เปิดมุมมองภาพถ่าย “วันช็อตน็อกเอาท์” กับ 7 ย่านนวัตกรรมวิชั่นใหม่กับคุณภาพชีวิตในระดับเมือง

ศุกร์ ๒๑ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๕:๓๐
"ย่านนวัตกรรม หรือ Innovation District" เป็นแนวคิดใหม่ของการวางแผนและออกแบบพื้นที่และสังคมเมืองบนหลักการพัฒนาเมืองหรือย่านให้ดึงดูดกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมให้รวมกันเป็นคลัสเตอร์ โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือ และกลไกที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยและผู้ดำเนินกิจกรรมในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ แนวคิดในการออกแบบย่านนวัตกรรม ประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายๆเมืองทั่วโลก อาทิ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเมืองเหล่านี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการลงทุนทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ทั้งยังเป็นเมืองที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตของคนในแต่ละเมืองได้ในหลากหลายด้านอีกด้วย

สำหรับในประเทศไทย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ริเริ่มพัฒนาย่านนวัตกรรมแล้วทั้งหมด 15 ย่านประกอบด้วย ย่านนวัตกรรมโยธี คลองสาน ปทุมวัน กล้วยน้ำไท ลาดกระบัง ปุณณวิถี บางซื่อ รัตนโกสินทร์ เชียงใหม่ ขอนแก่น บางแสน ศรีราชา พัทยา อู่ตะเภา – บ้านฉาง และ ภูเก็ต ซึ่งแต่ละเมืองจะมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นในนวัตกรรมแต่ละด้านที่แตกต่างกันไป และเพื่อให้แนวคิดดังกล่าว เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น เมื่อเร็วๆนี้ NIA จึงได้ร่วมกับสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย (ในพระบรมราชูปถัมภ์) จัดกิจกรรมประกวดถ่ายภาพย่านนวัตกรรม "Innovation Thailand Photo Contest 2018" ในธีม One Shot Knock Out : Innovation District เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรมโดยอาศัยการถ่ายภาพเป็นเครื่องมือในการเปิดมุมมองความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมที่มีอยู่ในย่านนวัตกรรม พร้อมกระตุ้นให้ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไปได้ตระหนักรู้ถึงประโยชน์จากการยกระดับแต่ละพื้นที่ให้เป็นย่านนวัตกรรม และเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์บรรยากาศด้านนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งจะต่อเนื่องถึงการช่วยให้ แต่ละพื้นที่มีความน่าอยู่อาศัยมากขึ้น

เริ่มกันที่ภาพถ่ายย่านนวัตกรรมในจังหวัดภูเก็ต ที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวอัจฉริยะ หรือ Smart Tourism ที่มีการนำนวัตกรรมในการช่วยอำนวยความสะดวก รวมถึงนวัตกรรมในการเดินทาง มาใช้ ซึ่งต่อไปในอนาคตย่านดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวในปริมาณที่สูงขึ้นย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการนำนวัตกรรมที่ช่วยให้เกิดความสะดวกสบายและเหมาะสมกับรูปแบบของเมือง ถือเป็นความจำเป็นที่ต้องนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

ทั้งนี้ NIA พร้อมด้วยสมาคมถ่ายภาพฯ ได้นำร่องจัดกิจกรรมดังกล่าวใน 7 ย่าน ได้แก่ ย่านนวัตกรรมโยธี ย่านนวัตกรรมรัตนโกสินทร์ ย่านนวัตกรรมปทุมวัน ย่านนวัตกรรมพัทยา ย่านนวัตกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ย่านนวัตกรรมในจังหวัดภูเก็ต และย่านนวัตกรรมในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเหล่านักถ่ายภาพทั้งมืออาชีพและสมัครเล่นที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างได้ร่วมกันถ่ายทอดผลงานผ่านโจทย์ One Shot Knock Out ออกมารวมกันไม่ต่ำกว่า 1,000 ภาพ อย่างไรก็ตาม การตัดสินภาพถ่ายในปีนี้ทางคณะกรรมการ ได้ใช้เวลาในการตัดสินภาพแต่ละภาพกันแบบหนักอกหนักใจ และภาพที่ชนะใจกรรมการในแต่ละย่านนั้น ขอบอกเลยว่าบ้างก็มีทั้งความสวยงาม บ้างก็ทันสมัย บ้างก็แฝงด้วยนัยแห่งนวัตกรรม และทำให้เห็นโดยประจักษ์ว่า นวัตกรรมอยู่รอบตัวเราอย่างแท้จริง

เริ่มกันที่ภาพถ่ายย่านนวัตกรรมในจังหวัดภูเก็ต ที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวอัจฉริยะ หรือ Smart Tourism ที่มีการนำนวัตกรรมในการช่วยอำนวยความสะดวก รวมถึงนวัตกรรมในการเดินทาง มาใช้ ซึ่งต่อไปในอนาคตย่านดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวในปริมาณที่สูงขึ้นย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการนำนวัตกรรมที่ช่วยให้เกิดความสะดวกสบายและเหมาะสมกับรูปแบบของเมือง ถือเป็นความจำเป็นที่ต้องนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

ภาพถัดมาเป็นภาพของย่านนวัตกรรมโยธี ซึ่งจากภาพสื่อให้เห็นได้อย่างเด่นชัดที่ย่านนี้จะมีบริการทางการแพทย์ สุขภาพและบริการสาธารณสุขของประเทศอย่างครบวงจร ซึ่งในย่านนี้ ในปัจจุบันมีการกระจุกตัวของโรงพยาบาล โรงเรียนแพทย์ กระทรวงและหน่วยงานสำคัญต่างๆ ของรัฐ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในการเชื่อมต่อการเดินทางรูปแบบต่างๆ ในกรุงเทพมหานครอีกด้วย

ข้ามมาที่เมืองศูนย์กลางแดนอีสานอย่าง ย่านนวัตกรรมในจังหวัดขอนแก่น โดยกลุ่มภาพเหล่านี้นี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการเป็นพื้นที่ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมการขนส่ง (Logistic Tech) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยขอนแก่นยังถือเป็นจังหวัดยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญที่ในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อแบบใยแมงมุมได้อย่างครอบคลุมและครบทุกมิติไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางบก ทางอากาศ ทางเรือ และขนส่งระบบราง ซึ่งในอนาคตยังเชื่อว่าย่านดังกล่าวจะเป็นเมืองที่สำคัญในการเชื่อมโยงทั้งการค้า การลงทุน การนำเข้า-ส่งออกกับภูมิภาคอื่นๆได้อย่างกว้างขวาง

ถ้ามองจากภาพก็สามารถรู้ได้ทันทีว่านี่คือย่านนวัตกรรมปทุมวัน (ราชประสงค์) ซึ่งเหล่านักกดชัตเตอร์ได้ฉายภาพให้เห็นถึง การเป็นศูนย์กลางธุรกิจ และพื้นที่ธุรกิจสร้างสรรค์ โดยเรายังจะได้เห็นว่าย่านนี้สามารถพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมที่เชื่อมโยงกับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจได้อย่างหลากหลาย เช่น การขนส่งและการเดินทางอัจฉริยะ การสร้างเครื่องมือสนับสนุนการทำการค้าให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยย่านนี้ยังมีความทันสมัยซึ่งเป็นเสน่ห์ที่พัฒนาได้อย่างไม่สิ้นสุด

ขยับมาที่ พื้นที่ที่มีเสน่ห์และเป็นแหล่งกระจุกตัวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของกรุงเทพฯกันบ้าง กับภาพถ่ายย่านนวัตกรรมรัตนโกสินทร์ ซึ่งค่อนข้างมีความเด่นชัดในการเป็นพื้นที่ที่วิสัยทัศน์ในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และศูนย์รวมสตาร์ทอัพด้านดังกล่าว นอกจากนี้ ยังชี้ให้เห็นถึงการเป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการนำนวัตกรรมมาร่วมรังสรรค์กับงานศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และการออกแบบเมือง ซึ่งถือเป็นการผสมผสานที่ลงตัวอย่างสูง

การผสมผสานระหว่างเมืองท่องเที่ยว เมืองธุรกิจ และเมืองแห่งความเจริญที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งภาพเหล่านี้ก็คือย่านนวัตกรรมพัทยา โดยในอนาคตพื้นที่แห่งนี้จะมีการรองรับการพัฒนาของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี เป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับผู้อยู่อาศัยและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ รวมทั้งยังสะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์ของเมืองพัทยา ที่จะเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวทางกีฬา สันทนาการ และสุขภาพอีกด้วย

ปิดท้ายกันที่ ภาพถ่ายย่านนวัตกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นถึงความสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือตอนบน ที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรม วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ให้เข้มแข็งเป็นกำลังทางเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย โดยยังช่วยให้เห็นถึงการนำนวัตกรรมมาผนวกกับวิถีชีวิตและศิลปะแบบดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เปิดเผยว่า การประกวดถ่ายภาพย่านนวัตกรรมเป็นกิจกรรมที่ช่วยสะท้อนภาพเมืองในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้คนที่ไม่ได้อยู่หรือรับรู้ในเรื่องของโลกนวัตกรรม ได้เห็นทั้ง สิ่งที่ทำแล้ว สิ่งที่คนได้ใช้ สิ่งที่ช่วยตอบโจทย์คุณภาพชีวิต ซึ่งยังจะต่อเนื่องไปถึงการสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆให้กับหลายๆคนได้เกิดแนวคิดหรือการพัฒนาโซลูชั่นที่จะเป็นสิ่งใหม่เพื่อช่วยยกระดับสังคมในอนาคต นอกจากนี้กิจกรรมสนับสนุนดังกล่าวยังเป็นแนวทางการพัฒนาวงการถ่ายภาพของประเทศไทยให้ก้าวหน้าในอีกระดับรูปแบบหนึ่ง โดยกลุ่มเป้าหมายในความร่วมมือครั้งนี้ครอบคลุมตั้งแต่นักถ่ายภาพมืออาชีพและสมัครเล่น นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ซึ่งหลังจากที่จบกิจกรรมนี้ เชื่อว่าทั้ง NIA รวมทั้งนักธุรกิจ นักนวัตกรรม จะได้เห็นโจทย์ใหม่ๆ ที่จะพัฒนาระบบนวัตกรรมในระดับย่านหรือเมือง พร้อมทำให้คุณภาพชีวิตของคนในหลายๆพื้นที่ มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยภาพภ่ายเหล่านี้ยังจะถูกนำมาจัดแสดงในนิทรรศการ "ด้านย่านนวัตกรรมในโอกาสต่อๆไป" ซึ่ง NIA จะพยายามตอกย้ำแนวคิดเหล่านี้ให้ยิ่งเป็นที่รู้จักและถูกพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นพร้อมๆกัน

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-0175555 เว็บไซต์ www.nia.or.th หรือ facebook.com/niathailand

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๖ กทม. ประเมินผล Lane Block จัดระเบียบจราจรหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ พบรถแท็กซี่-สามล้อเครื่องจอดแช่ลดลง
๑๗:๐๓ สมาคมประกันวินาศภัยไทย Kickoff การใช้ข้อมูล Non-Life IBS พร้อมส่งมอบรายงานข้อมูลสถิติในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยของประเทศ
๑๗:๓๖ 3 โบรกฯ ประสานเสียงเชียร์ ซื้อ SAV เคาะราคาเป้า 24-25 บาท/หุ้น คาดกำไร Q1/67 ทุบสถิติออลไทม์ไฮ รับปริมาณเที่ยวบินเพิ่ม เก็งผลงานทั้งปีโตเด่น
๑๗:๐๓ Minto Thailand คว้ารางวัล Best Official Account จาก LINE Thailand Award 2023
๑๗:๒๔ กทม. ตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ เตรียมพร้อมหน่วยเบสท์รองรับพายุฤดูร้อน
๑๗:๓๒ ไขข้อสงสัย.เมื่อซื้อแผงโซล่าเซลล์แล้วจะขนย้ายกลับอย่างไรให้ปลอดภัย โดย เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)
๑๖:๔๕ ไทเชฟ ออกบูธงาน FHA Food Beverage 2024 ที่สิงคโปร์
๑๖:๕๓ เนื่องในวันธาลัสซีเมียโลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย
๑๖:๓๕ EGCO Group จัดพิธีเปิดโรงไฟฟ้า EGCO Cogeneration (ส่วนขยาย) อย่างเป็นทางการ
๑๖:๒๖ เพลิดเพลินไปกับเมนูพิเศษประจำฤดูกาล: อาหารจากแคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี ที่ โวลติ ทัสคาน กริลล์ แอนด์ บาร์ โรงแรมแชงกรี-ลา