ไทยเดินหน้าจำกัดส่งออกยางช่วง 3 เดือน ร่วมกับมาเลย์ และอินโด อย่างจริงจัง ย้ำพร้อมประสานพณ.ตรวจสอบปริมาณยางในสต๊อก พร้อมหาราคาต้นทุนที่เป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการกรณีได้รับผลกระทบจากนโยบายลดการส่งออก

พุธ ๒๔ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๑:๑๗
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในฐานะประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลก ร่วมกับประเทศสมาชิกผู้ผลิตยางทั้งมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในการควบคุมปริมาณการส่งออกยางพาราในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2561 คิดเป็นจำนวนรวมประมาณ 350,000 ตัน เป็นการลดปริมาณยางพาราในตลาดโลกลงอย่างเฉียบพลัน โดยทั้งสามประเทศจะใช้กฎหมายในการดำเนินการของแต่ละประเทศสมาชิกอย่างจริงจัง อย่างกรณีประเทศไทย ได้ออกประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2561 เรื่อง กำหนดปริมาณจัดสรรเนื้อยางสำหรับการส่งออก พ.ศ.2561 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 และประเทศมาเลเซียจะดำเนินการภายใต้ Malaysia Rubber Board ซึ่งมีกฎหมายควบคุมการส่งออกเช่นเดียวกับประเทศไทย และด้านประเทศอินโดนีเซียดำเนินการโดย Gabungan Perusahaan Karet Indonesia Rubber Association of Indonesia: GAPKINDO ร่วมกับกระทรวงต่างประเทศ ทั้งนี้ แต่ละประเทศจะมีสัดส่วนในการควบคุมการส่งออกซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณพื้นที่ปลูกและผลิตของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยจะลดสัดส่วนการส่งออกยางอยู่ที่ประมาณ 2.3 แสนตัน ทั้งสามประเทศจะดำเนินการอย่างจริงจังภายใต้กฎหมายในการควบคุมที่ใช้มาตรการดังกล่าวของแต่ละประเทศ

นายกฤษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในขณะเดียวกัน ทั้งประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก มีเป้าหมายในการเพิ่มการใช้ยางภายในประเทศตนเองมากขึ้น จะเห็นได้ว่า ด้านมาเลเซียนำร่องเป็นประเทศผู้ผลิตที่นำร่องแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมากขึ้น จนเป็นผู้นำด้านการส่งออกถุงมือยางของโลก และทางรัฐบาลไทยมีนโยบายเร่งเร่งส่งเสริมนวัตกรรม และสนับสนุนให้มีการใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้ มีหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานของรัฐที่ตอบรับนำยางพาราไปใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น ถนนยางพารา สนามกีฬา บล็อกปูพื้น ปูสระน้ำ รวมถึงที่นอน และหมอนจากยางพารา เป็นต้น ตั้งเป้าการใช้ยางของหน่วยงานรัฐประมาณ 200,000 ตัน ในปี 2561 นี้

"ระหว่างการจำกัดลดส่งออกยาง ใน 3 เดือนนั้น (มกราคม-มีนาคม 2561) มีมาตรการออกมาผ่านมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเพื่อบรรเทาผลกระทบผู้ประกอบการในมาตรการต่างๆ อาทิ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท โดยชดเชยดอกเบี้ยไม่เกิน 3% ต่อปี และโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานของรัฐ เป้าหมาย 2 แสนตัน โดยมาตรการต่างๆ เหล่านี้เพื่อให้เกิดการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น ย้ำว่าบริษัทใดได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ขอให้แจ้งมาที่รัฐมนตรีได้โดยตรง ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะประสานกระทรวงพาณิชย์เข้าไปตรวจสอบปริมาณยางในสต๊อก พร้อมทั้งหาราคาต้นทุนที่เป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการที่ร้องเรียนขอความเป็นธรรมที่รับผลกระทบจากนโยบายลดการส่งออกด้วยทุกราย" นายกฤษฎา กล่าวย้ำ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น