มหิดลจับมือ 24 สถาบัน ผนึกกำลังสร้างมหาวิทยาลัยยั่งยืน

จันทร์ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๔:๐๕
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาเพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน "From Green to Sustainable University" ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ โดยระดมองค์ความรู้จากนักพัฒนาและนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและการศึกษาจาก 24 สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศไทยร่วมงาน หวังเป็นพลังขับเคลื่อนร่วมกันนำสถาบันการศึกษาของประเทศไทยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน และเป็นต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคม

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลและเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน (Sustainable University Network of Thailand : Sun Thailand) ได้ร่วมกันส่งเสริมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืนเพื่อแก้ปัญหามลภาวะของโลก โดยมีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดำเนินสู่การสร้างให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติต่างๆ

ภายในงาน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้บรรยายพิเศษเรื่อง "มหาวิทยาลัยไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" โดยกล่าวว่า ยั่งยืน คือการรักษาในอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด แล้วยังสามารถส่งต่อให้ผู้คนรุ่นต่อไปได้ ซึ่งคำว่ายั่งยืนไม่ใช่กระแสหรือแฟชั่นแต่คือสิ่งสำคัญที่ควรตระหนัก เพราะโลกกำลังเผชิญอยู่ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่จำนวนประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในพื้นที่ที่มีขนาดเท่าเดิม จึงต้องมีการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนที่ก่อประโยชน์และเกิดความสุข พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ตรัสว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม พระองค์ท่านเน้นการดูแล ดิน น้ำ ลม ไฟ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ก็คือธรรมะ ซึ่งเป็นสิ่งที่นำพวกเราไปสู่ความยั่งยืน พระองค์ท่านไม่เคยใช้คำว่ามั่งคั่ง ร่ำรวย แต่ใช้คำว่า ประโยชน์สูงสุด

"ฉะนั้นเราควรมองสิ่งแวดล้อม เป็นธรรมะ คือธรรมชาติ (nature) เป็นประโยชน์ที่ควรรักษา เพราะหากเรามองเป็นทรัพยากร (resource) ก็จะเห็นแต่ทรัพย์ราคาเท่านั้น เราจึงควรปลูกฝังการมองสิ่งรอบตัวอย่างเป็นธรรม ซึ่งสามารถเริ่มได้ในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะของปัญญา แต่อย่าทำให้ยุ่งยากซับซ้อน แก้ไขปัญหาเรื่องธรรมชาติอย่างง่ายๆ ธรรมดาจะนำไปสู่ความยั่งยืนได้" ดร.สุเมธ กล่าว

ด้าน ศาสตราจารย์ แท ยุน ปาร์ค ประธาน Korean Association for Green Campus Initiative (KAGCI) จากมหาวิทยาลัยยอนเซ ประเทศเกาหลีใต้ บรรยายพิเศษว่าด้วยประสบการณ์จากเกาหลีสู่แนวทางเริ่มต้นสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ซึ่งมหาวิทยาลัยยอนเซ นั้นมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีทั้งด้านกายภาพและการเรียนการสอน จนติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย โดยมีการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัยทั้งด้านเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยลดพื้นที่จอดรถ ตลอดจนการลดขยะจากอาหาร การใช้พลังงานทดแทน หรือการบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่

รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเพิ่มเติมว่า "สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ผ่านกระบวนการศึกษา และวิจัย เราจึงต้องร่วมมือกันในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการสร้างให้เกิดเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน จะเป็นส่วนสำคัญของการยกระดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศ และเป็นต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคม"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๙ PROS จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2567 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติทุกวาระ
๐๙:๔๙ ซีพี - ซีพีเอฟ สนับสนุนโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 42 ส่งเสริมเยาวชนรุ่นใหม่ ตอบแทนคุณแผ่นดิน
๐๙:๑๓ นักวิชาการ TEI แนะมุมมองการสร้าง Urban Climate Resilience ต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๐๙:๓๙ TEI เปิดวงเสวนา บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ? พร้อมเร่งแก้ปัญหา โจทย์ใหญ่กากแคดเมียม จัดการอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง
๐๙:๒๔ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ
๐๙:๑๑ เขตปทุมวันกำชับเจ้าของพื้นที่ตั้งวางสิ่งของ-อุปกรณ์การค้าริมกำแพงส่วนบุคคลให้เรียบร้อย
๐๙:๓๔ ม.หอการค้าไทย ปฐมนิเทศสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านนวัตกรรมการบริการ รุ่นที่ 5 (Top Executive Program for Creative Amazing Thai Services :
๐๙:๐๒ เฮงลิสซิ่ง รับรางวัล หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
๐๙:๔๕ มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร
๐๙:๔๔ พาราไดซ์ พาร์ค ต้อนรับ The Little Gym เปิดสาขาที่ 3