ปัญหาพลังงาน พลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทนในประเทศไทย

จันทร์ ๒๗ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๕๐
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ปัญหาพลังงาน พลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทนในประเทศไทย" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14 – 16 มีนาคม 2560 จากประชาชน ทุกภูมิภาค กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัญหาพลังงาน พลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทนในประเทศไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่า ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาหลักของพลังงานในประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 21.60 ระบุว่า คนในชาติไม่ช่วยกันประหยัดพลังงาน รองลงมา ร้อยละ 18.16 ระบุว่า โครงสร้างราคาพลังงาน (ไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซ) มีราคาแพง เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิต หรือราคาตลาดโลก รวมไปถึงการขึ้นภาษีพลังงาน และการจัดเก็บกองทุนน้ำมัน ร้อยละ 17.60 ระบุว่า รัฐบาลขาดการบริหารจัดการที่ดี ขาดการตรวจสอบความโปร่งใส ร้อยละ 13.92 ระบุว่า เป็นระบบการผูกขาดทางการค้า การแทรกแซงทางการเมืองในธุรกิจพลังงาน เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนหรือพวกพ้อง ผ่านทางการสัมปทานแหล่งพลังงาน การแปรรูป ร้อยละ 10.40 ระบุว่า การผลิตพลังงานที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ร้อยละ 7.76 ระบุว่า เป็นการคัดค้านของชุมชนหรือกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในการสร้างแหล่งพลังงานใหม่ ๆ ร้อยละ 4.24 ระบุว่า เป็นการหาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ ๆ หรือการใช้พลังงานทางเลือก ร้อยละ 2.72 ระบุว่า กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน มีความซ้ำซ้อน ไม่ทันสมัย ร้อยละ 0.32 ระบุว่า ทุกข้อที่กล่าวมา และร้อยละ 3.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขณะที่ ร้อยละ 0.16 ระบุว่า ประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องของพลังงาน

ด้านการสนับสนุนกับการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.84 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 4.56 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

พลังงานลม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.48 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 13.60 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 3.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

พลังงานขยะ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.08 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 14.80 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 5.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

พลังงานชีวมวล (เช่น ก๊าซชีวภาพ ไบโอดีเซล พลังงานจากแกลบ เศษไม้ เศษเหลือจากวัสดุทางการเกษตร) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.64 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 4.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ พลังงานคลื่น/พลังงานน้ำ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.20 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 18.16 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 6.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

พลังงานถ่านหิน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.52 ระบุว่า ไม่สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 35.04 ระบุว่า สนับสนุน และร้อยละ 9.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

พลังงานนิวเคลียร์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.80 ระบุว่า ไม่สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 13.28 ระบุว่า สนับสนุน และร้อยละ 7.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนต้องการฝากบอกถึงรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดหาพลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.88 ระบุว่า ควรเร่งพัฒนา วิจัย จัดหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ ให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ สนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ลดการใช้พลังงานจากถ่านหิน ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ สร้างความมั่นคงทางพลังงาน รองลงมา ร้อยละ 21.97 ระบุว่า ควรกำหนดให้ปัญหาพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ เร่งปฏิรูปปัญหาพลังงาน มีนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจน เพิ่มการแข่งขันทางการตลาด ลดการผูกขาดด้านพลังงาน มีการบริหารจัดการที่เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและประเทศชาติ มีการจัดสรรพลังงานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ส่งเสริมหน่วยงาน ที่กำกับและดูแลด้านพลังงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 9.64 ระบุว่า พิจารณาต้นทุนและปรับปรุงโครงสร้างราคาพลังงาน เพื่อลดภาระประชาชนและผู้บริโภค ควบคุมการแทรงแซงราคาน้ำมันและพลังงาน

ร้อยละ 7.18 ระบุว่า ควรมีการแจ้งข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชน เกี่ยวกับพลังงาน และเน้นรณรงค์ ให้ประชาชนรู้จักการใช้พลังงานอย่างประหยัด ร้อยละ 6.50 ระบุว่า ควรมีการตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของกิจการพลังงาน เพื่อป้องการทุจริตคอร์รัปชัน การแสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อน ลดการแทรกแซงทางการเมือง และร้อยละ 5.83 ระบุว่า ควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม กรณีการจัดสร้างแหล่งพลังงานหรือโรงไฟฟ้า ผ่านการทำประชาพิจารณ์ พิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม และควรมีการเตรียมการรับมือในกรณีสถานการณ์ฉุกเฉิน

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.80 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ตัวอย่างร้อยละ 24.96 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.24 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.36 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.64 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 57.60 เป็นเพศชาย ร้อยละ 42.32 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 6.80 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 15.04 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 25.68 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.48 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 16.64 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุอายุ

ตัวอย่าง ร้อยละ 93.12 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.64 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.80 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 23.44 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 70.96 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.92 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 25.12 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.24 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.56 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.24 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.84 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.00 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 13.36 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.56 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 24.48 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.80 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.52 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 14.32 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.04 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.92 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 14.16 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.28 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 13.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 9.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 10.56 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือนมากกว่า มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 7.20 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา