กรมวิทย์ฯมั่นใจความพร้อมห้องปฏิบัติการรับมือไวรัสอีโบลาและโรคอุบัติใหม่

ศุกร์ ๒๕ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๓:๐๗
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีความพร้อมในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันเชื้อไวรัสอีโบลา เพื่อคุ้มครองประชาชน เพื่อเตรียมรับสถานการณ์หลังพบการระบาดรอบใหม่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่าพบการระบาดรอบใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก พบผู้ป่วยทั้งหมดที่สงสัยการติดเชื้อ 34 คน ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 18 คน และมีผลยืนยันการติดเชื้อแล้ว 2 คน โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นโรคที่มีอาการรุนแรงและถึงแก่ชีวิต การระบาดครั้งนี้นับเป็นการระบาดครั้งที่ 9 ตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรกของโรคนี้ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เมื่อปี 2519 อาการของโรคนี้ในช่วงแรกมักมีอาการ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ท้องเสีย อาเจียน ตาแดง ผื่นที่ผิวหนัง เมื่อมีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉลี่ยอัตราการเสียชีวิตของผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้อยู่ที่ร้อยละ 50 เชื้อไวรัสนี้แพร่จากสัตว์ป่ามาสู่คน จากนั้นจึงแพร่ระบาด ไปยังชุมชน โดยการแพร่จากคนสู่คน โดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ป่วยที่มีอาการ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ได้เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การระบาดของเชื้ออีโบลา โดยเฉพาะการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยาที่มีความไวและความจำเพาะสูง สามารถทราบผลภายใน 6 ชั่วโมง ช่วยให้การควบคุมโรคและการรักษาผู้ป่วยได้ทันเวลา มีห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 Biosafety level 3 (BSL-3) laboratory สำหรับการปฏิบัติงานกับเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต ที่ออกแบบพิเศษ ทำให้ความดันภายในห้องปฏิบัติการน้อยกว่าความดันภายนอก กรองอากาศเข้า-ออก เน้นการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อไม่ให้หลุดออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก บุคลากรมีความพร้อมรับสถานการณ์การระบาดตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 ผ่านการฝึกอบรมความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการ และมีความชำนาญในการตรวจวิเคราะห์เป็นอย่างดี พนักงานยานพาหนะที่ทำหน้าที่ขนส่งตัวอย่างมาตรวจวิเคราะห์หาเชื้อไวรัสอีโบลาก็ผ่านการฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัย มีการสวมอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ และสามารถทำลายเชื้อหากเกิดการปนเปื้อนระหว่างการขนส่ง

"กรณีพบผู้ป่วยสงสัยติดเชื้ออีโบลาในสถานพยาบาลให้ประสานสำนักระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันและ ควบคุมโรคหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อสอบสวนโรคและวางแผนประสานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการรับตัวอย่างส่งตรวจ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดและคำแนะนำวิธีปฏิบัติในการตรวจวิเคราะห์และจัดการสิ่งส่งตรวจ จากผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาได้จากเว็บไซต์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ http://nih.dmsc.moph.go.th/ebola/ebola.html" นายแพทย์สุขุม กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา