ภาครัฐฯ ให้ความสำคัญสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์เต็มกำลังหนุนเอกชนให้ความรู้ จัดสัมมนาการบริหารซอฟต์แวร์ครั้งใหญ่ส่งท้ายปี

อังคาร ๓๐ ตุลาคม ๒๐๐๑ ๑๐:๑๖
กรุงเทพฯ--30 ต.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (ECID), สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI), สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย (ATCI) และกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (BSA) ร่วมมือให้ความรู้ความเข้าใจการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีใบอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมประกาศให้เวลาตรวจสอบระบบไอทีในองค์กรผ่อนผันการปราบปรามเป็นระยะเวลา 2 เดือน ซึ่งจะช่วยให้แต่ละ องค์กรมีเวลาในการเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฏหมายโดยปราศจากความกังวลเกี่ยวกับกิจกรรม การปราบปรามใดๆ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน ศกนี้ไปจนถึงวันที่ 5 มกราคมศกหน้า
มาตรการผ่อนผันการปราบปราม ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 2 ส่วนด้วยกันคือ การส่งไดเร็กเมล์ไปยังองค์กรธุรกิจและภาครัฐ มากกว่า 30,000 ฉบับ เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงความสำคัญของซอฟต์แวร์ในฐานะทรัพย์สินขององค์กร พร้อมทั้งแนะนำให้มีการตรวจสอบระบบไอทีเพื่อให้สามารถควบคุมการใช้งานระบบไอทีอย่างถูกต้องและปลอดความเสี่ยง และอีกกิจกรรมหนึ่งก็คือ การจัดสัมมนาความรู้เรื่อง "การจัดการทรัพย์สินประเภทซอฟต์แวร์ (Software Asset Management - SAM)" ซึ่งเป็นการเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการซอฟต์แวร์ในฐานะทรัพย์สินทางธุรกิจ และการบริหารจัดการด้านซอฟต์แวร์อย่างเหมาะสมจัดเป็นหลักปฏิบัติทางธุรกิจอย่างหนึ่ง งานสัมมนาครั้งนี้มุ่งไปที่การกระตุ้นให้องค์กรธุรกิจไทยได้นำความรู้ที่ได้จากการสัมมนาครั้งนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้จะเป็นการก่อให้เกิดการให้ความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญาและเป็นการสนับสนุนภูมิปัญญาไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
"มาตรการผ่อนผันการปราบปรามการละเมิดการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีใบอนุญาตให้ใช้สิทธิ์อย่างถูกต้องภายในองค์กร ซึ่งกำหนดให้อยู่ในระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2545 โดยในระหว่างนั้นองค์กรต่างๆ จะมีเวลาในการตรวจสอบระบบไอทีในองค์กรว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่นั้นมีใบอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ถูกต้องหรือไม่ อีกทั้งยังเป็นโอกาสดีที่จะทำการแก้ไขและปรับเปลี่ยนการใช้ซอฟต์แวร์ภายในองค์กรให้ถูกต้องตามกฎหมาย" พล.ต.ต. เอกรัตน์ มีปรีชา ผู้บังคับการ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ กล่าวและเสริมว่า "โดยกิจกรรมด้านการปราบปรามซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายในองค์กรธุรกิจจะถูกระงับลงเป็นการชั่วคราว และหลังจากการสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว การดำเนินมาตรการปราบปรามอย่างเต็มรูปแบบจะเริ่มต้นอีกครั้ง"
"ปัจจุบันประเทศไทยมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถทัดเทียมกับต่างชาติอยู่ประมาณ 20,000 คน ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยประมาณปีละ 23,000 ล้านบาท และคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้านี้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยจะสามารถสร้างรายได้เพิ่มเป็น 90,000 ล้านบาท ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยหลักหลายประการคือ บุคลากรที่มีคุณภาพ ระบบการบริหารที่เหมาะสม การวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเงินทุนในการพัฒนาซึ่งมาจากการลงทุนของภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตามด้วยอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยที่มีสูงถึง 79 เปอร์เซ็นต์ โอกาสที่จะเกิดการลงทุน การสร้างงาน การพัฒนาบุคลากรและอื่นๆ ก็จะน้อยลงหรือไม่เกิดขึ้น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยจะสูญเสียโอกาสในการที่จะพัฒนาและเติบโตในเวทีการค้าโลก ซึ่งเราคนไทยมีความสามารถไม่ด้อยกว่าต่างชาติเลย ความร่วมมือระหว่างกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ, ATCI, ATSI และ BSA เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่มุ่งหวังที่จะสร้างความเคารพ ความเข้าใจในการใช้ซอฟต์แวร์อย่างถูกต้อง" คุณอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ ประธาน สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยกล่าว
"ในช่วงระยะเวลาผ่อนผันดังกล่าว กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ, ATSI, ATCI และ BSA จะร่วมกันจัดงานสัมมนาฟรีในหัวข้อเรื่อง "การจัดการทรัพย์สินประเภทซอฟต์แวร์ (Software Asset Management)" เพื่อส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีใบอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ในฐานะที่เป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งของบริษัท และการใช้ใบอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย งานสัมมนาดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน ศกนี้ ณ ห้องบอลล์รูม โรงแรมแชงกรีล่า กรุงเทพฯ" พล.ต.ต. เอกรัตน์ มีปรีชา ผู้บังคับการ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ กล่าวเสริม
ข้อมูลเกี่ยวกับกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ
กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (บก.สศก.) มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามบทกฎหมายอื่นอันเป็นความผิดคดีอาญาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจทั่วราชอาณาจักร ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการด้านการป้องกันและปราบปรามการประกอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ติดต่อประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและปราบปรามการประกอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อมูลเกี่ยวกับสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย
สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย (ATCI) ก่อตั้งขึ้นในปี 1989 เพื่อร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ ในการส่งเสริมธุรกิจคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ โดยรวมคือ ส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมถึงการค้าผลิตภัณฑ์ บริการ และการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ประชาชน และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขอุปสรรคขัดข้อง ระหว่างเอกชนและหน่วยงานราชการ ในการพัฒนาอุต-สาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย ส่งเสริมและเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสาร-สนเทศ (IT) และพัฒนาบุคลากรเพื่อความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม IT ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การค้าและการวิจัยทางด้านสารสนเทศ ระหว่างมวลสมาชิก และผู้สนใจ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ แก่สมาชิก ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กร และสมาคมวิชาชีพที่มีวัตถุประสงค์แนวเดียวกันกับสมาคมฯ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และความเห็นที่เป็นประโยชน์แก่มวลสมาชิกและมวลชน เพื่อความรู้และการดำเนินนโยบาย กิจกรรมสำคัญของสมาคมฯ คือ การจัดนิทรรศการคอมพิวเตอร์ประจำปี ซึ่งปัจจุบันได้กลายมาเป็นงาน IT Trade ซึ่งเป็นงานสำคัญระดับชาติในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ รวมถึงการสัมมนาความรู้ และความก้าวหน้าของวงการสารสนเทศให้แก่ผู้สนใจและมวลชน
ข้อมูลเกี่ยวกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย
สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ประกอบการพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย ซึ่งมีหน้าที่ในการผลักดันนโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ด้านการตลาด, ด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน และการบริหาร ด้านการสนับสนุน ด้านตลาดอุตสาหกรรมและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อนำอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเข้าสู่ระดับนานาชาติ
ข้อมูลเกี่ยวกับบีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) เป็นตัวแทนของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำของโลกในการ ปกป้องและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั่วโลก บีเอสเอได้จัดกิจกรรมเพื่อให้การอบรมแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ถึงปัญหาที่เป็นผลกระทบต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ส่งเสริมโอกาสทางการค้าผ่านทางนโยบายของภาครัฐและดำเนินการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ของสมาชิกของบีเอสเอ สมาชิกของบีเอสเอเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับประเทศและทั่วโลก ได้แก่ แอ็คแทร็ก21 (AccTrak21), อะโดบี, แอปเปิล, ออโต้เดสก์, เบนท์เลย์ ซิสเต็มส์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์ อิงค์, คอเรล คอร์ปอเรชั่น, อินไพรส์, โลตัส ดีเวลลอปเมนท์, มาโครมีเดีย, ไมโครซอฟท์, เน็ตเวิร์ค แอสโซเอทส์, โนเวลล์, ไซแมนเท็ค และวิสซิโอเป็นต้น ส่วนที่ปรึกษาทางด้านนโยบายของบีเอสเอประกอบด้วยบริษัทต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นรวมถึง คอมแพค, ไอบีเอ็ม, อินเทล, อินทูวิท และไซเบสด้วย
นอกจากนี้ บีเอสเอยังมีสมาชิกและได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมาคมซอฟต์แวร์และบริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคด้วย สำหรับในประเทศไทยบีเอสเอได้ร่วมมือกับสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณปราณี เฉลิมธนศักดิ์
บริษัทพีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
โทรศัพท์: 0 2971 3711 โทรสาร: 0 2521 9030
อีเมล์: [email protected]
เยี่ยมชม Website BSA ได้ที่ www.bsa.org-- จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง