DITP เจาะ 3 ทริคเด็ด จากโครงการพัฒนานักส่งออกรุ่นใหม่ YELG ออกแบบแพคเกจจิ้งสำคัญอย่างไรถึงส่งออกได้

พฤหัส ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๖:๐๕
การออกแบบผลิตภัณฑ์ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการพัฒนาคุณภาพสินค้า รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ทันสมัย ยิ่งจะช่วยดึงดูดใจให้ลูกค้าอยากใช้สินค้า และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในที่สุด ปัจจัยหลักที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ ในการออกแบบ คือ แพคเกจจิ้งของสินค้าจะสามารถสร้างจุดขาย หรือเล่าเรื่องราวที่มาของสินค้า ให้เป็นที่เตะตากับลูกค้าได้อย่างไร ตลอดจนความสำคัญและเป้าหมายในการออกแบบแพคเกจจิ้ง ก็เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่จดจำ ด้วยความเรียบง่ายและเข้าถึงใจลูกค้าได้อย่างไร ประกอบกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หรือผู้ประกอบการท้องถิ่นนั้น ยังขาดความรู้และทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือสินค้าชุมชน ให้มีความน่าสนใจต่อสายตาชาวโลกได้อย่างไร หากต้องการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ

ล่าสุด กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DIPT) โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่(NEA) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาความรู้และทักษะการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการตั้งแต่ระดับฐานรากไปจนถึงผู้ประกอบการที่ต้องการทำการค้าระหว่างประเทศ จึงได้จัด "โครงการพัฒนานักส่งออกรุ่นใหม่ Young Exporter from Local to Global (YELG) ผลักดันให้สินค้าไทยบินไกลสู่ตลาดโลก" ในระยะที่ 1 จะเป็นการอบรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความพร้อมให้ผู้ส่งออกรุ่นใหม่มีศักยภาพที่จะสามารถส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลกได้ โดยมีการจัดอบรมหัวข้อ "ความสำคัญของการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับสินค้าส่งออก พร้อมกรณีศึกษาไทยที่ประสบความสำเร็จ" บรรยายโดย คุณสมชนะ กังวารจิตต์ PROMPT PARTNERS ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่การันตีด้วยรางวัลระดับโลก มาให้ความรู้เกี่ยวกับ "3 ทริคเด็ด ออกแบบแพคเกจจิ้งสำคัญอย่างไรถึงส่งออกได้" ดังนี้

1) สินค้าต้องตั้งชื่อให้โดน (Brand name) ในโลกใบนี้มีแบรนด์ดังหลายแบรนด์ และแต่ละแบรนด์ถูกวางขายแตกต่างกันแต่ละประเทศและชื่อไม่เหมือนกัน ตรงนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญ ว่าชื่อแบรนด์สินค้าของคุณอาจจะตรงใจ พอใจ แต่อาจจะวางขายบางประเทศแล้วไม่เกิดความเข้าใจ อาจเนื่องด้วยภาษาที่แตกต่างกัน เช่น เลย์ ถ้าไปออสเตรเลีย กลายเป็นชื่อสมิท หรือบางประเทศนั้นไม่อนุญาตชื่อนี้ อาจใช้แล้วไม่สุภาพ หลายๆ ครั้งดิสทิบิลเตอร์เขาจะมีความหมายที่สอดคล้องกับจริตประเทศนั้น ดังนั้นไปประเทศไหนเอาคนที่รู้จริงมาแปล หรือแนะนำการตั้งชื่อ การตั้งชื่อแบรนด์สินค้าถือเป็นเรื่องสำคัญว่าจะบ่งบอกถึงสิ่งที่เราขาย และสื่อสารสินค้าของเรากับผู้ซื้ออย่างไร จะสามารถสร้างการจดจำแบรนด์ในวงกว้างได้หรือไม่ วิธีการง่ายๆ คือ ตั้งชุดความคิดแบบง่ายๆ ขายอะไร อยากเล่าเรื่องราวอะไร และลองสุ่มเทสดูว่า ในกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง หากได้ยินชื่อที่ตั้งขึ้นทดสอบสัก 50 ชื่อ เวลาผ่านไป 3 วัน ลองกลับมาย้อนถามดูใหม่ หากจำชื่อไหนได้ นั้นหมายความว่า ชื่อแบรนด์นั้น มีประสิทธิภาพในตัวของมันเองอย่างสมบูรณ์แบบ

2) สร้างเรื่องราวให้ทัชใจลูกค้า (Storytelling) การเล่าเรื่องราว เราอยู่ในยุคที่นวัตกรรมที่หาได้ง่าย ความแตกต่างของสินค้าจะไม่มี เพราะงั้นหลายคนทำสินค้าเหมือนกัน เช่น ทุเรียนมีหลายเจ้า เป็นพันๆ เจ้า ดังนั้นไม่มีความแตกต่าง เรื่องที่จะขายได้ยุคนี้คือเรื่องเล่า จะขายทุเรียน คิดว่าจะเหมือนกันไหม จนไม่มีทางคิดว่าจะเหมือนไหม ก็เล่าเรื่องราว storytelling มี

อายุของมันระยะหนึ่ง แต่หลังจากนั้นจะต้องเปลี่ยน ตรงนี้ยังไม่มีใครเล่ามากเท่าไหร่ มันมีแบรนดที่เล่าก็จริงอยู่ แต่ในทุกแบรนด์ไม่เล่าอะไรเลย เราต้องเล่าเรื่องราวเบื้องต้นก่อนเพื่อเราจะได้ไปอยู่ในใจเขา

3) สื่อสารอย่าซับซ้อน ต้องง่ายและชัดเจน (Be Simple,Bold and Clear) สุดท้ายการสื่อสารอย่าซับซ้อน แต่ต้องแตกต่างเคลียร์ชัดเข้าใจง่าย ภาษาที่พูดเป็นสากล ไม่ต้องปรุงแต่งอะไรมากมาย เพราะในตลาดมีความวุ่นวายอยู่แล้ว ในตลาดมีแบรนด์ทุกคนหากเป็นแบบนี้ถ้าเราเป็นแบรนด์ใหม่ต้องทำตัวให้เรียบง่าย ยกตัวอย่าง แบรนด์ Raimaijon (ไร่ไม่จน) ทำน้ำอ้อยมาขาย สมัยแรกเริ่มทำขายเป็นระบบเฟรนไชส์ เพราะบริหารจัดการไม่วุ่นวายนัก แต่ขายได้ไม่มากเท่าไหร่ สิ่งแรกที่ต้องกลับมาคิดคือ แพคเกจจิ้ง น่าสนใจมากน้อยแค่ไหน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับน้ำอ้อยได้อย่างไร จึงได้ตัดสินใจช่วยกันคิดใหม่ ทำใหม่ โดยเริ่มเปลี่ยนขวด และเปลี่ยนโลโก้ก่อน เปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษหมด "RAIMAIJON" และ lobo type เป็นท่อนอ้อย และ 3 บรรทัดอ่านง่ายๆ ได้ logo ใหม่ พอบอกว่าต้องเป่าขวดเป็นเรื่องใหญ่ อยากได้รูปทรงต่อเป็นท่อนอ้อยได้ เพื่อต่อกันได้ จึงส่งไปเป่าขวด ทำเทสมาเพื่อต่อให้ได้ ต้องเทสหลายทีเพื่อให้ต่อกันให้ได้ พอทำมาแล้วจึงเริ่มมีโครงการหลายๆ โครงการนำไปออกบูธในไทย และหลายรายการโทรทัศน์นำไปเผยแพร่ ทำให้เป็นที่รู้จัก จากความน่าสนใจในตัวแบรนด์มากยิ่งขึ้น

นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือสถาบัน NEA กล่าวว่า "สถาบัน NEA ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะความสามารถให้กับผู้ประกอบการทุกระดับ และในทุกๆมิติ จะเห็นได้ว่า การจัดโครงการฝึกอบรมและสัมมนาต่างๆ ของสถาบัน และในโครงการพัฒนานักส่งออกรุ่นใหม่ Young Exporter from Local to Global (YELG) ผลักดันให้สินค้าไทยบินไกลสู่ตลาดโลก" ในระยะที่ 1 นั้น ถือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงเพิ่มทักษะและขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการได้มีโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้จากผู้ที่เก่ง ผู้ที่เชี่ยวชาญและมีความสามารถในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการไทย ในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้ก้าวไปสู่เวทีการค้าโลกได้อย่างสมภาคภูมิต่อไปในอนาคต"

ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและปฏิทินกิจกรรมได้ที่ nea.ditp.go.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1169 หรือ Facebook.com/nea.ditp

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud