“ประภัตร” เปิดบ้านศูนย์ขยายพันธุ์พืช จ.สุพรรณ เน้นใช้ตลาดนำการผลิต คัดสรรพันธุ์ดี เพื่อเพิ่มศักยภาพส่งออกพันธุ์พืช

ศุกร์ ๐๙ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๑๗:๑๔
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตขยายพันธุ์พืชและเปิดบ้านศูนย์ขยายพันธุ์พืช ณ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 9 ต.พลับพลาไชย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ว่า ศูนย์แห่งนี้มีภารกิจด้านการผลิตและขยายพันธุ์พืชพันธุ์ดี โดยกรรมวิธีด้านการเกษตรสมัยใหม่ เน้นการส่งต่อพืชพันธุ์ดีจากศูนย์ฯ สู่เกษตรกร เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยการดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของกองขยายพันธุ์พืช มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 13 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี และอุทัยธานี ซึ่งการดำเนินการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตขยายพันธุ์พืช ในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบสมัยใหม่ เน้นพันธุ์พืชพันธุ์ดีจากศูนย์ฯ สู่เกษตรกร เป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ภายในงานมีกิจกรรมการออกร้านจัดนิทรรศการจากหน่วยงานราชการ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน จัดจำหน่ายผักปลอดสารพิษ

"ปัจจุบันเกษตรกรยังไม่สามารถเข้าถึงพันธุ์ดี เนื่องจากยังมีราคาแพงในตลาด ซึ่งการคัดสรรพันธุ์ที่ดีจะนำมาซึ่งการลดต้นทุน การเพิ่มมูลค่า และการเพิ่มศักยภาพการส่งออกให้มากขึ้น และยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีพันธุ์พืชที่ดีใช้ตลอดฤดูกาล สิ่งสำคัญคือต้องหาตลาดรองรับ หรือใช้แนวทางตลาดนำการผลิต ในวันนี้จึงได้หาแนวทางช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น โดยศูนย์ฯ จะผลิตต้นพันธุ์ดีซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จากนั้นจะจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้กับศูนย์ฯ จำนวน 500 ครัวเรือนๆ ละ 100 ต้น รวม 50,000 ต้น ในราคา 20 บาท สำหรับพันธุ์ไม้ที่จะนำมาจำหน่าย อาทิ ดอกกระเจียว และสับปะรดสี เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรได้นำไปเพาะเลี้ยงต่อจนสมบูรณ์ต่อไป" นายประภัตร กล่าว

ทั้งนี้ การจัดตั้งศูนย์ขยายพันธุ์พืชทั้ง 10 แห่งทั่วประเทศ ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี บุรีรัมย์ มหาสารคาม ลำพูน พิษณุโลก และสุพรรณบุรี มีเป้าหมายเพื่อรองรับการผลิตและขยายพันธุ์พืชในชั้นพันธุ์ขยายและพันธุ์จำหน่ายไปสู่ กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ศูนย์พันธุ์พืชชุมชน Young Smart Farmer แปลงใหญ่ ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่มีความต้องการ ผ่านกลไกงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ และยังผลิตรองรับพืชเศรษฐกิจที่มีปัญหาโรคพืชแฝงติดไปกับต้นพันธุ์ เช่น ท่อนมันสำปะหลัง เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น