เกษตรฯ จับมือกลุ่มมิตรผล พัฒนางานวิจัยและต่อยอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงพาณิชย์ระยะ 5 ปี นำร่อง 3 โครงการปลูกถั่วเขียวหลังนาทดแทนนำเข้า–เสริมทัพเกษตรอินทรีย์-พัฒนาคุณภาพดิน

อังคาร ๑๖ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๕๖
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนา และต่อยอดเทคโนโลยีการเกษตรตามแนวทางเกษตรยั่งยืน ระหว่างสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. กับ บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด และบริษัทในเครือ ว่า การลงนามความร่วมมือระหว่างกันครั้งนี้จะเป็นการร่วมมือแบบประชารัฐเน้นการปรับเปลี่ยนเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ สภาพอากาศ สภาพสังคม โดยในช่วงที่ผ่านมางบประมาณด้านการวิจัยพัฒนาน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว จำเป็นต้องร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีความพร้อม โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องใช้เครื่องจักรกล และเทคโนโลยี เป็นการทำงานในลักษณะประชารัฐ ที่กระทรวงเกษตรฯ คาดหวังว่าจะเป็นแบบอย่างให้กับงานอื่นๆ ในอนาคตด้วย

สำหรับโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ในช่วงแรก ระยะ 5 ปี จะมีความร่วมมือในงานวิจัย 3 โครงการ คือ

1. โครงการวิจัยการปลูกพืชหลังนาเพื่อเป็นพืชหมุนเวียน และ บำรุงรักษาดิน งบประมาณ 5.4 ล้านบาท โดยพืชที่เลือกใช้ คือ ถั่วเหลือง เพราะตลาดมีความต้องการสูง แต่ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าต่อปีในปริมาณที่มาก โดยปัจจุบันไทยมีความต้องการถั่วเหลืองโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ล้านตัน แต่เราสามารถผลิตได้ในประเทศเฉลี่ยเพียงปีละ50,000 ตันเท่านั้น ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นการทดลองปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 และ สจ.5 โดยนำร่องในพื้นที่ 150 ไร่ ของ อ.ชุมแพ และ อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นการปลูกถั่วเหลืองโดยวิธีเกษตรสมัยใหม่ คือ ใช้เครื่องจักรกล เทคโนโลยี ทั้งช่วงต้นฤดูฝน และ ฤดูแล้ง ในพื้นที่แปลงนาข้าวซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับทำให้มีแนวทางการปลูกพืชก่อน และหลังนา โดยใช้เครื่องจักรกลที่มีอยู่เดิม รวมถึงทำให้การปลูกถั่วเหลืองก่อนและหลังนา มีต้นทุนลดลง ผลผลิตมากขึ้น และ มีคุณภาพดีขึ้นตรงความต้องการของผู้บริโภค เกษตรกรสามารถนำการวิจัยไปขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ได้

2. โครงการวิจัยการป้องกันศัตรูพืชด้วยสารควบคุมศัตรูพืชที่ได้จากธรรมชาติ เป็นการส่งเสริมการทำการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะต้องไม่ใช้สารเคมีทำการเกษตร จึงต้องการวิจัยพัฒนาการป้องกันควบคุมแมลงศัตรูพืชที่ไม่ใช้สารเคมี โดยใช้วิธีธรรมชาติ และ นวัตกรรมอื่นๆ ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับจะส่งผลให้มีสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย และลดการนำเข้าสารเคมี

3. โครงการปรับปรุงคุณสมบัติของดิน เป็นการศึกษาวิธีการปรับปรุงคุณสมบัติของดิน ให้เหมาะสมกับการทำการเกษตรในพื้นที่มีผลผลิตต่ำ โดยเน้นเป็นพื้นที่เฉพาะบริเวณ รวมทั้งการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดินในแต่ละพื้นที่อีกด้วย ผลที่คาดว่าจะได้รับ สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านปุ๋ย และ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น