ทีเซลส์ (TCELS) จับมือร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ผลิตผลงานทางวิทยาศาสตร์สู่การพัฒนาประเทศสนองนโยบายรัฐ

พฤหัส ๐๖ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๒๖
ทีเซลส์ (TCELS) จับมือร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ผลิตผลงานทางวิทยาศาสตร์สู่การพัฒนาประเทศสนองนโยบายรัฐ ยกระดับมาตรฐานการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ในประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ทีเซลส์ (TCELS) จับมือร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ผลิตผลงานทางวิทยาศาสตร์สู่การพัฒนาประเทศสนองนโยบายรัฐ ยกระดับมาตรฐานการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ในประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ตอกย้ำความเชื่อมั่นถึงระบบการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยที่สามารถให้การรับรองผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพให้ออกสู่ตลาดโลกได้อย่างมั่นใจ เป็นที่ยอมรับด้านความปลอดภัยในระดับโลก

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ฝ่ายโปรแกรมบริหารเภสัชภัณฑ์และเซลล์บำบัด ร่วมกับศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ขับเคลื่อนงานด้านวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาประเทศ ด้วยการยกระดับมาตรฐานการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ตามหลักเกณฑ์ OECD GLP ในประเทศไทย หลังจากที่ทั่วโลกต่างตระหนักถึงมาตรฐานความปลอดภัยในการรับรองผลิตภัณฑ์สุขภาพในยุคการค้าเสรีที่มาตรฐานนั้นต้องเป็นไปตามหลักสากลที่ยอมรับร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้บริโภคและขจัดปัญหาการกีดกันทางการค้า (Non-Tariffs Barrier) ต่อสินค้าไทยที่ต้องการส่งไปขึ้นทะเบียนกับ อย.ในประเทศคู่ค้า รวมถึงคนไทยเองก็จะได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีข้อมูลความปลอดภัยที่ผ่านการรับรองและการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ด้วย

นางสาวทวีพร เกตุอร่าม ผู้อำนวยการโปรแกรมบริหารเภสัชภัณฑ์และเซลล์บำบัด กล่าวว่า "ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างหลากหลาย บนพื้นฐานของการนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาร่วมพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำประเทศไทยหลุดพ้น "กับดักรายได้ปานกลาง" (Middle Income Trap) และออกจากกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางให้ได้ในอนาคต อาศัยการนำงานด้านชีววิทยาศาสตร์มาช่วยสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์และขยายโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ตามนโยบาย 1. เตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่21, 2. ลดความเหลื่อมล้ำ และ 3. ขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้มั่นใจว่าโครงการ การยกระดับมาตรฐานการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ตามหลักเกณฑ์ OECD GLP ในประเทศไทยนั้น จะ

เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพในขั้นตอนของการวิจัย จนก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานออกสู่ตลาดได้จริง โดยมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รับรองความปลอดภัยของทุกผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในระดับสากล"

นางศิรินันท์ ทับทิมเทศ ผู้อำนวยการ ศนส. กล่าวว่า "สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) ได้จัดการอบรมวิชาการในหัวข้อ "OECD GLP Principles; Toxicological Pathology in Nonclinical Safety Assessment in Compliance with GLP" โดยได้รับเกียรติจาก Dr. Boo Hyon Kang วิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์จากบริษัท Chemon Inc. ประเทศเกาหลีใต้ มาบรรยายเกี่ยวกับการดำเนินงานในระบบห้องปฏิบัติการที่ดี Good Laboratory Practice (GLP) ตามหลักการสากล Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในหลักการที่เป็นระบบคุณภาพในระดับสากล และเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และเชี่ยวชาญในการทดสอบที่จำเป็นและขาดแคลน ในการจัดงานครั้งนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) โดยมีรอง ผวว. อช. เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม กล่าวต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรม การประชุมจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6-7 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 อาคารถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีนักวิจัย วว. และผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานภายนอกที่สนใจเข้าร่วมอบรมจำนวนประมาณ 80 คน"

นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ กล่าวว่า "ศนส. ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของผู้ประกอบการในการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ทั้งผลิตภัณฑ์ยา เครื่องสำอาง และวัสดุทางการแพทย์ จึงได้ดำเนินการยกระดับห้องปฏิบัติการทดสอบความปลอดภัยที่ไม่ได้ทำในมนุษย์ (Nonclinical study) ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ให้ได้รับการรับรองตามหลักการของ OECD GLP เป็นการเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยมาตรฐานการทดสอบที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้ เพื่อผู้ประกอบการจะสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการประกอบการขึ้นทะเบียน การที่ประเทศไทยมีห้องปฏิบัติการทดสอบความปลอดภัยที่ได้รับการรับรองตามหลักการ OECD GLP นั้นจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมและลดค่าใช้จ่ายในการส่งผลิตภัณฑ์ไปทดสอบยังต่างประเทศ"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา