Heliatek สร้างสถิติโลกใหม่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสารอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพการแปลงพลังงาน 13.2%

จันทร์ ๐๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๔:๐๔
ทีมวิจัยและพัฒนาของบริษัท Heliatek ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสารอินทรีย์แบบหลายรอยต่อ (OPV multi-junction cell) ที่มีประสิทธิภาพการแปลงพลังงาน 13.2% นับเป็นสถิติใหม่ของโลกสำหรับการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้าโดยตรงโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสารอินทรีย์ โดยมี Fraunhofer CSP เป็นผู้ทำการทดสอบอย่างเป็นอิสระ

(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20160205/330129 )

เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสารอินทรีย์สามารถตอบสนองต่อแสงสลัวและอุณหภูมิสูงได้อย่างดีเยี่ยม ส่งผลให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ไม่ด้อยไปกว่าเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วไปที่มีประสิทธิภาพการแปลงพลังงาน 16-17% ในสภาพการใช้งานจริง

สถิติใหม่นี้ตอกย้ำถึงความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของ Heliatek ซึ่งเห็นได้จากความก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งในการพัฒนาประสิทธิภาพการแปลงพลังงานจาก 3% จนสูงกว่า 13% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และกำลังเดินหน้าสู่ 15% นอกจากนี้ สถิติใหม่ดังกล่าวยังเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงเทคโนโลยีอันโดดเด่นของ Heliatek ที่ใช้สุญญากาศในการทำให้โมเลกุลขนาดเล็กจับตัวกันบนฟิล์มพลาสติก

Dr. Martin Pfeiffer ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Heliatek กล่าวว่า "เรารู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งกับสถิติโลกใหม่นี้ ความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลพวงมาจากการวิจัยทางเคมีเพื่อคิดค้นวัสดุดูดซับสารอินทรีย์แบบใหม่ สำหรับกุญแจสำคัญของความสำเร็จในครั้งนี้คือ ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างทีมวิจัยและพัฒนาด้านฟิสิกส์และเคมีของเรา อันนำไปสู่การผสมผสานกันอย่างลงตัวของคุณสมบัติต่างๆของเซลล์แสงอาทิตย์รุ่นใหม่นี้"

"ผมมีความยินดีอย่างยิ่งกับการวัดผลครั้งล่าสุดนี้" Thibaud Le Seguillon ซีอีโอของ Heliatek กล่าวเสริม "ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าเราตัดสินใจถูกที่ทำการวิจัยและพัฒนาด้วยตัวเอง ทั้งการพัฒนาโมเลกุลตัวดูดซับใหม่ๆ และการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะเป็นรากฐานที่สำคัญของการผลิตในปริมาณมากต่อไป ผลิตภัณฑ์ HeliaFilm(R) ช่วยให้เราสามารถผลิตไฟฟ้าได้โดยตรงจากอาคารต่างๆทั่วโลกโดยไม่ก่อให้เกิดคาร์บอน"

เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำสถิติโลกใหม่นี้เป็นเซลล์แบบหลายรอยต่อที่มีตัวดูดซับ 3 ชนิดที่แตกต่างกัน โดยแต่ละชนิดทำหน้าที่แปลงคลื่นแสงสีเขียว คลื่นแสงสีแดง หรือคลื่นแสงที่อยู่ในช่วงใกล้อินฟราเรดที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 450-950 นาโนเมตรให้เป็นกระแสไฟฟ้า โมเลกุลตัวดูดซับนี้ได้รับการพัฒนาและจดสิทธิบัตรโดย Heliatek เป็นที่เรียบร้อย

สถิติใหม่นี้วัดโดยการจำลองแสงสว่างที่ AM 1.5 และยืนยันโดย Fraunhofer - Center for Silizium-Photovoltaik - CSP ในเมืองฮัลเล ซึ่งเป็นศูนย์ทดสอบประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ภายใต้เงื่อนไขการทดสอบที่ได้มาตรฐาน

ติดต่อ:

Cornelia Jahnel

Heliatek GmbH

Treidlerstr. 3, 01139 Dresden

โทร. +49-351-213-034-421

อีเมล: [email protected]

เว็บไซต์: http://www.heliatek.com

HeliaFilm(R) เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Heliatek GmbH

ที่มา: Heliatek

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา