ปภ.ติดตั้งสถานีด้านพิกัดและระดับความสูงเพื่อประเมินความเสียหายด้วยระบบดาวเทียมนำทาง ในพื้นที่เสี่ยงภัยภาคกลาง เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสาธารณภัยตามมาตรฐานาสากล

อังคาร ๐๑ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๗:๓๖
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการจัดตั้งสถานีพิกัดและระดับความสูง เพื่อประเมินความเสียหายในพื้นที่เสี่ยงภัย ด้วยระบบดาวเทียมนำทางในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลางจำนวน 6 สถานี ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี ปราจีนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และอ่างทอง พร้อมเชื่อมโยงกับสถานีฐานของกรมที่ดิน และกรมโยธาธิการและผังเมือง รวม 83 สถานี เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการจัดทำแผนที่เสี่ยงอุทกภัยการจัดทำรังวัดที่ได้มาตรฐาน การประเมินความเสียหายของพื้นที่ประสบอุทกภัย และมาตรฐานเวลาของประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการสาธารณภัยตามมาตรฐานสากล สอดรับกับนโยบาย "Thailand 4.0" ของรัฐบาล

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สาธารณภัยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น สร้างความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการสาธารณภัยที่ครอบคลุมทุกมิติ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการจัดตั้งสถานีพิกัดและระดับความสูง เพื่อประเมินความเสียหายในพื้นที่เสี่ยงภัย ด้วยระบบดาวเทียมนำทาง GNSS (Global Navigation Satellite System) สำหรับเป็นหมุดหลักฐานอ้างอิงในการทำแผนที่เสี่ยงอุทกภัย การจัดทำรังวัดที่ได้มาตรฐาน การประเมินความเสียหายของพื้นที่ประสบอุทกภัย และมาตรฐานเวลาของประเทศไทย โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นหน่วยสนับสนุนด้านเทคนิคและบุคลากรในการติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐานด้านเวลาและความถี่ สถานีอ้างอิงแบบถาวร เพื่อใช้เป็นโครงข่ายหมุดหลักฐานอ้างอิงสำหรับพิกัดและเวลามาตรฐานของประเทศไทย ด้วยระบบดาวเทียมนำทางในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง จำนวน 6 สถานี ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี ปราจีนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และอ่างทอง พร้อมเชื่อมโยงกับสถานีฐานของกรมที่ดิน และกรมโยธาธิการและผังเมือง รวม 83 สถานี และภายในปี พ.ศ. 2561 จะเพิ่มจำนวนเป็น 222 สถานีทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลหลักค่าพิกัดทางราบและทางดิ่งที่มีความแม่นยำสูง เวลามาตรฐาน

ของประเทศไทย และข้อมูลสภาวะแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง อาทิ อุณภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการสาธารณภัยของประเทศ การพัฒนาด้านคมนาคมและขนส่ง การจัดทำ Smart City รวมถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งนี้ ได้จัดพิธีเปิดอนุสาวรีย์หมุดหลักฐานสำหรับอ้างอิงค่าพิกัดและเวลามาตรฐานประเทศไทย ด้วยสัญญาณจากระบบดาวเทียมนำทางสากล ในวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ณ อาคารผดุงมาตร สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี กล่าวได้ว่า โครงการฯ ดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการสาธารณภัยตามมาตรฐานสากล รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบาย "Thailand 4.0" ของรัฐบาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา