รู้ประวัติที่แท้จริงของเสาชิงช้า ในการเสวนา “โล้ชิงช้า พิธีกรรมดึกดำบรรพ์ของสุวรณภูมิ ไม่ใช่พิธีพราหมณ์ชมพูทวีป”

ศุกร์ ๐๗ กันยายน ๒๐๐๗ ๑๐:๒๑
กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--กทม.
กรุงเทพมหานครร่วมกับคณะกรรมการกรุงเทพฯ ศึกษา จัดเสวนา “โล้ชิงช้า พิธีกรรมดึกดำบรรพ์ของสุวรณภูมิ ไม่ใช่พิธีพราหมณ์ชมพูทวีป” บอกเล่าประวัติความเป็นมาที่แท้จริงของเสาชิงช้า ให้เยาวชน นักศึกษา และผู้สนใจได้รับรู้และภาคภูมิใจ ก่อนที่มาเที่ยวงานฉลองเสาชิงช้า โดยมีผู้ฟังเสวนาประมาณ 500 คน
นายพิชัย ไชยพจน์พานิช รองปลัดกรุงเทพมหานคร ปิดเผยว่า กรุงเทพมหานครได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีฉลองเสาชิงช้าอย่างเป็นทางการ ในวันพุธที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ เสาชิงช้า ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยกรุงเทพมหานครกำหนดจัด “งานฉลองเสาชิงช้า พ.ศ.๒๕๕๐” เป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่ ๑๑-๑๓ กันยายน ๒๕๕๐ โดยมีการประกอบพิธีตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เน้นให้ความรู้แก่ประชาชนถึงประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง กิจกรรมหลักภายในงานฉลองเสาชิงช้าประกอบด้วย พิธีพุทธ-พราหมณ์ พิธีเปิดงาน นิทรรศการ รถรางชมเมือง การสาธิตและการแสดงลานวิถีไทย การประกวดภาพถ่าย “มหัศจรรย์เสาชิงช้า” และมหรสพเฉลิมฉลอง
รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นอกเหนือจากการจัดงานฉลองแล้ว กรุงเทพมหานครยังประสงค์ให้ เยาวชน ประชาชนชาวไทย และสื่อมวลชน ได้มีความรู้ความเข้าใจ ในความสำคัญของเสาชิงช้าว่า ต้นกำเนิดของเสาชิงช้า และพิธีโล้ชิงช้าแท้จริงนั้นมาจากไหน สมัยโบราณนั้นมีการโล้ชิงช้ากันอย่างไร โดยกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกับ คณะกรรมการกรุงเทพฯ ศึกษา จัดกิจกรรมเสวนา เรื่อง “โล้ชิงช้า พิธีกรรมดึกดำบรรพ์ของสุวรรณภูมิ ไม่ใช่พิธีพราหมณ์ชมพูทวีป” ในวันที่ ๗ ก.ย.๕๐ เวลา ๐๘.๓๐ — ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ โดยเชิญ ศ.ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา มาเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องเสาชิงช้า
ทั้งนี้ภายในงานมีการแจกสูจิบัตรเรื่องการโล้ชิงช้าในผู้เข้าร่วมเสวนา ในเนื้อหาของสูจิบัตร มีการบอกเล่าประวัติของ “ลานคนเมืองหน้าวัดสุทัศน์ เสาชิงช้าหน้าโบสถ์พราหมณ์” โดย ศรีศักร วิลลิโภดม จากมูลนิธิเล็ก วิริยุพันธุ์ ตำนานพิธีตรียัมปวาย และโล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม เขียนโดย อ. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งมีภาพเก่าแก่ของการโล้ชิงช้าในสมัยรัชกาลที่ ๕ นอกจากนี้ อ. สุจิตต์ วงษ์เทศ ยังเล่าไว้ถึง โล้ชิงช้าในภาษาไทยมาจากคำกระเหรี่ยง-ลาชิงช้า
จากนั้น รองปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกับ ครูมืด(ประสาท ทองอร่าม) และ อ. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ จากกรมศิลปากร ร่วมเล่าถึงความสำคัญและความน่าสนใจในการชมการแสดงมหรสพ ว่าการแสดงแต่ละชุดที่นำมามีความหมาย ความสำคัญ และความสนุกสนานอย่างไร เหตุใดจึงเป็นการแสดงที่นำมาในงานฉลองเสาชิงช้า และคำแนะนำในการชมนิทรรศการในงานฉลองเสาชิงช้าที่จะบอกเล่าเรื่องของประวัติความเป็นมาของเสาชิงช้า ขั้นตอนการบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ตลอดการดำเนินการกับเสาชิงช้าในอนาคต เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน