ฉลองครบรอบ 50 ปี ม.ศรีปทุม รับมอบพร้อมเปิดตัวต้นแบบ 'เรือนไม้ประหยัดพลังงาน’ JAPANESE TEA PAVILION มูลค่า 20 ล้านเยน

พุธ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๔:๔๐
พิธีส่งมอบและเปิดตัว อาคารไม้ญี่ปุ่น "JAPANESE TEA PAVILION" ต้นแบบ 'เรือนไม้ประหยัดพลังงาน' มูลค่า 20 ล้านเยน ศาสตร์สถาปัตยกรรมไม้แบบญี่ปุ่น ชูเทคโนโลยีวัสดุ Insulation กันความชื้น-ร้อน ลดการใช้พลังงาน รับเทรนด์บ้าน Eco สู่ความยั่งยืน
ฉลองครบรอบ 50 ปี ม.ศรีปทุม รับมอบพร้อมเปิดตัวต้นแบบ 'เรือนไม้ประหยัดพลังงาน JAPANESE TEA PAVILION มูลค่า 20 ล้านเยน

https://www.youtube.com/watch?v=qFyfDiMvCo0

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ยืนหนึ่งเรื่อง "เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง" รุดจับมือ Big Camera และ 7 แบรนด์ดีไซน์ชั้นนำระดับประเทศ สร้างนักศึกษามือโปร รองรับตลาดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ ตอบรับกระแสตลาดโตทะลุ 1 ล้านล้านบาท พร้อมเปิดตัว "ต้นแบบเรือนไม้ประหยัดพลังงาน - Japanese Tea Pavilion" ภายใต้รูปแบบการก่อสร้างและการเข้าไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ ผสานเข้ากับศาสตร์และนวัตกรรมลดใช้พลังงาน ตอบโจทย์รูปแบบการก่อสร้างและธุรกิจยั่งยืนในอนาคต ภายใต้ความร่วมมือครั้งสำคัญกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยประเทศญี่ปุ่น ผ่านการจัดตั้ง Wood training center ฝึกอบรม "ทักษะช่างไม้ในงานก่อสร้างแบบญี่ปุ่น" ทั้งรูปแบบหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว Dual Degree เพิ่มโอกาสนักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต่อยอดองค์ความรู้และขยายสู่เส้นทางวิชาชีพ โอกาสร่วมงานกับบริษัทออกแบบและก่อสร้าง ไทย – ญี่ปุ่น

ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า ในโอกาสครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้เดินหน้าขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยกับผู้ประกอบการภาคธุรกิจชั้นแนวหน้าระดับประเทศ ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน "เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง" โดยล่าสุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้จับมือกับ บริษัท Big Camera และ 7 แบรนด์ดีไซน์ชั้นนำระดับประเทศ ประกอบด้วย Deesawat, Divana, Labrador, Bathroom Design, Mobella, Greyhound และ Masaya มุ่งสู่ความก้าวหน้าของรูปแบบการศึกษายุคใหม่ ที่เน้นองค์ความรู้ควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ ทั้งเชิงวิชาการและวิชาชีพด้านการออกแบบ รวมไปถึงการพัฒนาธุรกิจที่สืบเนื่อง โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ ที่ในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญและมูลค่าทางเศรษฐกิจมากถึง ร้อยละ 5.61 ของ GDP โดยในปี 2560 มีมูลค่าถึง 1.4 ล้านล้านบาท ดังนั้น การที่นักศึกษาได้เรียนรู้ลงมือปฏิบัติจริง จะช่วยเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อความก้าวหน้าในวิชาชีพเมื่อจบการศึกษา

อาจารย์ธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ขณะเดียวกัน คณะสถาปัตยกรรม ยังได้ร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยจากประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย มหาวิทยาลัย Sugiyama, มหาวิทยาลัยวาเซดะ, มหาวิทยาลัย Kyukyus เมืองมิตซึเอะ จ.นาระ และภาคเอกชนประเทศญี่ปุ่น ในการพัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรม "ทักษะช่างไม้ในงานก่อสร้างแบบญี่ปุ่น" อันมีรูปแบบการก่อสร้างและการเข้าไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ ผสานเข้ากับศาสตร์และนวัตกรรมลดใช้พลังงาน ตอบโจทย์รูปแบบการก่อสร้างและธุรกิจยั่งยืนในอนาคต โดยร่วมกันจัดตั้ง Wood training center หลักสูตรระยะสั้นผ่านฝึกปฏิบัติ

โครงการสหกิจศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 4 เดือน และระยะยาวในรูปแบบ Dual Degree ถือเป็นโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาและผู้ที่สนใจด้านการก่อสร้างอาคารไม้ ในรูปแบบ Design Building ด้านการประหยัดพลังงาน ผู้เข้าร่วมโครงการจะมีความเชี่ยวชาญทางทักษะช่างไม้ และการออกแบบสถาปัตยกรรมไม้แบบญี่ปุ่น ได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะของไม้สนญี่ปุ่น คุณสมบัติ จุดเด่น ข้อจำกัดต่างๆ รวมถึงทักษะการผลิตชิ้นส่วน อาทิ การเตรียมไม้ การไสไม้ ตลอดจนการออกแบบโครงสร้าง พร้อมกันนี้ยังได้เรียนรู้นวัตกรรมและชิ้นส่วนอุปกรณ์ ที่ชาวญี่ปุ่นติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งสามารถต่อยอดและขยายสู่โอกาสทางวิชาชีพสถาปนิกที่มีทักษะเชี่ยวชาญเฉพาะทางในอนาคตได้อีกด้วย

ต้นแบบเรือนไม้ประหยัดพลังงาน - Japanese Tea Pavilion นี้ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยศรีปทุม ประกอบด้วย 2 อาคาร คือ อาคารศาลาพักผ่อน ซึ่งสามารถดัดแปลงเป็นบ้านเรือนพักอาศัยได้ และอาคารดื่มน้ำชา เพื่อสะท้อนถึงวัฒนธรรมการดื่มน้ำชาของญี่ปุ่น ที่ถือเป็นวัฒนธรรมสำคัญระดับโลก โดยนำเข้าไม้สนจากประเทศญี่ปุ่นนำมาก่อสร้างทั้งหมด ชื่อว่า "ไม้สุกิ" มีลักษณะพิเศษ คือมีกลิ่นหอมและมีคุณค่าเทียบเท่าไม้สักของคนไทย นอกจากนี้ตัวอาคารยังมีการติดตั้งนวัตกรรมและวัสดุที่น่าสนใจ ประกอบด้วย นวัตกรรมป้องกันแผ่นดินไหว อุปกรณ์ป้องกันปลวก แผ่นป้องกันเสียง ป้องกันความร้อนและความเย็น โดยใช้เทคโนโลยีวัสดุด้าน Insulation ที่ทำงานร่วมกับผนังได้เป็นอย่างดี และป้องกันทุกพื้นผิวตั้งแต่พื้น ผนัง ฝา ตอบโจทย์กระแสความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมก่อสร้างในปัจจุบัน ที่นอกจากความสวยงามของอาคารแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการลดใช้พลังงานตามเทรนด์ผู้บริโภคที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ลดการใช้ไฟฟ้า" อาจารย์ธีรบูลย์ กล่าว

นายสหรัฐ พหลยุทธ์ ศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ควบคุมการก่อสร้างต้นแบบเรือนไม้ประหยัดพลังงาน - Japanese Tea Pavilion กล่าวต่อว่า ความพิเศษของการออกแบบและก่อสร้างในครั้งนี้ คือการผสานองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการและวิธีการก่อสร้างอาคารไม้ญี่ปุ่นร่วมกับการก่อสร้างแบบไทย โดยเฉพาะวิธีการเข้ารอยต่อไม้โบราณแบบญี่ปุ่น ซึ่งต่างจากของไทยตรงที่สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้ตะปูยึด การปูพื้นไม้ให้ลงล๊อคได้โดยที่ไม่ต้องเลื่อยไม้ทิ้ง ผสมกับนวัตกรรมปัจจุบันที่ชาวญี่ปุ่นนำมาติดตั้ง ซึ่งมีทั้งแผ่นกันชื้น กันความร้อนช่วยลดผลกระทบจากสภาพอากาศที่แตกต่างสุดขั้วในฤดูหนาวและฤดูร้อน และแผ่นป้องกันปลวกศัตรูสำคัญของบ้านไม้ทั่วโลก ติดตั้งระหว่างคานปูกับพื้นไม้ให้มีช่องว่างอากาศถ่ายเทป้องกันปลวกกินเนื้อไม้ ขณะที่ในเชิงโครงสร้างของอาคาร มีการพัฒนาถึงขั้นทนต่อแรงสั่นสะเทือนเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว โดยติดตั้งอุปกรณ์ Sujikai หลังแผ่นยิปซั่มบอร์ด ซึ่งแม้ว่าในบ้านเราอาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีสร้างแบบเขาทั้งหมด แต่ก็มีเทคนิคที่สามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากันได้ และประยุกต์ออกมาให้สวยงามด้วยรูปแบบการผสมผสานที่ลงตัว

"ช่วงเวลาที่ได้ไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น มีโอกาสได้เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านแกะสลัก ทำมือ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลวก ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว ที่สนุกที่สุดคือการสร้างแบบจำลองและทำโมเดล โดยที่นั่นให้เราเรียนรู้วิธีสร้างบ้านไม้แบบญี่ปุ่นผสานกับการสร้างบ้านไม้แบบไทย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่การประมูลต้นไม้ รวมถึงติดตามทีมงานขึ้นไปดูการตัดไม้ เลือกไม้ แปรรูปไม้ ก่อนส่งกลับยังมหาวิทยาลัยศรีปทุม นำมาสร้างเรือนไม้ต้นแบบเพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงนวัตกรรมการก่อสร้างแบบญี่ปุ่น ซึ่งทุกอย่างเป็นระบบมากๆ และเมื่อกลับมายังประเทศไทยก็มีโอกาสได้เข้ามาช่วยควบคุมดูแลการก่อสร้างและให้คำแนะนำต่างๆ กับช่างก่อสร้างชาวไทย" นายสหรัฐ กล่าว

ด้าน ศ. ชิน มูราคามิ (Prof. Shin Murakami) ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย Sugiyama กล่าวเสริมว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการผสานองค์ความรู้ทางวิชาการครั้งสำคัญ ซึ่งสถาบันการศึกษาทั้งสองประเทศจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน โดยเฉพาะในด้านทักษะการออกแบบและการใช้ไม้ มาเป็นส่วนประกอบในงานสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะรายละเอียดการออกแบบงานไม้แบบญี่ปุ่นและแบบไทย ซึ่งทั้งสองศาสตร์ถือว่ามีเอกลักษณ์และเทคนิคที่สามารถนำมาประยุกต์เข้ากันได้ ช่วยให้โครงสร้างออกมาสวยงามเหมาะสมกับสภาพอากาศสภาพแวดล้อม ที่น่ายินดีคือเมื่อนักศึกษาที่จบจากโปรแกรมนี้ ยังมีโอกาสในอนาคตสำหรับการเข้าร่วมทำงานกับบริษัทก่อสร้างในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

ฉลองครบรอบ 50 ปี ม.ศรีปทุม รับมอบพร้อมเปิดตัวต้นแบบ 'เรือนไม้ประหยัดพลังงาน JAPANESE TEA PAVILION มูลค่า 20 ล้านเยน ฉลองครบรอบ 50 ปี ม.ศรีปทุม รับมอบพร้อมเปิดตัวต้นแบบ 'เรือนไม้ประหยัดพลังงาน JAPANESE TEA PAVILION มูลค่า 20 ล้านเยน ฉลองครบรอบ 50 ปี ม.ศรีปทุม รับมอบพร้อมเปิดตัวต้นแบบ 'เรือนไม้ประหยัดพลังงาน JAPANESE TEA PAVILION มูลค่า 20 ล้านเยน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา