แผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร

จันทร์ ๑๒ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๕:๑๗
แผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตร โดยใช้ตลาดนำและนำเทคโนโลยี/นวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ตลอดห่วงโซ่อุปทานยกระดับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง มั่นคงและยั่งยืนในอาชีพเกษตรกรรมพัฒนาเศรษฐกิจภาคเกษตรให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ และนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยแผนงานบูรณาการดังกล่าวจะใช้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆให้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ มีดำเนินการในรูปคณะกรรมการพิจารณาการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง)เป็นประธานคณะกรรมการฯ

ทั้งนี้แผนบูรณาการดังกล่าว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการดำเนินการ มีหน้าที่ในการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ขอบเขตงาน ระยะเวลา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และวงเงินงบประมาณ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการจำนวน 7 กระทรวง 28 หน่วยงาน 2 รัฐวิสาหกิจ และได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวาระ 1 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2560 แล้ว มีวงเงินรวมทั้งสิ้น 9,698.0717 ล้านบาท ประกอบด้วย 3 เป้าหมายดังนี้

เป้าหมายที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน (จุดเน้น :ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อ้อย สับปะรด ไม้ผล (ลำไย ทุเรียน เงาะ มังคุด) ยางพารา ปศุสัตว์ (โคนม โคเนื้อ) ประมง (กุ้ง ปลานิล) วงเงิน 4,973.9668 ล้านบาท ประกอบด้วย

(1) การพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิต (ต้นทาง) วงเงิน 4,231.6416 ล้านบาท

- ด้านข้อมูลสารสนเทศและการบริหารจัดการ ดำเนินการวางแผนการผลิต การส่งเสริมและบริหารจัดการข้าวครบวงจร จัดทำสารสนเทศต้นทุนการผลิตพืช 15 ชนิด ติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรปัจจัยการผลิตและภาวะเศรษฐกิจสังคม ครัวเรือนและสถาบันเกษตรกร 5 กลุ่มสินค้า

- ด้านการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ/ประสิทธิภาพ ดำเนินการ ขยายศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว/ก่อสร้างศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว 7 ศูนย์ (ผูกพันเดิม 6 ศูนย์/ผูกพันใหม่ 1 ศูนย์) ผลิตและกระจายเมล็ดข้าว 82,100 ตัน ผลิตพันธุ์พืชคุณภาพดี 10 ชนิด ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลทดแทนแรงงานเกษตร

- ด้านพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ดำเนินการ ตรวจมาตรฐานแปลงข้าว5,000 แปลง ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าประมง 32,500 ฟาร์ม เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคสัตว์น้ำ 135,000 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์คุณภาพสินค้าปศุสัตว์ 332,880 ตัวอย่าง ตรวจประเมินสถานประกอบการปศุสัตว์ 43,350 แห่ง ตรวจรับรองแหล่งผลิตพืช 109,300 ฟาร์ม ตรวจสอบโรงคัดบรรจุแปรรูป 700 โรงงาน ส่งเสริมกระบวนการผลิตให้มีมาตรฐาน GAP 15,000 ราย ตรวจรับรองมาตรฐานเส้นไหม 75,000 เมตร สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค พัฒนาอาหารฮาลาล ปรับปรุงคุณภาพสินค้าและท่าเทียบเรือประมง 8 แห่ง

- ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ดำเนินการ พัฒนาการผลิตปศุสัตว์ 220,000 ตัว ตรวจสุขภาพสัตว์ เป้าหมาย 25.9 ล้านตัว เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้เกษตรกร 48,810 ราย ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรให้เกษตรกร 1,340 ราย ส่งเสริมพัฒนาการผลิตข้าวตลาดเฉพาะให้เกษตรกร 4,200 ราย

(2) การพัฒนากระบวนการแปรรูปสินค้าเกษตร (กลางทาง) วงเงิน 246.5323 ล้านบาท

- ด้านพัฒนากระบวนการและแปรรูปสินค้าดำเนินการ ส่งเสริมนวัตกรรมการแปรรูปข้าว พัฒนาศักยภาพกระบวนการแปรรูปสินค้าหม่อนไหม แปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน

- ด้านส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่ม ดำเนินการ สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนในการรวบรวมและเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าว (สนับสนุนยุ้งฉาง ลานตาก เครื่องสีข้าว ฯลฯ) 15 แห่ง และพัฒนาศักยภาพด้านการประกอบธุรกิจข้าวให้เกษตรกร 150 ราย

- ด้านพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ดำเนินการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจข้าวในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรโดยการพัฒนาบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน สนับสนุนปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์การตลาด 53 แห่ง

(3) การพัฒนาศักยภาพกระบวนการตลาดสินค้าเกษตร(ปลายทาง) วงเงิน 495.8199ล้านบาท

- ด้านพัฒนาตลาดเกษตรกร ดำเนินการส่งเสริมการจัดตั้งตลาดเกษตรกร 77 แห่ง สนับสนุนสหกรณ์ในการจัดตั้งตลาดกลางเกษตรกร 16 แห่ง จัดตลาดกลางสินค้าเกษตรในระดับพื้นที่ Mini อตก.20 แห่ง และตลาดสินค้าเกษตรคุณภาพดิจิทัล 1,000 รายการ

- สร้างความสามารถในการแข่งขันตลาดสินค้าเกษตร ดำเนินการสร้างความสามารถการแข่งขันตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศ 24 เรื่อง พัฒนาศักยภาพกระบวนการตลาดสินค้าหม่อนไหมพัฒนาผลิตภัณฑ์ 10 รายการ เชื่อมโยงตลาด 5 ครั้ง

เป้าหมายที่ 2 ลดต้นทุนการผลิต และยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่สู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วงเงิน 3,266.9174 ล้านบาท ประกอบด้วย

(1) ส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 3,980 แปลง อาทิ ส่งเสริมพื้นที่แปลงใหญ่ด้านพืช 1,200 แปลง ข้าว 2,350 แปลง ประมง 70 แปลง ปศุสัตว์ 160 แปลง หม่อนไหม 20 แปลง ส่งเสริมด้านการรวมกลุ่มสหกรณ์ 2,000 แปลง สนับสนุนด้านการปรับปรุงดินพื้นที่แปลงใหญ่ 1,000 แปลง ส่งเสริมพื้นที่แปลงใหญ่ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน80 แปลง พัฒนามาตรฐานพื้นที่แปลงใหญ่ 10 แปลง และฝึกอบรมการจัดทำต้นทุนบัญชี 60,000 ราย

(2) ปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri – Map 418,500 ไร่

(3) ปรับปรุงข้อมูลในแผนที่ Agri – Map โดยจัดทำฐานข้อมูลเพื่อรองรับเขตเกษตรเศรษฐกิจ

5 ชนิดพืช

(4) โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์

(5) ยกระดับเกษตรกรเป็น Smart Farmer 73,715 ราย

(6) จัดตั้งสถาบันเกษตรกรในรูปแบบประชารัฐ 100 แห่ง

(7) จัดตังและพัฒนาธนาคารสินค้าเกษตร 193 แห่ง

เป้าหมายที่ 3 พัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน วงเงิน 1,457.1875 ล้านบาท ประกอบด้วยการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ /ยโสธรโมเดล /พื้นที่ทั่วไป 368,503 ไร่ เกษตรทฤษฎีใหม่ 210,000 ไร่ เกษตรผสมผสาน 33,500 ไร่ (4) วนเกษตร 65,000 ไร่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๕ TRP คว้ารางวัลเกียรติยศ Siamrath Awards 2024 ตอกย้ำ ผู้นำศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะบนใบหน้าของประเทศไทย
๑๑:๔๖ ผถห.PIMO-ไพโม่ อนุมัติปันผลงวดครึ่งหลังปี 66 หุ้นละ 0.03 บาทต่อหุ้น
๑๑:๑๘ การประชุมเตรียมงาน10 รอบ นักษัตรพระราชสมภพ
๑๑:๐๓ ผู้บริหารบางจากฯ แบ่งปันประสบการณ์เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เชิญชวนช่วยกัน ลด ละ เริ่ม เพื่อโลกยั่งยืน ในงานสัมมนา Go Green 2024 : The Ambition of
๑๐:๑๔ 1 พ.ค. นี้ เตรียมพบกับฟิตเนสแห่งใหม่ ใจกลางศรีนครินทร์ กับบริการครบครัน ใกล้บ้านคุณ BB FITNESS@พาราไดซ์
๑๐:๑๐ HUAWEI Band 9 จับมือ 3 แพลตฟอร์ม Amado Shopping ช่องทางออนไลน์ Lazada และ Shopee ให้คุณเข้าถึงฟีเจอร์สมาร์ทวอทช์ด้วยราคาสมาร์ทแบนด์
๑๐:๔๙ ห้องอาหาร นิมมาน บาร์ แอนด์ กริล พร้อมเสิร์ฟความอร่อยแบบจัดเต็มกับ เทศกาลบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น สุดพิเศษ และ บุฟเฟ่ต์ Carvery Night
๑๐:๓๔ TSPCA จัดประชุมสามัญประจำปี 2567 เตรียมความพร้อมสู่สามทศวรรษสวัสดิภาพสัตว์เพื่อก่อเกิด สวัสดิภาพคน
๑๐:๓๒ พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
๑๐:๐๔ ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ มอบของบริจาค พร้อมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ