สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ความสุขชุมชน

จันทร์ ๑๒ มีนาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๐๘
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ความสุขชุมชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,114 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 1 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา พบว่า

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.1 ภูมิใจมากที่ได้อยู่บนผืนแผ่นดินไทย เมื่อจำแนกตามระดับรายได้ น้อย รายได้ปานกลาง และรายได้มาก พบว่า ผู้มีรายได้น้อยกลับมีความภูมิใจที่ได้อยู่บนผืนแผ่นดินไทยมากที่สุดคือร้อยละ 98.7 รองลงมาคือ ผู้มีรายได้ปานกลางร้อยละ 96.5 และผู้มีรายได้มาก ร้อยละ 97.4 ที่ภูมิใจได้อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ตามลำดับ

ที่น่าพิจารณาคือ ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขตอบโจทย์ความสุขชุมชน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน จำแนกตามระดับรายได้ พบว่า ผู้มีรายได้น้อยกลับมีความสุขสูงสุดในเกือบทุกตัวชี้วัดความสุขชุมชนยกเว้นเรื่องเงินในกระเป๋าของตนเองที่เมื่อนึกถึงแล้วมีความสุขต่ำสุดโดยพบว่า ผู้มีรายได้น้อยมีค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขสูงที่สุดอยู่ที่ 9.26 คะแนนที่ได้เห็นคนไทยเป็นหนึ่งเดียวกันแสดงความจงรักภักดี ทำความดีถวายในหลวง เช่น เป็นคนดี มีวินัย ปกป้องการล่วงละเมิดสถาบัน ใช้ชีวิตพอเพียง ทำหน้าที่ มีจิตอาสา ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีน้ำใจ สู้ปัญหาชีวิต ไม่ท้อ ไม่โกง เป็นต้น สูงกว่าผู้มีรายได้มาก 9.12 คะแนนและ ผู้มีรายได้ปานกลาง 8.95 คะแนน

ด้านความสุขในครอบครัว ผู้มีรายได้น้อยอยู่ที่ 8.65 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 8.39 คนรายได้มากอยู่ที่ 8.48 ด้านความสุขต่อวัฒนธรรม งานบุญ งานบวช คนรายได้น้อยมีความสุขอยู่ที่ 8.33 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 7.81 และคนรายได้มากอยู่ที่ 8.23 ด้านความสุขที่เห็นคนไทยรักกัน ช่วยเหลือเกื้อกุลกัน คนรายได้น้อยมีความสุขอยู่ที่ 7.89 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 7.63 และคนรายได้มากอยู่ที่ 7.83

นอกจากนี้ ด้านความสุขในชุมชนที่พักอาศัย คนรายได้น้อยมีความสุขอยู่ที่ 7.58 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 7.20 และคนรายได้มากอยู่ที่ 7.30 ด้านความสุขเมื่อได้ช่วยกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนรายได้น้อยมีความสุขอยู่ที่ 7.20 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 6.28 และคนรายได้มากอยู่ที่ 6.91

ที่น่าเป็นห่วงคือ ความสุขชุมชนใน 3 มิติ ได้แก่ ด้านความปลอดภัยนอกบ้าน พบว่า คนรายได้น้อยมีความสุขอยู่ที่ 6.56 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 5.93 และคนรายได้มาก อยู่ที่ 5.98 ด้านความสุขเมื่อนึกถึงสถานการณ์การเมือง คนรายได้น้อยมีความสุขอยู่ที่ 5.22 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 4.60 และคนรายได้มากอยู่ที่ 4.81 และด้านความสุขเมื่อนึกถึงเงินในกระเป๋าของตนเอง พบว่า คนรายได้น้อยมีความสุขต่ำสุดคือ 5.21 คนรายได้ปานกลางอยู่ที่ 5.49 และคนรายได้มากมีความสุขอยู่ที่ 6.23

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๖ กทม. ประเมินผล Lane Block จัดระเบียบจราจรหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ พบรถแท็กซี่-สามล้อเครื่องจอดแช่ลดลง
๑๗:๐๓ สมาคมประกันวินาศภัยไทย Kickoff การใช้ข้อมูล Non-Life IBS พร้อมส่งมอบรายงานข้อมูลสถิติในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยของประเทศ
๑๗:๓๖ 3 โบรกฯ ประสานเสียงเชียร์ ซื้อ SAV เคาะราคาเป้า 24-25 บาท/หุ้น คาดกำไร Q1/67 ทุบสถิติออลไทม์ไฮ รับปริมาณเที่ยวบินเพิ่ม เก็งผลงานทั้งปีโตเด่น
๑๗:๐๓ Minto Thailand คว้ารางวัล Best Official Account จาก LINE Thailand Award 2023
๑๗:๒๔ กทม. ตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ เตรียมพร้อมหน่วยเบสท์รองรับพายุฤดูร้อน
๑๗:๓๒ ไขข้อสงสัย.เมื่อซื้อแผงโซล่าเซลล์แล้วจะขนย้ายกลับอย่างไรให้ปลอดภัย โดย เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)
๑๖:๔๕ ไทเชฟ ออกบูธงาน FHA Food Beverage 2024 ที่สิงคโปร์
๑๖:๕๓ เนื่องในวันธาลัสซีเมียโลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย
๑๖:๓๕ EGCO Group จัดพิธีเปิดโรงไฟฟ้า EGCO Cogeneration (ส่วนขยาย) อย่างเป็นทางการ
๑๖:๒๖ เพลิดเพลินไปกับเมนูพิเศษประจำฤดูกาล: อาหารจากแคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี ที่ โวลติ ทัสคาน กริลล์ แอนด์ บาร์ โรงแรมแชงกรี-ลา