เอ็นไอเอ ถูกจัดอันดับให้เป็นห้องปฏิบัติการนวัตกรรมที่สำคัญของโลก จาก 90 แห่งทั่วโลก

ศุกร์ ๑๙ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๔๓
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในห้องปฏิบัติการนวัตกรรมของภาครัฐที่สำคัญของโลก หรือ The World Most Important Innovation Lab ซึ่งจัดทำโดย Apolitical Group องค์กรอิสระสากลในการพัฒนาเครือข่ายและบริการภาครัฐให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม โดยองค์กรดังกล่าวได้ระบุว่า NIA เป็นหนึ่งในศูนย์รวมความรู้และการให้คำปรึกษาและเป็นเสมือนห้องปฏิบัติการนวัตกรรมสำหรับประเทศไทยที่สำคัญ ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้ดำเนินกิจกรรมและโครงการในหลายมิติ เช่น การพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านโครงการย่านนวัตกรรม การส่งเสริมสตาร์ทอัพอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ดี การสำรวจห้องปฏิบัติการนวัตกรรมที่สำคัญของโลก ปัจจุบันมีทั้งหมดกว่า 90 แห่ง ใน 6 ภูมิภาค ประกอบด้วย ทวีปยุโรป 34 แห่ง อเมริกาเหนือ 29 แห่ง อเมริกากลางและอเมริกาใต้ 15 แห่ง โอเชียเนีย 8 แห่ง เอเชีย 6 แห่ง และตะวันออกกลางและแอฟริกากลาง 4 แห่ง

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ NIA ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นห้องปฏิบัติการนวัตกรรมของภาครัฐที่สำคัญของโลก (The World Most Important Innovation Lab) โดยการรวบรวมของ Apolitical Group ซึ่งเป็นองค์กรอิสระสากลในการพัฒนาเครือข่ายและบริการภาครัฐให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม โดยอาศัยกลไกห้องปฏิบัติการนวัตกรรม (Innovation Lab) เพื่อบริการภาครัฐ สาธารณะ และนโยบาย ทั้งนี้ Apolitical Group ได้ระบุว่า NIA เป็นหนึ่งในศูนย์รวมความรู้และการให้คำปรึกษาสำหรับประชาชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานรัฐ ที่ต้องการความรู้ทางด้านนวัตกรรม เพื่อใช้ขับเคลื่อนประเทศไทยที่สำคัญ เนื่องจากในปีที่ผ่านมา NIA ได้ดำเนินโครงการในหลายมิติ เช่น การพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านโครงการย่านนวัตกรรม (Innovation District) จำนวน 11 แห่ง ได้แก่ ย่านนวัตกรรมโยธี คลองสาน รัตนโกสินทร์ กล้วยน้ำไท ลาดกระบัง ปุณณวิถี ปทุมวัน บางแสน ศรีราชา พัทยา และอู่ตะเภา-บ้านฉาง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านโครงการ "FOUNDER APPRENTICE" ซึ่งเป็นกิจกรรมจับคู่นิสิต นักศึกษา และผู้ที่จบการศึกษาใหม่ กับกลุ่มผู้ประกอบการด้านธุรกิจนวัตกรรม 22 แห่ง เพื่อให้ได้ทดลองทำงานจริง ตลอดจนได้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะนวัตกรรมและสตาร์ทอัพอย่างเข้มข้น

นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการพัฒนาบริการภาครัฐโดยเปิดพื้นที่และโอกาสให้สตาร์ทอัพด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีภาครัฐ (Government Technology; GovTech) เข้ามาช่วยภาครัฐในการพัฒนาบริการสาธารณะให้ดีขึ้น ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการต่างๆ ของภาครัฐได้สะดวกขึ้น สร้างมิติใหม่แห่งการทำงานและบริการประชาชน โดยเน้น 7 ด้าน ได้แก่ 1. การพัฒนากำลังคนภาครัฐและการสื่อสารนโยบายสาธารณะ 2. การพัฒนาการท่องเที่ยวและส่งเสริมวัฒนธรรมและพื้นที่เรียนรู้ 3. การบริการสาธารณูปโภค 4. การอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ 5. รัฐบาลดิจิทัล 6. ความมั่นคงและการป้องกันประเทศ และ 7. การพัฒนาตลาดในประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาถือเป็นจุดเริ่มต้นการปลดล็อคการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างเป็นทางการ เป็นการทำให้เกิดพื้นที่สำหรับให้สตาร์ทอัพได้สาธิตสินค้าและบริการของตนเองให้กับหน่วยงานราชการ (sandbox) ควบคู่ไปกับการพัฒนาและปรับปรุงข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะนำไปสู่การจัดซื้อจัดจ้างสตาร์ทอัพของภาครัฐที่ช่วยให้กระบวนการง่ายขึ้น จากตัวอย่างโครงการต่างที่ NIA ได้ริเริ่มและดำเนินการมานี้ NIA จึงเปรียบเสมือนเป็นห้องปฏิบัติการนวัตกรรมสำหรับในประเทศไทย โดยในภูมิภาคเอเชียมีทั้งสิ้น 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ไต้หวัน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา และจอร์เจีย จึงนับว่าอีกหนึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่ได้รับการยอมรับด้านนวัตกรรมระดับสากล

"โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวของสังคมเมือง การก้าวเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ ตลอดจนการปฏิวัติทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นสิ่งขับเคลื่อนสังคมในสมัยปัจจุบัน ภาครัฐเองก็ต้องมีการปรับตัวให้ก้าวตามนวัตกรรมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน แนวคิดการสร้าง "ห้องปฏิบัติการนวัตกรรม" (Government Innovation Lab) จึงถูกนำมาใช้ ซึ่งก็คือแนวทางที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางโดยใช้กระบวนการคิดออกแบบเชิงสร้างสรรค์และอาศัยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดการต่อยอด สร้างมูลค่า กลายเป็นนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคม และในต่างประเทศได้มีการนำเอาแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการสร้างห้องปฏิบัติการนวัตกรรมในชื่อเรียกที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น Mind Lab ของประเทศเดนมาร์ก Helsinki Design Lab ของประเทศฟินแลนด์ Gov Lab ของประเทศสหรัฐอเมริกา Innovation Lab ของประเทศแคนาดา InnovationXchange ของประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น

อย่างไรก็ดี สำหรับห้องปฏิบัติการนวัตกรรมของภาครัฐที่สำคัญของโลก Lab ซึ่งจัดทำโดย Apolitical Group ปัจจุบันมีทั้งหมดกว่า 90 แห่ง ใน 6 ภูมิภาค ประกอบด้วย ทวีปยุโรป 34 แห่ง อเมริกาเหนือ 29 แห่ง อเมริกากลางและอเมริกาใต้ 15 แห่ง โอเชียเนีย 8 แห่ง เอเชีย 6 แห่ง และตะวันออกกลางและแอฟริกากลาง 4 แห่ง ดร.พันธุ์อาจ กล่าวสรุป

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02 – 0175555 เว็บไซต์ www.nia.or.th หรือ Facebook.com/NIAThailand

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๘ Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง