กรุงเทพมหานครจะจัดอบรมให้ประชาชนใช้แก๊สหุงต้มอย่างถูกวิธี

จันทร์ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๑ ๑๐:๔๕
กรุงเทพฯ--12 ก.พ.--กทม.
ที่ศาลาว่ากรุงเทพมหานคร น.พ.ปิยเมธิ ยอดเณร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมพิจารณาแนวทางที่ทำให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้แก็สหุ้งต้ม โดยมี น.พ.กฤษณ์ หิรัญรัศ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม.นายสมบรูณ์ อานิกวงศ์ชัย ผู้ตรวจราชการ 10 นายธงชัย สัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองอนามัยสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วยกองบังคับการตำรวจดับเพลิง กองบัญชาการตำรวจนครบาล , กรมโยธาธิการ ,การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย, บริษัทเวิลด์แก็ส (ประเทศไทย) จำกัด,บริษัท ยูนิคแก็ส จำกัด,บริษัท อุตสาหกรรมแก็สสยาม จำกัด, บริษัทอุตสาหกรรมแก็สยูเนียน จำกัด และผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุม
รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีความเห็นพ้องกันว่า ควรให้ความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยจากการใช้แก็สหุงต้มแก่ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องกับการใช้แก็สหุ้งต้ม โดยประมาณกลางเดือนมีนาคม ศกนี้จะจัดให้มีการอบรมแก่ประชาชนผู้ที่ใช้แก็ส ผู้ประกอบการค้าแก็ส ผู้ทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารบนโต๊ะอาหารบนบาทวิถี แต่ก่อนจัดอบรมดังกล่าว คือ ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ศกนี้ กทม.ร่วมกับกรมโยธาธิการ , บริษัทค้าแก็ส, กองบังคับการตำรวจดับเพลิง จะจัดอบรมวิทยากรของกรุงเทพมหานครก่อนซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม 2 คน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนอีก 1 คน จากทั้ง 50 สำนักงานเขตและผู้เกี่ยวข้องรวมประมาณ 200 คน เพื่อจะได้นำความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้แก็สอย่างถูกวิธี การป้องกันและระงับเหตุเมื่อเกิดอุบัติภัยจากการใช้แก็ส ฯลฯ ไปถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง อย่างไรก็ดี มาตรการต่างๆที่ราชการออกกฎหมายไปนั้นก็เพราะความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ส่วนการจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีที่ใช้แก็สหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงนั้น ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า หากสถานที่ดังกล่าวเป็นที่เปิดโล่งก็อาจจะอนุโลมให้ใช้ได้หรือหากจำเป็นจริงๆ ก็จะให้เปลี่ยนไปใช้เตาชนิดอื่น สำหรับการประกอบอาหารในร้านหรือห้องอาหาร ต้องตั้งวางถังแก็สและเตาให้ห่างกัน 2 เมตรตามที่กฎหมายกำหนดไว้
รองปลัดกทม.กล่าวอีกว่าสำหรับแก็สปิกนิค ที่ประชาชนใช้กันอยู่ตามบ้านเรือนหรือใช้ปรุงอาหารเป็นประจำวันนั้น เป็นการใช้ผิดประเภท เพราะทางบริษัทผู้ประกอบการแจ้งว่าแก็สประเภทนี้เป็นการใช้ชั่วครั้งชั่วคราว หรือเป็นการผลิตมาเพื่อให้แสงสว่าง ส่วนร้านจำหน่ายสุกี้นั้น กทม.ได้ออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครบังคับแก่สถานประกอบการดังกล่าวไว้ด้วย โดยกทม. แนะนำให้ผู้ประกอบการใช้เตาแบบไฟฟ้า ส่วนบางรายที่ใช้แก็สก็ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้--จบ--
-นศ-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๔๒ แพทย์จุฬาฯ ร่วมมือกรมแพทย์แผนไทย วิจัยพิสูจน์ยาขมิ้นชันองค์การเภสัชกรรม รักษาโรคกระเพาะอาหารได้เทียบเท่ายาลดกรดแผนปัจจุบัน
๑๐:๕๗ ม.มหิดลคิดค้นสาร'ไฮโดรคอลลอยด์'จาก'กากยีสต์โรงงานเบียร์' เพิ่มคุณค่า'เบต้ากลูแคน'ลดปัญหา'ขยะล้นโลก'
๑๐:๒๖ 'ออโต้ ไดรฟ์ อีวี' ผนึก 'แกร็บ' หนุนคนขับแท็กซี่ใช้รถ EV ตั้งเป้าดันแท็กซี่ไฟฟ้า 2,000 คันให้บริการภายในปี
๑๐:๓๗ NRF คว้ารางวัลระดับโลก จากเวที Global Brand Awards 2024 สาขา Most Innovative Sustainable Food Producer
๑๐:๔๙ อโกด้าเผยเขาหลัก โซล และเกาะเปอร์เฮนเทียนคือจุดหมายยอดนิยมของคนชอบเที่ยวแบบไม่เร่งรีบ
๑๐:๓๙ วัตสันเดินหน้า รุกขยายสาขา พร้อมเปิดตัว Greener Store แห่งแรกของประเทศไทย มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน
๑๐:๑๙ ม.มหิดลฝึกทักษะผสมผสาน Lean Design Thinking เสริม SDGs ลดต่าง ด้วย'ตัวต่อเสริมจินตนาการ'
๑๐:๕๖ เอบีม คอนซัลติ้ง พร้อมช่วยธุรกิจก้าวสู่อนาคตด้วย Application Modernization
๑๐:๑๒ ยูโอบี ประเทศไทย แนะนำพอร์ตการลงทุนที่แข็งแกร่งสำหรับลูกค้าที่มีความมั่งคั่ง ในงานสัมมนา Mid-Year Outlook
๐๙:๔๗ เปิดรับสมัครแล้วว !! The STORY รุ่น 8 By SPU The Infinity Tales