สำนักรักษาความสะอาดสำรวจความคิดเห็นการจัดทำแผนแม่บทจัดเก็บมูลฝอยของกทม.

ศุกร์ ๑๒ มกราคม ๒๐๐๑ ๐๙:๕๑
กรุงเทพฯ--12 ม.ค.--กทม.
ที่สำนักรักษาความสะอาด ศาลาว่าการ กทม.2 ดินแดง เมื่อวานนี้ (11 ม.ค.44) เวลา 10.00 น. นายพิชัย ไชยพจน์พานิช ผู้อำนวยการสำนักรักษาความสะอาด กทม.เปิดเผยถึงผลสรุปการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ในโครงการจัดทำแผนแม่บทการจัดเก็บมูลฝอยของกรุงเทพมหานครว่า สำนักรักษาความสะอาดได้ทำการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10,000 คนจากเขตต่างๆทั้ง 50 เขต ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นชาย 60.9 % เป็นหญิง 39.1 % ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-40 ปี การศึกษาในระดับประถม อาชีพค้าขาย มีจำนวนสมาชิก ในครอบครัว 1-5 คน และมีรายได้ระหว่าง 10,000-20,000 บาท จากการสัมภาษณ์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจกับการให้บริการเก็บขนขยะของกรุงเทพมหานครคิดเป็น 78.6 % ไม่พึงพอใจ 20.6 % และไม่ออกความเห็น 0.8 % โดยความไม่พึงพอใจมีสาเหตุมาจากพาหนะของกรุงเทพมหานครที่ใช้ในการเก็บขนฯ ไม่เหมาะสม จำนวนครั้งในการเก็บน้อยเกินไป ความถี่ในการเก็บไม่แน่นอน และเวลาในการเก็บไม่เหมาะสม ตามลำดับ
ส่วนภาชนะที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการรองรับขยะอันดับหนึ่ง คือ ถุงพลาสติก รองลงมาคือ ถังพลาสติก/ถังเหล็กมีฝาปิด และถังไม่มีฝา กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการแยกขยะ เรียงลำดับ ดังนี้ อันดับหนึ่ง การบริจาคเสื้อผ้าหรือสิ่งของเก่า รองลงมาคือการใช้ซ้ำ แยกทิ้งขยะตามถังที่จัดไว้ การใช้สินค้าจากวัสดุรีไซเคิล และการขายสินค้าให้ซาเล้งตามลำดับ
นายพิชัย กล่าวอีกว่า สำหรับความรู้เรื่องโครงการแยกขยะก่อนทิ้งเพื่อลดปริมาณขยะของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า 90.3% ทราบว่า มีการประชาสัมพันธ์โครงการฯ นอกจากนั้นส่วนใหญ่ (71.6 % ) มีส่วนร่วมกับโครงการฯ โดยการแยกขยะใส่ถุงพลาสติก ส่วนผู้ที่ไม่มีส่วนร่วม คิดเป็น 27.8 % เนื่องจากเห็นว่าการแยกขยะทำให้เกิดความยุ่งยากเสียเวลา และคนงานของกรุงเทพมหานครมีการเก็บขยะรวมไม่ได้แยกเก็บ ความเข้าใจเกี่ยวกับสีของถังขยะของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ (90.1 %) มีความเข้าใจดี และยินดีที่จะให้ความร่วมมือแยกทิ้งขยะตามสีถัง 88-91 % การจัดการขยะของเมืองใหญ่ กลุ่มตัวอย่าง 23.5 % เห็นด้วยกับการดำเนินการจัดการขยะในพื้นที่ของตนเอง และอีก 65.6 % เห็นด้วยโดยมีเงื่อนไขให้มีมาตรการป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยในการจัดการขยะในพื้นที่ของตนเองมีอยู่ 10.9 %
การปรับปรุงการจัดเก็บค่าธรรมเนียม 72.9 % เห็นด้วยที่จะให้มีการขึ้นค่าธรรมเนียม โดยให้มีการปรับปรุงระบบการเก็บขยะ และระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ส่วนอีก 26.3 % ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ยังพบว่าอัตราค่าธรรมเนียมที่กลุ่มตัวอย่างยินดีจะจ่ายมากที่สุดคือ 20-40 บาท/เดือน รองลงมาคือ 41-60 บาท/เดือน และ 61-80 บาท/เดือน ตามลำดับ ส่วนวิธีการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ควรเก็บจากย่านธุรกิจให้มากกว่าบ้านพักอาศัย และเก็บค่าธรรมเนียมตามปริมาณขยะ--จบ--
-นศ-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน