ปภ.แนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ

จันทร์ ๐๘ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๓:๓๑
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะข้อควรปฏิบัติในการป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ พร้อมเตือนผู้ขับขี่ที่ใช้อุปกรณ์เสริมในการสนทนาทางโทรศัพท์มีความเสี่ยง ต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าปกติถึง 4 เท่า ส่วนผู้ที่ไม่ใช้อุปกรณ์เสริมมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าปกติถึง 5 เท่า เพื่อความปลอดภัย ผู้ขับขี่ควรใช้ระบบฝากข้อความหรือวอยซ์เมล ใช้อุปกรณ์เสริมในการสนทนาทางโทนศัพท์ กรณีไม่มีอุปกรณ์เสริม ควรให้เพื่อนขับรถแทน หรือจอดรถคุยโทรศัพท์ในบริเวณที่ปลอดภัย และไม่ควรใช้โทรศัพท์เป็นเวลานาน กรณีใช้ระบบนำทาง GPS ควรตั้งจุดหมายการเดินทางก่อนออกรถ ไม่ใช้มือถือโทรศัพท์ขณะขับรถ เพราะทำให้เหลือมือจับพวงมาลัยเพียงข้างเดียว เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จึงไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า การใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ทำให้ผู้ขับขี่ขาดสมาธิในการขับรถ จึงเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ทำให้ประสิทธิภาพในการขับรถลดลง เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จึงไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ดังนี้ ปัจจัยเสี่ยงจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ผู้ขับขี่ที่ใช้อุปกรณ์เสริมในการสนทนาทางโทรศัพท์มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าปกติถึง 4 เท่า เนื่องจากทำให้ ขาดสมาธิในการขับรถ การตอบสนองต่อสัญญาณไฟจราจร ป้ายเตือนและเหตุฉุกเฉินช้ากว่าปกติ ผู้ขับขี่ที่ไม่ใช้อุปกรณ์เสริมในการสนทนาทางโทรศัพท์มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าปกติถึง 5 เท่า ทั้งการใช้มือจับพวงมาลัยเพียงข้างเดียว จึงส่งผลต่อการบังคับทิศทางรถ การตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การมองเห็นและการจดจำสภาพเส้นทาง รวมถึง มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินช้ากว่าปกติประมาณ 0.5 วินาที ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้โทรศัพท์ ขณะขับรถ ใช้ระบบฝากข้อความ หรือวอยซ์เมล เพื่อหลีกเลี่ยงการรับโทรศัพท์ขณะขับรถ ใช้อุปกรณ์เสริมในการสนทนา ทางโทรศัพท์ อาทิ แฮนด์ฟรี สมอลล์ทอล์ค บลูทูธ หรือเปิดลำโพง กรณีไม่มีอุปกรณ์เสริม ควรให้เพื่อนรับโทรศัพท์แทน หรือจอดรถคุยโทรศัพท์ในบริเวณที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ไม่ควรใช้โทรศัพท์เป็นเวลานาน หลีกเลี่ยง บทสนทนาที่ส่งผลต่ออารมณ์ ต้องใช้การวิเคราะห์และตัดสินใจ เพราะทำให้เสียสมาธิในการขับรถ กรณีใช้ระบบนำทาง GPS ควรตั้งจุดหมายการเดินทางและศึกษาเส้นทางก่อนออกรถ เพื่อป้องกันการละสายตาจากเส้นทาง และความลังเลจากการตัดสินใจเลือกใช้เส้นทาง ไม่ใช้มือถือโทรศัพท์ขณะขับรถเพราะทำให้เหลือมือจับพวงมาลัยเพียงข้างเดียว จึงส่งผล ต่อประสิทธิภาพในการขับรถ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จึงไม่สามารถหักหลบสิ่งกีดขวางได้ทัน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ทั้งนี้ ผู้ขับขี่ไม่ควรใช้โทรศัพท์ขณะรถจอดติดสัญญาณไฟหรือการจราจรติดขัด และไม่ควรใช้หัวไหล่หนีบเพื่อคุยโทรศัพท์ในขณะขับรถ เพราะทำให้ประสิทธิภาพในการขับรถลดลง โดยผู้ขับขี่ที่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถมีบทลงโทษทางกฎหมายปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น