เกษตรแนะใช้แมลงเป็นหมันคุมกำเนิด หวังสู่เขตปลอดแมลงวันผลไม้

ศุกร์ ๑๒ มกราคม ๒๐๑๘ ๐๙:๒๒
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำเกษตรกรสวนผลไม้ทั่วประเทศ ใช้แมลงเป็นหมันควบคุมกำเนิด เพื่อเป็นเขตปลอดแมลงวันผลไม้ เพิ่มผลผลิตคุณภาพ

นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า แมลงวันผลไม้ เป็นศัตรูพืชสำคัญที่สร้างปัญหาไม่เพียงทำลายพืชผักผลไม้เท่านั้น แต่ในหลายประเทศยังถือเป็นเงื่อนไขในการกีดกันการนำเข้าสินค้าเกษตรด้วย ส่งผลกระทบต่อประเทศเกษตรกรรมที่ส่งออกผลผลิตด้านการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย จึงจำเป็นต้องหามาตรการป้องกันเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้อย่างจริงจัง โดยการฉายรังสีให้แมลงเพศผู้เป็นหมันแล้วนำไปปล่อยให้จับคู่ผสมพันธุ์กับเพศเมียในธรรมชาติเพื่อลดศักยภาพในการขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นการคุมกำเนิดแมลงวันผลไม้ด้วยเทคโนโลยีเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รองอธิบดีฯ กล่าวว่า ปี ๒๕๖๑ กรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งเป้าสนับสนุนแมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันจากการฉายรังสี จำนวน ๑๒๐ ล้านตัว เพื่อนำไปปล่อยในพื้นที่ ๙,๘๐๐ ไร่ ที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผลเศรษฐกิจและมีปัญหาการระบาดของแมลงในผลไม้มาก่อน โดยได้สนับสนุนต่อเนื่องเช่นนี้ทุกปี ซึ่งผลการดำเนินงานพบว่า ความเสียหายของผลผลิตการเกษตรลดลงจาก ร้อยละ ๓๐ เมื่อปี ๒๕๔๘ เหลือร้อยละ ๕ ในปี ๒๕๕๖ และร้อยละ ๐ ในปี ๒๕๖๐ ทำให้เพิ่มมูลค่าผลผลิตลองกองและมังคุดในจังหวัดจันทบุรีได้มากกว่า ๒ ล้านบาท และ ๒๙ ล้านบาทต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ การสนับสนุนต่อไปตามมาตรฐานสุขอนามัยพืช กรมส่งเสริมการเกษตรจะทำให้ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี สามารถประกาศเป็นเขตควบคุมที่มีประชากรแมลงวันผลไม้ระดับต่ำ ภายใต้การรับรองขององค์การอารักขาพืชแห่งชาติเป็นแห่งแรกของประเทศไทยได้

ประเทศไทยเริ่มใช้เทคโนโลยีแมลงเป็นหมันตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑ กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับการสนับสนุนความช่วยเหลืองบประมาณจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศแห่งองค์การสหประชาชาติ ในการผลิตแมลงวันผลไม้เป็นหมันปล่อยในพื้นที่ปลูกมะม่วงจังหวัดราชบุรีและพิจิตร พบว่าก่อนดำเนินโครงการ ผลผลิตของมะม่วงเสียหายกว่าร้อยละ ๘๐ ลดลงเหลือ ร้อยละ ๔ ลดการใช้สารเคมีลงเหลือ ๔ ครั้ง จากเดิม ๑๒ ครั้งต่อปี คิดเป็นต้นทุนด้านสารเคมีจาก ๔๘๐ บาท เหลือ ๑๖๐ บาทต่อไร่ ส่วนจังหวัดพิจิตรได้ดำเนินการควบคลุมแมลงวันผลไม้แบบครอบคลุมพื้นที่พบว่า ก่อนดำเนินโครงการผลผลิตเสียหายร้อยละ ๔๓ ลดลงเหลือร้อยละ ๑๕ และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถส่งออกมะม่วงได้กว่า ๒,๐๐๐ ตันต่อปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๖ กทม. ประเมินผล Lane Block จัดระเบียบจราจรหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ พบรถแท็กซี่-สามล้อเครื่องจอดแช่ลดลง
๑๗:๐๓ สมาคมประกันวินาศภัยไทย Kickoff การใช้ข้อมูล Non-Life IBS พร้อมส่งมอบรายงานข้อมูลสถิติในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยของประเทศ
๑๗:๓๖ 3 โบรกฯ ประสานเสียงเชียร์ ซื้อ SAV เคาะราคาเป้า 24-25 บาท/หุ้น คาดกำไร Q1/67 ทุบสถิติออลไทม์ไฮ รับปริมาณเที่ยวบินเพิ่ม เก็งผลงานทั้งปีโตเด่น
๑๗:๐๓ Minto Thailand คว้ารางวัล Best Official Account จาก LINE Thailand Award 2023
๑๗:๒๔ กทม. ตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ เตรียมพร้อมหน่วยเบสท์รองรับพายุฤดูร้อน
๑๗:๓๒ ไขข้อสงสัย.เมื่อซื้อแผงโซล่าเซลล์แล้วจะขนย้ายกลับอย่างไรให้ปลอดภัย โดย เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)
๑๖:๔๕ ไทเชฟ ออกบูธงาน FHA Food Beverage 2024 ที่สิงคโปร์
๑๖:๕๓ เนื่องในวันธาลัสซีเมียโลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย
๑๖:๓๕ EGCO Group จัดพิธีเปิดโรงไฟฟ้า EGCO Cogeneration (ส่วนขยาย) อย่างเป็นทางการ
๑๖:๒๖ เพลิดเพลินไปกับเมนูพิเศษประจำฤดูกาล: อาหารจากแคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี ที่ โวลติ ทัสคาน กริลล์ แอนด์ บาร์ โรงแรมแชงกรี-ลา