควิชาเคมี" ผู้ต่อยอดความรู้ด้านเคมี สู่ผลิตภัณฑ์น้ำหอมแบรนด์ดัง "ศิษย์เก่าจากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ" ผู้ยกระดับวิถีชีวิตเกษตรกรไทย ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ และ "ศิษย์เก่าจากภาควิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ" ผู้ดึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์งานสุดครีเอทีฟ อย่างไรก็ตาม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ยังคงมุ่งบ่มเพาะและพัฒนาศักยภาพบัณฑิต ผ่านหลักสูตรการเรียนรู้ในรูปแบบผสมผสาน SCI+BUSINESS เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับความเข้มแข็งในพื้นฐานองค์ความรู้ด้านพาณิชยศาสตร์และการบริหารอย่างแท้จริง

สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-4440-59 ต่อ 2010 หรือเว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th

รองศาสตราจารย์ ปกรณ์ เสริมสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา "องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์" ถูกมองว่าเป็นศาสตร์ความรู้ที่ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงได้ หรือหากทำได้ก็อาจถูกจำกัดอยู่ในวงแคบของการเป็นนักวิจัยที่อยู่เพียงแต่ในห้องทดลองเท่านั้น ซึ่งแท้จริงแล้ว ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาธุรกิจ โดยเฉพาะในปี 2017 ที่ธุรกิจโดยส่วนใหญ่ถูกผลักดันด้วยนวัตกรรม ดังนั้น ผู้ประกอบการยุคใหม่ จึงควรมีทักษะหรือความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐาน อันจะเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจในอนาคต ซึ่งในขณะเดียวกัน การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์นั้น จะช่วยหล่อหลอมให้ผู้เรียนมีทักษะและกระบวนการคิดที่เป็นระบบยิ่งขึ้น โดยจะเน้นหนักในเรื่องของการคิดแบบเหตุผล การคิดเชื่อมโยง ซึ่งจะสามารถประยุกต์ใช้ในโลกการทำงานจริงได้ เนื่องจากกระบวนการคิดดังกล่าว จะเป็นต้นกำเนิดของการคิดแก้ปัญหา (Pain Point) ของผู้บริโภค อันนำไปสู่การคิดหาวิธีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อตอบสนองทุกความต้องการผู้บริโภค

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ได้ปั้นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน ควบคู่ไปกับการมีทักษะกระบวนการคิดที่เป็นระบบ และพร้อมที่จะต่อยอดสู่การประกอบการในทุกกลุ่มธุรกิจได้อย่างหลากหลาย อันสะท้อนผ่านตัวอย่าง 3 ผู้ประกอบการที่นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ไปต่อยอดในการทำงานอย่างประสบความสำเร็จ อาทิ

· "ต่อยอดความรู้ด้านเคมี สู่ผลิตภัณฑ์น้ำหอมแบรนด์ดัง" - นายสุรวุฒิ วรรณฤมล ศิษย์เก่าจากภาควิชาเคมี เจ้าของแบรนด์น้ำหอม Bangkok Perfumery ผู้ใช้ความรู้ด้านเคมีทดลองสกัดหัวน้ำหอม จากทั้งดอกไม้และผลไม้ จนได้เคล็ดลับความหอมสูตรเฉพาะเป็นของตนเองกว่า 10 ปี เปิดเผยว่า เริ่มค้นพบว่าตนเองมีความสนใจและชื่นชอบในกลิ่นของน้ำหอมตั้งแต่เด็ก ด้วยรู้สึกถึงความมีสเน่ห์ และน่าค้นหาถึงที่มาของกลิ่นหอม จนได้เข้ามาศึกษาต่อในภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ที่ช่วยเปิดประสบการณ์การทดลองทางเคมี ผ่านการตั้งสมมติฐาน การวิเคราะห์ คัดแยกสาร หรือการผสมสารใหม่ ฯลฯ จึงนำไปสู่การตั้งเป้าประกอบธุรกิจน้ำหอมทันทีหลังจบการศึกษา ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพิ่มเติมอย่าง อย่างโลชั่น และสบู่ ควบคู่ไปกับการรับจ้างผลิตสินค้า (OEM) ให้กับบริษัทน้ำหอมในต่างประเทศประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศฮ่องกง ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศดูไบ เป็นผลให้ผลประกอบการในแต่ละปีมียอดแตะสูงถึง 3 ล้านบาท

· "ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อยในชนชท ด้วยบริการเกษตรอินทรีย์ครบวงจร" - นายนาวี นาควัชระ ศิษย์เก่าจากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด ผู้ถ่ายทอดและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ในการพัฒนาปัจจัยการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรร่วมกับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ที่ช่วยกำจัดโรคพืช ฯลฯ ซึ่งเกษตรกรสามารถยืมปัจจัยการผลิตและหักต้นทุนภายหลังได้ การให้คำปรึกษาพร้อมฝึกทักษะให้กับเกษตรกรถึงฟาร์ม การประกันราคารับซื้อและเชื่อมโยงตลาด โดยมีเป้าหมายหลักในการลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ลดความเสี่ยง และเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับเกษตรกรรายย่อยในชนบท ผ่านกระบวนการผสมผสานความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และการบริหารจัดการวิสาหกิจที่สร้างผลกระทบที่ดีต่อชุมชน อีกทั้งยังช่วยลดการปนเปื้อนจากสารเคมีมีพิษทางการเกษตรในดิน น้ำ และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศในชนบทอันเป็นแหล่งต้นน้ำและทรัพยากรให้กลับสู่สมดุล โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดในการทำงาน คือ การสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับคนชนบท

· "ดึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์งานสุดครีเอทีฟ" - นายณภัทร อึ้งประภากร ศิษย์เก่าจากภาควิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ ศิษย์เก่าที่เลือกประกอบธุรกิจต่างออกไปจากสายอาชีพวิทยาศาสตร์ โดยได้ผันตัวเป็นเจ้าของบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจด้านแบรนด์และดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง อย่าง บริษัท 'DodeeDesign Studio' จำกัด ด้วยค้นพบว่าตนชื่นชอบงานในสายครีเอทีฟ ชอบคิดสร้างสรรค์อยู่ตลอด อีกทั้งยังมองว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถอย่างหนึ่ง โดยได้นำหลักการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เข้ามาปรับใช้ในทุกห้วงการดำเนินธุรกิจ ทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการตลาดกับลูกค้า หรือการออกไอเดียคิดสร้างสรรค์ผลงานสักหนึ่งชิ้นงาน ซึ่งต้องอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ ทั้งจากการสังเกตเพื่อค้นหาไอเดียใหม่ๆ การตั้งสมมติฐาน การคาดการณ์ความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น รวมไปถึงระบบความคิดที่ช่วยวางแผนการทำงานได้อย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากงานที่ปรึกษาด้านธุรกิจ ยังมีประสบการณ์การทำงานในหลากบทบาท ทั้งบทบาทการทำงานครีเอทีฟ การเสนอไอเดียจอโทรทัศน์ในพื้นที่โค้ง และการประสานงานการออกแบบชุดยูนีฟอร์มของพนักงานทรู (True) เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ยังคงมุ่งพัฒนาและบ่มเพาะศักยภาพบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีความรอบรู้ด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการมีหลักคิดในการประกอบธุรกิจเพื่อสังคม และหลักคิดในการดำเนินชีวิต ผ่านการเรียนรู้ในหลักสูตร SCI+BUSINESS ที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับความเข้มแข็งในพื้นฐานองค์ความรู้ด้านพาณิชยศาสตร์และการบริหารอย่างแท้จริง รองศาสตราจารย์ ปกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-4440-59 ต่อ 2010 หรือเว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา