สถาบันเอเชียศึกษาสร้างสรรค์หนังสือทรงคุณค่าความสัมพันธ์ไทย — เบลเยี่ยม

พฤหัส ๒๓ สิงหาคม ๒๐๐๑ ๑๔:๕๖
กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--จุฬาฯ
ศ.ดร.สุภางค์ จันทวานิช ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ เปิดเผยว่า สถาบันฯ ได้รับการติดต่อจากนายปีแอร์ เอ. บูซาร์ด และนายเจอราล์ด วอลเลวิค สองนักธุรกิจชาวเบลเยี่ยม เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการจัดตั้งสถาบันเพื่อศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเบลเยี่ยม และโครงการจัดทำหนังสือรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับการเสด็จประพาสเบลเยี่ยมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในที่สุดจากการปรึกษาหารือร่วมกัน สถาบันเอเชียศึกษายินดีตอบรับข้อเสนอสำหรับโครงการวิจัยทั้งสองโครงการ โดยในเบื้องต้นได้จัดทำหนังสือเกี่ยวกับการเสด็จประพาสกรุงบรัสเซลส์ และเมืองออสเทนด์ ประเทศเบลเยี่ยมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างการเสด็จประพาสยุโรปช่วงปี พ.ศ. ๒๔๔๐ และ ๒๔๕๐ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฯพณฯ ปิแอร์ วาร์เซน เอกอัครราชทูตเบลเยี่ยมประจำประเทศไทย และเงินบริจาคจากบริษัทและนักธุรกิจชาวเบลเยี่ยม
หนังสือ “การเสด็จประพาสประเทศเบลเยี่ยมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์การเสด็จประพาสประเทศเบลเยี่ยมถึง ๔ ครั้งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในเดือนกันยายน และเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ และเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๐ รวมทั้งเป็นการฉลองสัมพันธภาพระหว่างไทย — เบลเยี่ยมซึ่งมีมานานกว่า ๑๐๐ ปี โดยในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีชาวเบลเยี่ยมเดินทางมาพำนักอยู่ในสยาม รวมทั้งรับราชการเป็นที่ปรึกษาภายใต้เบื้องพระยุคลบาท ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ซึ่งเป็นบรรยากาศอันอบอวลด้วยมิตรไมตรีระหว่างทั้งสองราชวงศ์ และสัมพันธภาพอันแน่นแฟ้นระหว่างทั้งสองประเทศ เนื้อหาภายในเล่มนำเสนอรูปภาพและเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการเสด็จประพาสเบลเยี่ยมของพระองค์ โดยมีการคัดเลือกเอกสารจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “จดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖” และพระราชหัตถเลขาบางตอนจากพระราชนิพนธ์ “ไกลบ้าน”
หนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้อ่านได้เห็นตัวอย่าง ความคิดอ่าน มุมมองและทัศนคติของชาวสยามและชาวเบลเยี่ยมที่มีต่อกันในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๕๐ และได้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบเห็นผู้คนและสถานที่ใดบ้างระหว่างการเสด็จประพาสเบลเยี่ยม คณะบรรณาธิการผู้จัดทำหนังสือที่ทรงคุณค่าเล่มนี้ นอกจากนายปีแอร์ เอ. บูซาร์ด และนายเจอราล์ด วอลเลวิค นักธุรกิจผู้ใฝ่รู้ชาวเบลเยี่ยมแล้ว ยังมี ศ.ดร.ปิยนาถ บุนนาค และ ดร.ธีรวัต ณ ป้อมเพชร จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และคุณสุภางค์พรรณ ขันชัยนักวิจัยจากสถาบันเอเชียศึกษา ซึ่งเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบ--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๒ คณะ กิจกรรม วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน
๑๖:๐๖ กรุงศรีออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือนตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย
๑๖:๒๙ Lexar Professional CFexpress 4.0 Type B Card DIAMOND คว้ารางวัล BEST STORAGE MEDIA ในงาน TIPA WORLD AWARDS
๑๖:๔๔ ฟอร์ติเน็ต ร่วมมือ สกมช. คัดเลือก-ฝึกอบรมเสริมทักษะบุคลากรคลาวด์ เล็งเพิ่มทรัพยากรบุคคล เสริมความมั่นคงปลอดภัยบนคลาวด์ทุกรูปแบบ
๑๖:๒๙ ไอ-เทล รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรก แข็งแกร่งด้วย รายได้กว่า 4 พันล้าน กำไรเพิ่ม 93 เปอร์เซ็นต์ มุ่งการเติบโตต่อเนื่องตลอดปี
๑๖:๒๒ หมอแม็ค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมของไทย
๑๖:๐๗ ทรูเวฟ (ประเทศไทย) เปิดตัว GreenFarm.AI ผู้ช่วยคนใหม่ที่จะทำให้สวนเติบโตสวยและยั่งยืนได้ดั่งใจ
๑๖:๕๐ ไบเทคบุรี เมกะโปรเจกต์ของภิรัชบุรี กรุ๊ป พลิกโฉม ไบเทค บางนา ก้าวข้ามอุตสาหกรรม MICE สู่สถานที่แห่งไลฟ์สไตล์ครบวงจร
๑๖:๕๒ ดีมันนี่ ตอกย้ำความสำเร็จในงาน Money 20/20 Asia ในฐานะผู้บุกเบิกโซลูชัน โอนเงินไปต่างประเทศชั้นนำในวงการฟินเทคไทย
๑๖:๕๔ สบยช. ยืนยัน ชาเม่ คอลลาเจน ไม่มีสารเสพติด