ก.แรงงาน รับลูกครม. เร่งพัฒนาทักษะรองรับอัตราค่าจ้างมาตรฐานฝีมือ 16 สาขาอาชีพ

ศุกร์ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๖:๔๕
นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าจากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ แบ่งเป็น 4 กลุ่มอุตสาหกรรม 16 สาขาอาชีพ ประกอบด้วย กลุ่มแรกอุตสาหกรรมเหล็ก กลุ่มที่ 2 กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก กลุ่มที่ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และกลุ่มที่ 4 อุตสาหกรรมรองเท้า โดยค่าจ้างอยู่ระหว่าง 340-600 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำก่อนหน้านี้ และเป็นการกระตุ้นให้คนทำงานมีการพัฒนาทักษะฝีมือตามสาขาอาชีพนั้น พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กำชับให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ในฐานะหน่วยงานหลักด้านการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เร่งดำเนินการเตรียมความพร้อมในเพิ่มทักษะให้เป็นไปตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ตามแนวทางที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ดำเนินการรอบด้าน ทั้งการสร้างความเข้าใจ การฝึกอบรม และสร้างมาตรฐานฝีมือให้เป็นที่ยอมรับ

นายสุทธิ กล่าวต่อไปว่าการประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในครั้งนี้เป็นการประกาศเพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม 14 กลุ่มอุตสาหกรรม 67 สาขาอาชีพ กพร. มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงาน (สนพ.) 77 แห่ง เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานให้กับพนักงาน ช่างฝีมือ นักศึกษาอาชีวะในการรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน และอนุญาตให้ภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา จัดตั้งเป็นศูนย์ทดสอบฯ อีกจำนวน 586 แห่ง ทั่วประเทศ ส่วนในบางสาขาอาชีพโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชั้นสูง มีการใช้แนวทางประชารัฐประสานหน่วยงานในพื้นที่จัดการทดสอบในสถานประกอบกิจการที่มีเครื่องมือทันสมัย เป็นต้น

"เกณฑ์ที่ใช้ในการทดสอบฯ ประกอบด้วยความปลอดภัยในการทำงาน การใช้วัสดุอย่างประหยัด การใช้เครื่องมือเครื่องจักร ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการทำงาน เป็นข้อกำหนดทางวิชาการในการวัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ ประโยชน์ต่อทั้งนายจ้างและสถานประกอบกิจการ ใช้คัดเลือกบุคลากรที่มีทักษะฝีมือเข้าปฏิบัติงานในองค์กร ประกอบการเลื่อนตำแหน่งงาน ขั้นเงินเดือน ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งในองค์กร ลดอัตราความเสียหายอันเนื่องจากอุบัติเหตุและการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพและผลผลิตของสินค้าและการบริการ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และคนทำงาน ทราบระดับทักษะฝีมือและข้อบกพร่องของตนเอง เป็นแนวทางการวางแผนการพัฒนาฝีมือแรงงานของตนตามความสามารถ เพิ่มโอกาสการจ้างงานสำหรับบุคคลที่ไม่มีวุฒิการศึกษา ให้ได้รับค่าจ้างค่าตอบแทนที่เป็นธรรมมีมาตรฐาน พร้อมใบรับรองเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 0 2245 4837 และสายด่วน 1506 ต่อ 4" อธิบดีกพร. กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๕ TRP คว้ารางวัลเกียรติยศ Siamrath Awards 2024 ตอกย้ำ ผู้นำศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะบนใบหน้าของประเทศไทย
๑๑:๔๖ ผถห.PIMO-ไพโม่ อนุมัติปันผลงวดครึ่งหลังปี 66 หุ้นละ 0.03 บาทต่อหุ้น
๑๑:๑๘ การประชุมเตรียมงาน10 รอบ นักษัตรพระราชสมภพ
๑๑:๐๓ ผู้บริหารบางจากฯ แบ่งปันประสบการณ์เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เชิญชวนช่วยกัน ลด ละ เริ่ม เพื่อโลกยั่งยืน ในงานสัมมนา Go Green 2024 : The Ambition of
๑๐:๑๔ 1 พ.ค. นี้ เตรียมพบกับฟิตเนสแห่งใหม่ ใจกลางศรีนครินทร์ กับบริการครบครัน ใกล้บ้านคุณ BB FITNESS@พาราไดซ์
๑๐:๑๐ HUAWEI Band 9 จับมือ 3 แพลตฟอร์ม Amado Shopping ช่องทางออนไลน์ Lazada และ Shopee ให้คุณเข้าถึงฟีเจอร์สมาร์ทวอทช์ด้วยราคาสมาร์ทแบนด์
๑๐:๔๙ ห้องอาหาร นิมมาน บาร์ แอนด์ กริล พร้อมเสิร์ฟความอร่อยแบบจัดเต็มกับ เทศกาลบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น สุดพิเศษ และ บุฟเฟ่ต์ Carvery Night
๑๐:๓๔ TSPCA จัดประชุมสามัญประจำปี 2567 เตรียมความพร้อมสู่สามทศวรรษสวัสดิภาพสัตว์เพื่อก่อเกิด สวัสดิภาพคน
๑๐:๓๒ พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
๑๐:๐๔ ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ มอบของบริจาค พร้อมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ