แล้งนี้ไม่หวั่น ! 5 ข้อดี “โซลาร์ ปั๊ม” ช่วยเกษตรกรยิ้มร่า รับมือแล้งอย่างยั่งยืน

อังคาร ๐๕ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๕:๒๘
ปีนี้ “ภัยแล้ง” เข้ามาทักทายประเทศไทยรวดเร็วกว่าที่คิด สังเกตได้จากแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่แห้งขอด น้ำในเขื่อนที่มีปริมาณติดลบ ส่งผลกระทบต่อประชาชน ในแง่ของการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภค-บริโภค และภาคเกษตรกรรมที่ต้องใช้น้ำในการทำการเพาะปลูก-ปศุสัตว์
แล้งนี้ไม่หวั่น ! 5 ข้อดี โซลาร์ ปั๊ม ช่วยเกษตรกรยิ้มร่า รับมือแล้งอย่างยั่งยืน

ดังนั้น เพื่อบรรเทาความขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะภาคการเกษตร ให้มีน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อการทำประโยชน์ต่าง ๆ แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลแหล่งพลังงานไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มีโครงการพิเศษ “PEA พลังงานสะอาดเพื่อชุมชน” ช่วยให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน อย่างสะดวก-ยั่งยืน และประหยัด ผ่านการติดตั้ง “โซลาร์ ปั๊ม” (Solar Pump) ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมี 5 ข้อดี ดังนี้

มีปั๊มน้ำพลังงานสะอาดใช้ฟรีในชุมชน เพราะการติดตั้ง 'โซลาร์ ปั๊ม’ ในชุมชน เป็นการดำเนินการภายใต้ ส่วนงาน 'PEA ช่วยภัยแล้งด้วยพลังงานทดแทน’ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ตั้งใจให้เกษตรกร สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายครอบคลุมทุกขั้นตอน ทั้งการจัดหาวัสดุ การติดตั้ง และอื่น ๆ

หมดกังวลเรื่องแหล่งจ่ายไฟ เพราะแผงโซลาเซลล์ที่ใช้ร่วมกับระบบสูบน้ำในชุมชน เป็นแผงโซลาร์เซลล์ประเภทแยกอิสระ (Stand Alone System) ที่สามารถต่อเข้ากับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง และปั๊มน้ำแบบชักได้ เพื่อสูบน้ำจากแหล่งธรรมชาติ หรือน้ำบาดาลได้ทันที

มีน้ำใช้ทำการเกษตร-ปศุสัตว์แน่นอน เพราะการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ของ PEA ในขนาด 280-330 วัตต์ จะเริ่มตั้งแต่จำนวน 2 - 6 แผง สามารถสูบน้ำสำรองจากแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเฉลี่ย 2,000 – 5,000 ลิตร ดังนั้น ต่อให้แล้งเร็วหรือแล้งนานแค่ไหน เกษตรกรก็จะมีทรัพยากรน้ำใช้เพียงพออย่างแน่นอน

มีรายได้เพิ่มขึ้นช่วงหน้าแล้ง ต้องยอมรับว่า ผลผลิตทางปศุสัตว์-การเกษตรจะผลิดอกออกผลดีได้นั้น ขึ้นอยู่กับทรัพยากรน้ำ ดังนั้น เมื่อเกษตรกรมีน้ำใช้เพาะปลูกในปริมาณที่เพียงพอ ผลิตผลจะสมบูรณ์มีคุณภาพต่อตามความต้องการของตลาด ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นและสร้างความเท่าเทียมกันทางสังคม

มีแหล่งน้ำสะอาดสำหรับใช้สอยในชุมชน เพราะนอกจากการสูบน้ำเพื่อทำการเกษตร-ปศุสัตว์แล้ว โซลาร์ ปั๊ม ยังสามารถสูบน้ำ เพื่อกักเก็บไปยังถังเก็บน้ำของชุมชนสำหรับใช้อุปโภค-บริโภคได้ ซึ่งนำเป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างแหล่งน้ำสะอาด และการบริหารจัดการน้ำที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับชุมชนในการใช้น้ำร่วมกัน ถือเป็นการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

การติดตั้ง “โซลาร์ ปั๊ม” PEA ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ณ พื้นที่ต่าง ๆ จำนวนกว่า 77 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ซึ่งในปี 2563 นี้ PEA เตรียมเดินหน้าสำรวจความต้องการในแต่ละชุมชน พร้อมทั้งติดตั้ง 'โซลาร์ ปั๊ม’ สำหรับใช้อุปโภค-บริโภคภายในชุมชนอีก 10 แห่ง เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการให้บริการพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจเกี่ยวเนื่องของคนไทยอย่างแท้จริง

ผู้สนใจสามารถศึกษาหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโปรเจคพิเศษ “PEA พลังงานสะอาดเพื่อชุมชน” ได้ที่ www.pea.co.th (คลิก “ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า”) และเฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/Provincial.Electricity.Authority หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ PEA Call Center 1129

แล้งนี้ไม่หวั่น ! 5 ข้อดี โซลาร์ ปั๊ม ช่วยเกษตรกรยิ้มร่า รับมือแล้งอย่างยั่งยืน แล้งนี้ไม่หวั่น ! 5 ข้อดี โซลาร์ ปั๊ม ช่วยเกษตรกรยิ้มร่า รับมือแล้งอย่างยั่งยืน แล้งนี้ไม่หวั่น ! 5 ข้อดี โซลาร์ ปั๊ม ช่วยเกษตรกรยิ้มร่า รับมือแล้งอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๒๖ เม.ย. เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา