TIFFA บริษัทผู้ให้บริการ EDI จับมือพันธมิตรขยายธุรกิจ EDI

ศุกร์ ๑๓ ตุลาคม ๒๐๐๐ ๑๒:๔๔
กรุงเทพฯ--13 ต.ค.--ทิฟฟ่า อีดีไอ เซอร์วิสเซส
TIFFA บริษัทผู้ให้บริการ EDI ผนึกเอ็กซ์ทรีม ซิสเต็มส์ดึงซีเอสอินเทอร์เน็ตเปิดบริการใหม่ EDI Application Hosting ผ่านเว็บไซต์ thaitradesolution.com ซึ่งเป็นบริการ EDI แบบใหม่ที่นำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ กลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ธุรกิจ SME ตั้งเป้าสิ้นปีมีผู้ใช้บริการกว่า 50 ราย
ระบบ EDI (Electronic Data Interchange) เป็นระบบการจัดการเอกสารระหว่างบริษัทผู้ค้าปลีกผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซ และจะนำไปสู่การทำงานแบบไร้กระดาษในอนาคต จากบริการ EDI ในรูปแบบเดิม (Traditional EDI) ผู้ใช้บริการต้องซื้อซอฟท์แวร์จากผู้ให้บริการ EDI มาติดตั้งในองค์กรซึ่งมีความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายสูง แต่ในระบบ EDI Application Hosting ผู้ใช้สามารถทำงานผ่านโปรแกรมบราวซ์เซอร์ได้ทันที
อนุสรณ์ หล่อวิจิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทิฟฟ่า อีดีไอ เซอร์วิสเซส จำกัด เผยถึง การขยายธุรกิจ EDI แบบดั้งเดิมมาเป็น Internet EDI ซึ่งทางซีเอสมีความพร้อมในด้านการบริการเพราะมีเครือข่ายครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด จึงตกลงจับมือเป็นพันธมิตรกัน ส่วนทางด้านเอ็กซ์ทรีมจะจัดการทางด้านแอพพลิเคชั่น รวมไปถึงเว็บไซต์ thaitradesolution
สุธีร์ สธนสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซ์ทรีม ซิสเต็มส์ จำกัด กล่าวถึง ระบบ EDI Application Hosting ว่าเป็นบริการแนวใหม่ที่ผู้ใช้งานสามารถใช้บริการผ่านบราวซ์เซอร์แต่จะต้องเป็นลูกค้าจากซีเอสอินเทอร์เน็ตเท่านั้นส่วนผู้ที่ใช้บริการไอเอสพีรายอื่นยังไม่สามารถใช้บริการนี้ได้ ค่าบริการในการสมัครจะยกเว้นจนถึงสิ้นปีนี้จากปกติเรียกเก็บในราคา 1,200 บาท ส่วนค่าบริการต่อทรานสแอ็คชั่นอยู่ที่ 25 บาท โดยรายได้ทั้งหมดทางเอ็กซ์ทรีมจะได้ส่วนแบ่งมากกว่า และทางซีเอสกับทิฟฟ่าจะได้ส่วนแบ่งเท่ากัน กลุ่มลูกค้าขณะนี้เป็นบริษัทที่ได้รับการแนะนำจากทางสยามจัสโก้ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 5 ราย กลุ่มเป้าหมายปัจจุบันมุ่งไปยังกลุ่มผู้ผลิตสินค้าขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากและในอนาคตจะขยายตลาดสู่กลุ่มบริษัทขนส่งทางเรือต่อไป
บริการขณะนี้ยังอยู่ในส่วนของการจัดการใบสั่งซื้อสินค้าและใบแจ้งหนี้เท่านั้น ทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยจะมีทั้งการเช็ครหัสผ่าน ระบบไฟร์วอลล์สองชั้นรวมถึงการเข้ารหัสข้อมูล และข้อสำคัญผู้ใช้บริการจะมีฐานข้อมูลในการจัดเก็บเอกสารแยกกันเป็นส่วนตัวเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่เป็นความลับ
อนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซี.เอส. คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด กล่าวสรุป ถึงบทบาทของทางซีเอสว่ามีหน้าที่ในการบริการด้านอินเทอร์เน็ตแก่องค์กรต่างๆ ทั้งองค์กรเอกชน และองค์กรของรัฐ โดยทางซีเอสหวังว่าโครงการนี้จะเป็นการกระตุ้นให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น ส่วนในอนาคคถ้าทางทิฟฟ่า หรือเอ็กซ์ทรีมต้องการขยายบริการไปยังผู้ใช้ไอเอสพีรายอื่น ก็ไม่มีปัญหา--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๒ คณะ กิจกรรม วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน
๑๖:๐๖ กรุงศรีออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือนตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย
๑๖:๒๙ Lexar Professional CFexpress 4.0 Type B Card DIAMOND คว้ารางวัล BEST STORAGE MEDIA ในงาน TIPA WORLD AWARDS
๑๖:๔๔ ฟอร์ติเน็ต ร่วมมือ สกมช. คัดเลือก-ฝึกอบรมเสริมทักษะบุคลากรคลาวด์ เล็งเพิ่มทรัพยากรบุคคล เสริมความมั่นคงปลอดภัยบนคลาวด์ทุกรูปแบบ
๑๖:๒๙ ไอ-เทล รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรก แข็งแกร่งด้วย รายได้กว่า 4 พันล้าน กำไรเพิ่ม 93 เปอร์เซ็นต์ มุ่งการเติบโตต่อเนื่องตลอดปี
๑๖:๒๒ หมอแม็ค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมของไทย
๑๖:๐๗ ทรูเวฟ (ประเทศไทย) เปิดตัว GreenFarm.AI ผู้ช่วยคนใหม่ที่จะทำให้สวนเติบโตสวยและยั่งยืนได้ดั่งใจ
๑๖:๕๐ ไบเทคบุรี เมกะโปรเจกต์ของภิรัชบุรี กรุ๊ป พลิกโฉม ไบเทค บางนา ก้าวข้ามอุตสาหกรรม MICE สู่สถานที่แห่งไลฟ์สไตล์ครบวงจร
๑๖:๕๒ ดีมันนี่ ตอกย้ำความสำเร็จในงาน Money 20/20 Asia ในฐานะผู้บุกเบิกโซลูชัน โอนเงินไปต่างประเทศชั้นนำในวงการฟินเทคไทย
๑๖:๕๔ สบยช. ยืนยัน ชาเม่ คอลลาเจน ไม่มีสารเสพติด