เกษตรฯ แนะใช้แตนเบียนคุมศัตรูมะพร้าว

พฤหัส ๐๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๑:๔๑
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะเกษตรกรเพาะเลี้ยงและใช้แตนเบียนป้องกันกำจัดแมลงดำหนาม มะพร้าว

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า แมลงดำหนามมะพร้าวเป็นศัตรูมะพร้าวที่สำคัญ ทำลายมะพร้าวโดยกัดกินยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ยอดมะพร้าวชะงักการเจริญเติบโต หากการทำลายรุนแรง ทำให้ใบแห้งกลายเป็นสีน้ำตาล มองเห็นเป็นสีขาวโพลน ชาวสวนเรียกอาการหัวหงอก การป้องกันกำจัดแมลงดำหนามมะพร้าวโดยชีววิธี โดยการใช้แตนเบียน อะซีโคเดส (Asecodes hispinarum) และแตนเบียนเตตระสติคัส (Tetrastrichus brontispae ) เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อชาวสวนมะพร้าว ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญเกษตรกรที่มีความตั้งใจสามารถเพาะเลี้ยงแตนเบียนได้ด้วยตนเอง

แตนเบียนอะซีโคเดสทำลายแมลงดำหนามมะพร้าว โดยใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปวางไข่ในตัวหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว เมื่อไข่ของแตนเบียนฟักเป็นตัวหนอนจะดูดกินของเหลวภายในตัวหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว ทำให้เคลื่อนไหวช้า กินอาหารน้อยลงและตายในที่สุด หลังถูกเบียน 5-7 วัน หนอนที่ถูกเบียนตาย ลำตัวสีดำและแข็ง เรียกว่ามัมมี่ ส่วนลักษณะการทำลายแมลงดำหนามมะพร้าวของแตนเบียนเตตระสติคัสเหมือนกับแตนเบียนอะซีโคเดส เพียงแต่ แตนเบียนเตตระสติคัสทำลายหนอนวัย 4 หรือระยะดักแด้

สำหรับวิธีการเพาะเลี้ยงแตนเบียนอะซีโคเดส ทำได้โดยตัดใบมะพร้าววางในกล่องเบียน ใส่หนอนวัย 3 จำนวน 100 ตัว และพ่อแม่พันธุ์แตนเบียน (ได้จาก 5 มัมมี่) ที่ผสมพันธุ์แล้วประมาณครึ่งวันลงในกล่องเบียน ปิดฝากล่องซึ่งเจาะเป็นช่องบุด้วยผ้าตาข่าย ใช้กระดาษทิชชู

จุ่มน้ำผึ้งพอหมาดๆ ปิดบนฝากล่องบนผ้าตาข่าย เพื่อเป็นอาหารให้พ่อแม่พันธุ์แตนเบียน หลังจากหนอนถูกเบียน 7 วัน นำมัมมี่ล้างด้วยคลอร็อกซ์ 10 % ผึ่งให้แห้งสนิท นำไปปล่อยเพื่อควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าวในสวน โดยปล่อยไร่ละ 5-10 มัมมี่ 3- 5 ครั้ง ห่างกัน 7 - 10 วัน เมื่อควบคุมได้แล้วให้ปล่อยเพิ่มเป็นระยะ 5 - 6 ครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดใหม่ สำหรับแมลงดำหนามมะพร้าวที่นำมาใช้เลี้ยงแตนเบียน เกษตรกรควรเลี้ยงด้วยตัวเอง ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมการผลิต สามารถกำหนดปริมาณแตนเบียนและช่วงเวลาที่ต้องการ อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่พบการระบาดของแมลงดำหนามมะพร้าว เกษตรกรสามารถลดประชากรของแมลงดำหนามมะพร้าวและเพิ่มปริมาณแตนเบียน โดยใช้หนอนและดักแด้ในธรรมชาติมาใช้ในการผลิตแตนเบียน ส่วนไข่และ

ตัวเต็มวัย ให้นำมาเลี้ยง จนกระทั่งเป็นหนอนและดักแด้ที่จะนำมาใช้ในการผลิตแตนเบียนต่อไป

สำหรับเกษตรกรและผู้ที่สนใจเลี้ยงและใช้แตนเบียนป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว ตลอดจนชีววิธีต่าง ๆ ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน หรือร่วมเป็นสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) เพื่อรับทราบข่าวสารศัตรูพืชให้รู้เท่าทันสถานการณ์ และเรียนรู้วิธีการตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง