เริ่มแล้ว...งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ สู่การพัฒนาชุมชน ”

จันทร์ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๒:๔๖
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์ รังสิต จ.ปทุมธานี ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 ภายใต้แนวคิด "นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ สู่การพัฒนาชุมชน" ระหว่างวันที่ 11 – 13 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์ รังสิต และสถานศึกษาใน จ.ปทุมธานี และจ.นนทบุรี

นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติเป็นการดำเนินการต่อเนื่องทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2455 นับเป็นเวลา 105 ปี โดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดงาน และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับโอนภารกิจให้จัดงานขึ้น ในครั้งที่ 57 ปีการศึกษา 2550 จวบจนปัจจุบันเป็นครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 ณ ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์ รังสิต และสถานศึกษาใน จ.ปทุมธานี และจ.นนทบุรี โดยการนำนักเรียน ที่ได้รับรางวัลเหรียญทองลำดับที่ 1 ถึงที่ 3 จากการแข่งขันในระดับภาคทั้ง 4 ภูมิภาค มานำเสนอและแข่งขันทักษะฝีมือใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รวมแล้วมากกว่า 600 กิจกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ วิชาชีพ ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ มีทักษะในระดับคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สามารถนำไปใช้ประเมินค่า พร้อมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทั้งใน และนอกห้องเรียน ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ภายใต้แนวคิด "นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ สู่การพัฒนาชุมชน" รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลเพื่อก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 ตามนโยบายรัฐบาล

ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวชื่นชมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการจัดงานที่ได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรม เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งศิลปหัตถกรรมของไทย ความเป็นชาติไทย อันได้แก่วัฒนธรรมประเพณี ศิลปะ ที่มีความประณีต สวยงามแสดงออกถึงความเป็นไทย ที่มีความอ่อนโยน สร้างสรรค์ สืบสานกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม ประติมากรรม หรือสถาปัตยกรรมความงดงาม ที่มีผู้สร้างสรรค์ให้ปรากฏในวิถีการดำรงชีวิตของคนไทย รวมไปถึงการนำศิลปะไปใช้เพื่อประกอบอาชีพการงานได้ เช่น การจักสาน การทอ การปั้น การแกะสลัก รวมถึงดนตรีนาฏศิลป์ทุกแขนง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริว่า การดำรงรักษาศิลปหัตถกรรมที่ดีของชาติ คือ การส่งเสริมเด็ก และเยาวชนให้เห็นคุณค่าของงานศิลปะและหัตถกรรม ที่สามารถนำไปสู่การประกอบเป็นอาชีพเลี้ยงตนเองได้ อันเป็นการให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติอีกทางหนึ่ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๙ PROS จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2567 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติทุกวาระ
๐๙:๔๙ ซีพี - ซีพีเอฟ สนับสนุนโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 42 ส่งเสริมเยาวชนรุ่นใหม่ ตอบแทนคุณแผ่นดิน
๐๙:๑๓ นักวิชาการ TEI แนะมุมมองการสร้าง Urban Climate Resilience ต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๐๙:๓๙ TEI เปิดวงเสวนา บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ? พร้อมเร่งแก้ปัญหา โจทย์ใหญ่กากแคดเมียม จัดการอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง
๐๙:๒๔ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ
๐๙:๑๑ เขตปทุมวันกำชับเจ้าของพื้นที่ตั้งวางสิ่งของ-อุปกรณ์การค้าริมกำแพงส่วนบุคคลให้เรียบร้อย
๐๙:๓๔ ม.หอการค้าไทย ปฐมนิเทศสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านนวัตกรรมการบริการ รุ่นที่ 5 (Top Executive Program for Creative Amazing Thai Services :
๐๙:๐๒ เฮงลิสซิ่ง รับรางวัล หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
๐๙:๔๕ มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร
๐๙:๔๔ พาราไดซ์ พาร์ค ต้อนรับ The Little Gym เปิดสาขาที่ 3