การพัฒนาโปรแกรมทดสอบไอซีลดเวลากระบวนการผลิตในโรงงาน งานวิจัยฝีมือล้วนๆ จากรั้วพระจอมฯ

อังคาร ๐๗ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๓:๕๙
ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมทดสอบไอซีด้วยภาษามาตรฐาน STIL ผลงานของ นางสาวนุชจรินทร์ ใจดี และนายพงศธร หอมนาน นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) การันตีรางวัลจากการประกวดผลงานสหกิจศึกษาดีเด่น มจพ. ประจำปี 2561 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งการพัฒนาโปรแกรมทดสอบไอซีด้วยภาษามาตรฐาน STIL (Standard Test Interface Language) เป็นการพัฒนาการทดสอบไอซีด้วยเครื่องTester RSX 5000 ซึ่งเป็นเครื่องทดสอบไอซีที่มีประสิทธภาพสูงในโรงงานอุตสาหกรรม โดยกระบวนการที่ได้ทำการพัฒนาโปรแกรมเพื่อทดสอบไอซีนั้นจะช่วยให้ลดเวลาในการทดสอบไอซีให้กับกระบวนการผลิตในโรงงานได้มาก เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตได้มากขึ้นในระยะเวลาที่น้อยที่สุด และยังช่วยลดจำนวนอุปกรณ์ในการทดสอบไอซีลงไปได้มาก แนวคิดและความเป็นมาของงานวิจัย เนื่องจากการทดสอบไอซีในรูปแบบเดิมที่ใช้เครื่องทดสอบรุ่นเก่าที่เป็นภาษา Assembly ทำให้การทดสอบไอซีมีประสิทธิภาพน้อยและใช้เวลานานในการทดสอบ เลยได้มีการพัฒนาโปรแกรม STIL ขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดสอบกับเครื่องทดสอบไอซีรุ่นใหม่ เพื่อทำให้ทดสอบประสิทธิภาพไอซีได้100% และสามารถลดเวลาในการทดสอบลงไปได้ถึง 56% โดยมี ผศ.ดร.พินันทา ฉัตรวัฒนา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อเขียนโปรแกรมที่ใช้ในการทดสอบไอซีเช็คความถูกต้องได้ 100% ให้กับบริษัท โรม อินทิเกรเต็ด ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ลดเวลาในการทำงานของโปรแกรมที่ใช้สำหรับทดสอบไอซี ให้ได้มากที่สุด และลดอุปกรณ์เสริมของการทดสอบไอซีลงจากเดิม

ลักษณะเด่นของภาษามาตรฐาน STIL เป็นภาษาเฉพาะที่ใช้ในการทดสอบไอซีของบริษัท โรม อินทิเกรเต็ด ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีคุณภาพในการตวรจสอบความถูกต้องที่สูงและง่ายต่อการใช้งาน

วิธีการดำเนินงาน ในขั้นตอนแรกได้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับพื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ การใช้เครื่องTester RSX5000 และเครื่องมือต่างๆที่จำเป็นต่อการทำงาน และเมื่อเข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ก็ลงมือเขียนโปรแกรมโดยการแปลงโปรแกรมจากเครื่อง Tester ICT1800 ที่ใช้ภาษา Assembly ให้ใช้กับเครื่องTester RSX5000 ที่ใช้ภาษา STIL ผ่านทางโปรแกรม RSX5000 IC Tester System หลังจากนั้นทำการตรวจสอบโปรแกรมให้มีความถูกต้องตาม Test Spec และ Circuit หลังจากที่ได้ทำการเขียนโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตรวจสอบว่าโปรแกรมของเรานั้นสามารถ RUN กับงานจริงได้ไหม เมื่อเช็คโปรแกรมแล้วว่ามีความถูกต้อง 100% ก็สามารถนำโปรแกรมภาษา STIL ที่ได้เขียนโดยนำมาทดสอบไอซีในกระบวนการผลิตที่ RUN งานเป็นหลาย ๆ ตัวได้

ประโยชน์การใช้งานวิจัย สามารถนำโปรแกรมไปต่อยอดในการทดสอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี ลดเวลาในการทำงานในกระบวนการผลิต นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านการทดสอบชิ้นงานในโรงงานอุตสาหกรรม

สอบถามรายละเอียดได้ที่ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 6333

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๕ TRP คว้ารางวัลเกียรติยศ Siamrath Awards 2024 ตอกย้ำ ผู้นำศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะบนใบหน้าของประเทศไทย
๑๑:๔๖ ผถห.PIMO-ไพโม่ อนุมัติปันผลงวดครึ่งหลังปี 66 หุ้นละ 0.03 บาทต่อหุ้น
๑๑:๑๘ การประชุมเตรียมงาน10 รอบ นักษัตรพระราชสมภพ
๑๑:๐๓ ผู้บริหารบางจากฯ แบ่งปันประสบการณ์เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เชิญชวนช่วยกัน ลด ละ เริ่ม เพื่อโลกยั่งยืน ในงานสัมมนา Go Green 2024 : The Ambition of
๑๐:๑๔ 1 พ.ค. นี้ เตรียมพบกับฟิตเนสแห่งใหม่ ใจกลางศรีนครินทร์ กับบริการครบครัน ใกล้บ้านคุณ BB FITNESS@พาราไดซ์
๑๐:๑๐ HUAWEI Band 9 จับมือ 3 แพลตฟอร์ม Amado Shopping ช่องทางออนไลน์ Lazada และ Shopee ให้คุณเข้าถึงฟีเจอร์สมาร์ทวอทช์ด้วยราคาสมาร์ทแบนด์
๑๐:๔๙ ห้องอาหาร นิมมาน บาร์ แอนด์ กริล พร้อมเสิร์ฟความอร่อยแบบจัดเต็มกับ เทศกาลบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น สุดพิเศษ และ บุฟเฟ่ต์ Carvery Night
๑๐:๓๔ TSPCA จัดประชุมสามัญประจำปี 2567 เตรียมความพร้อมสู่สามทศวรรษสวัสดิภาพสัตว์เพื่อก่อเกิด สวัสดิภาพคน
๑๐:๓๒ พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
๑๐:๐๔ ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ มอบของบริจาค พร้อมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ