พ่อค้าแม่ค้าตลาดพระราม 3 วอนผู้ว่าฯกทม.เช็ดน้ำตาทวงสิทธิประโยชน์

จันทร์ ๑๖ พฤษภาคม ๒๐๐๕ ๑๓:๓๑
กรุงเทพฯ--16 พ.ค.--กทม.
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (13 พ.ค.48 เวลา 12.14 น.) นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สนทนาและรับเรื่องร้องเรียนของผู้ค้าตลาดพระราม 3 กรณีการถูกบอกเลิกสัญญาเช่าอย่างไม่เป็นธรรม โดยนายสุกิจ ก้องธรนินทร์ เลขานุการผู้ว่ากรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย ตัวแทนพ่อค้าแม่ค้า ร่วมสนทนาด้วย ณ ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกทม. (เสาชิงข้า)
ตัวแทนผู้ค้าชี้แจงความเป็นมาว่า จากโครงการตลาดนัดติดแอร์ใหญ่ที่สุดบริเวณย่านพระราม 3 ใจกลางกรุงเทพมหานคร ตามนโยบายของกทม.ในการแก้ไขคนตกงานให้มีงานทำประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้และแก้ไขปัญหาบเร่แผงลอย ตั้งแต่ในสมัยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนก่อน และร่วมดำเนิน โดยหน่วยงานของรัฐ อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน และสถาบันการเงินฯ โดยมีภาคเอกชน คือ บริษัท สิทธิราช จำกัด เป็นนายทุนขายโครงการตลาดจตุจักรพระราม 3 ปรากฏว่า เมื่อจำหน่ายโครงการได้ครบแล้ว 5 เดือนต่อมา นายทุนได้บอกเลิกสัญญา พร้อมยึดเงินที่จ่ายค่าเช่าล่วงหน้าไป 4 ปี เงินค่ามัดจำ ค่าจองพื้นที่ ทำให้แม่ค้าพ่อค้าต้องออกจากพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน ในปัจจุบันพ่อค้าแม่ค้าในตลาดยังคงที่ขายอยู่มีเพียง 64 แผงจาก1,064 แผง เนื่องจากไม่มีประชาชนมาอุดหนุนสินค้า ส่วนผู้ค้าคนที่ถูกยกเลิกสัญญาก็ต้องเร่ร่อนมาจำหน่ายริมทางเท้า ตัวแทนผู้ค้าดังกล่าวได้ยื่นขอเสนอให้กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการเข้ามาตรวจสอบกำกับดูแล สำนักงานตลาดและบริษัท สิทธิราช จำกัด ดังต่อไปนี้ 1.ให้กทม.ดำเนินการควบคุมสัญญาเช่า ให้เกิดความยุติธรรมกับผู้เช่าทุกราย 2.ให้คณะผู้บริหารเข้าไปดำเนินการ ดูแล และบริหารตลาดจตุจักรพระราม 3 โดยตรง เพื่อให้ตลาดเป็นไปตามนโยบายกทม. และควบคุมแลการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้มีความโปร่งใส่ 3.ให้ กทม.เจรจากับบริษัท สิทธิราช จำกัด ให้ดำเนินการให้เหมาะสมกรณีการคืนเงินสิทธิการเช่า 4.ให้กทม.ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าบริษัทได้ผิดเงื่อนไขสัญญา จนทำให้ผู้เช่าพื้นที่ในตลาดได้รับความเดือดร้อนและทำความเสียหายให้กับตลาดกทม. หรือไม่หากผิดจริงจะต้องยกเลิกสัญญา 5.ดำเนินการคุ้มครองดูแลผู้ค้าในตลาดปัจจุบัน ให้มีอนาคตและมีรายได้เหมาะสม 6.ให้สำนักงานตลาดและบริษัท สิทธิราชฯ ปฏิบัติตามคำมั่นและคำโฆษณาต่าง ๆ ที่ให้ไว้กับผู้เช่าในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออื่น ๆ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา และ 7.ให้กทม.กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ชัดเจน สำหรับการที่บริษัทจะนำเอาโลโก้ของกทม.ไปใช้เผยแพร่เพื่อชี้ชวนในโครงการต่าง ๆ เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนเข้าใจผิด
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า แม้ปัญหาเหล่านี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2546 ก่อนที่ตนจะได้รับเลือกตั้งเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่อย่างไรก็ตามตนจะต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวไปในทางยุติธรรมกับทุก ๆ ฝ่าย โดยจะเชิญ ผู้แทนบริษัท สิทธิราช จำกัด หน่วยงานกรุงเทพมหานคร ตัวแทนผู้ค้าตลาดพระราม 3 และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาร่วมประชุม หาทางแก้ไขปัญหาอีกภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน