กรมชลจับมือพันธมิตร พิชิตผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พฤหัส ๐๖ กันยายน ๒๐๑๘ ๐๙:๒๒
เพราะปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาโครงการต่างๆ ของกรมชลประทานมีความซับซ้อนและหลากหลายด้าน แต่จะปล่อยให้ผลกระทบเหล่านั้นเกิดขึ้นจนเกิดความเดือดร้อนคงไม่เข้าที การจะแก้ปัญหาเพียงลำพังก็อาจทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ กรมชลประทานจึงต้องจับมือกับหลายหน่วยงาน หลายองค์กร ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางร่วมกันแก้ไข

จากนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของกรมชลประทานที่ต้องทำ EIA (Environmental Impact Assessment Report) หรือการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลังจากได้ข้อมูลแล้วต้องมีแผนติดตามผลกระทบ ในทุกกระบวนการตั้งแต่ก่อนก่อสร้าง ช่วงก่อสร้าง หลังก่อสร้าง และแต่ละโครงการ มีผลกระทบไม่เหมือนกัน

นายธนา สุวัฑฒน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน เปิดเผยว่าเมื่อมีแผนดำเนินการหลายแผน หากเป็นความเชี่ยวชาญของกรมชลประทานเช่นเรื่องคุณภาพน้ำซึ่งมีสำนักวิจัย มีสำนักสิ่งแวดล้อม ก็จัดการเองได้ แต่นอกเหนือกว่านั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากที่อื่น

"พอไปเรื่องโบราณคดี เรื่องขุดค้น หรือบางทีต้องทำพิพิธภัณฑ์เลยด้วยซ้ำ หรือเรื่องประมงเราก็ทำเองไม่ได้ ต้องมีกรมประมงเข้ามาช่วย หรือเรื่องโรคเขตร้อนที่เกี่ยวกับน้ำ ก็ต้องไปทางสาธารณสุข ส่วนที่เกี่ยวกับป่าไม้ก็ไปที่กรมป่าไม้ มีหน่วยงานเยอะเลยที่มาร่วมกันทำงาน นี่คือการบูรณาการ พื้นที่เดียวกัน งานเดียวกัน แต่ทำงานกันหลายหน่วยงาน"

เกณฑ์การคัดเลือกคนที่เข้ามาร่วมทำงาน ทางกรมชลประทานยึดหลักว่าผลกระทบเกิดด้านใดบ้าง จึงเลือกหน่วยงานที่เชี่ยวชาญเป็นมืออาชีพเข้ามาทำงาน

ยิ่งการทำงานซับซ้อนและมีหลายฝ่ายร่วมกัน งบประมาณที่ใช้ย่อมมากขึ้นตาม ลำพังจะผลักให้หน่วยงานที่เข้ามาช่วยต้องแบกรับคงไม่ดีแน่ ด้านงบประมาณ ผอ.สำนักวิจัยฯ บอกว่ากรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

"เราดูว่าจำเป็นต้องทำอะไรบ้าง หน่วยงานต่างๆ จะเสนอแผนมา แล้วเราพิจารณาร่วมกัน เช่น จุดสกัดป่าไม้ กรมป่าไม้เสนอมา 5 จุด เราก็เอาแผนที่มาหารือกัน พอตกลงกันได้ว่าต้องทำกี่จุด เราก็จัดสรรงบประมาณให้ อย่างกรมประมงต้องมีเรือตรวจการณ์ เราก็จัดสรรงบประมาณซื้อให้ อะไรที่จำเป็นเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม ต้องทำได้เลยอย่างเต็มที่"

ในปีที่แล้วกรมชลประทานได้รับงบประมาณราว 200 ล้านบาท เพื่อจัดการโครงการแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่จำนวนตัวเลขนี้ไม่แน่นอนในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการจัดการ ผอ.สำนักวิจัยฯ บอกว่างบจะอยู่ราว 100-200 ล้าน ซึ่งในตัวเลขดังกล่าวต้องเกิดเกิดผลสัมฤทธิ์คุ้มค่า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา